สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
นวัตกรรม เรื่อง 4P TEAM+S Model รูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอินทรีย์ แบบพอเพียงและยั่งยืนในสถานศึกษาขนาดเล็ก
โรงเรียนหัวหมาก
กระบวนการพัฒนา

    ๑) สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา

          จากการศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์ผลจากสรุปผลการดำเนินกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิลของโรงเรียนหัวหมาก ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ พบว่า

          ๑. โรงเรียนไม่ได้จัดทำระบบในการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษา

          ๒. โรงเรียนจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะกับนักเรียน แต่ขาดการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีนิสัยรักการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

    ๒) การออกแบบนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

          จากสภาพปัญหา จึงนำมาซึ่งการกำหนดแนวทางในการออกแบบนวัตกรรม P TEAM+S Model  รูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์แบบพอเพียงและยั่งยืนในสถานศึกษาขนาดเล็ก” ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาโดยใช้กระบวนการ PDCA ในการดำเนินงานและอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายมาช่วยกันคิดแนวทางการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียนหัวหมากโดยตั้งบนพื้นฐานของความพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน

          ในการออกแบบนวัตกรรม ได้จัดทำเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเป็นลำดับขั้น ดังนี้

          ๑. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจในความจำเป็นของการจัดทำแนวทางการบริหารจัดการขยะภายในโรงเรียนหัวหมาก

         ๒. สำรวจสภาพปัจจุบัน  ปัญหา  โอกาส  และความต้องการของครูและผู้ปกครอง ตลอดจนเป้าหมายของโรงเรียนในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลของโรงเรียน จึงได้ประชุมคณะครูทั้งโรงเรียนเพื่อการวางแผนจัดทำนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการขยะของโรงเรียน

          ๓. ขั้น Plan  วางแผนและออกแบบนวัตกรรมและการดำเนินงานตามสภาพปัญหาและความต้องการ ให้เหมาะสมกับความพร้อมและบริบทของโรงเรียนหัวหมาก อันนำมาซึ่งนวัตกรรม P TEAM+S Model  รูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลแบบพอเพียงและยั่งยืนในสถานศึกษาขนาดเล็ก”

          ๔. ขั้น Do  เป็นการดำเนินการตามที่ได้วางแผนและออกแบบนวัตกรรมไว้ 

          ๕. ขั้น Check เป็นการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมและการใช้นวัตกรรม

        ๖. ขั้น Action เป็นการนำผลการประเมินมาพิจารณาและวิเคราะห์ว่า ควรมีการปรับปรุงหรือไม่  หากควรปรับปรุง  จะต้องกลับไปปรับปรุงในการออกแบบนวัตกรรมอีกครั้ง

          ๗. พัฒนานวัตกรรมที่ผ่านการประเมินอย่างต่อเนื่อง

          ๘. ผลจากการพัฒนานวัตกรรม นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาตรงกับบริบทของโรงเรียน รวมทั้งนักเรียนมีนิสัยรักการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน

    ๓) ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนา

          การดำเนินการพัฒนานวัตกรรม P TEAM+S Model เป็นรูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์แบบพอเพียงและยั่งยืนในสถานศึกษาขนาดเล็ก ซึ่งได้มีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ทางโรงเรียนต้องการวางระบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล ไปพร้อมๆ กับการพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของขยะรีไซเคิล รวมทั้งสามารถคัดแยกขยะรีไซเคิลได้จนกลายเป็นนิสัย โดยทางโรงเรียนใช้เทคนิคการประชุม ประชาสัมพันธ์ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โดยมีการดำเนินงานดังนี้

๑. กำหนดเป้าหมายคุณภาพนักเรียน  โดยนำหลักการตลาด ๔P มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์

บริบทของนักเรียน และลักษณะพึงประสงค์ที่นักเรียนพึงมีในการคัดแยกขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์

    ๑.๑ P๑ (Product) = คุณภาพนักเรียน

                     - ส่งเสริมการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์ โดยน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง 

 - พัฒนาทักษะกระบวนการคิดและปฏิบัติในการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ

 - สร้างจิตสำนึก และฝึกให้นักเรียนได้รู้จักคัดแยกขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์ โดยใช้

กระบวนการกลุ่ม โดยฝึกให้นักเรียนทำซ้ำๆ เกิดเป็นความเคยชินจนกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวไปอย่างยั่งยืนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของโรงเรียน

    ๑.๒ P๒ (Price) = การเพิ่มประสิทธิภาพ

                     - กิจกรรมคัดแยกขยะ

                     - กิจกรรมทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ

                     - กิจกรรมบริจาคกล่องนมเพื่อโครงการหลังคาเขียว

    ๑.๓ P๓ (Place) = สถานที่

                     - การพัฒนาปรับปรุงสถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรมคัดแยกขยะให้เหมาะสม

                     - จัดทำฐานการเรียนรู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนปลอดขยะ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน

    ๑.๔ P๔ (Promotion) = แรงจูงใจ

                     - การจัดการเรียนการสอนเรื่องการคัดแยกขยะแทรกเข้าไปในทุกกลุ่มสาระวิชา

                    - การขอความร่วมมือจากทีมวิทยากรให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ของสำนักงานเขตสวนหลวง กับนักเรียน

                    - การส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนได้คิดโครงงานที่เกี่ยวข้องการการคัดแยกขยะ ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ และจัดประกวดโครงงาน เพื่อมอบรางวัลและเกียรติบัตรให้กับนักเรียน

                    - พัฒนากิจกรรมคัดแยกขยะรีไซเคิลให้สามารถนำรายได้จากการขายขยะมาสู่นักเรียน ห้องเรียน และโรงเรียน โดยใช้วิธีแข่งขันในรูปแบบกระบวนการกลุ่ม

                    - พัฒนานักเรียนให้รู้จักการคัดแยกขยะเพื่อการแบ่งปันในสังคม โดยจัดกิจกรรมบริจาคกล่องนมเพื่อโครงการหลังคาเขียว ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก โดยรวบรวมกล่องนมโรงเรียนที่นักเรียนดื่มทุกเช้ามาพับและเก็บรวบรวม และจะคัดเลือกตัวแทนนักเรียนนำไปบริจาคที่จุดรับกล่องนมของมูลนิธิที่ห้างบิ๊กซี สาขาบ้านม้า

๒. กำหนดแนวทางการดำเนินงาน โดยนำสมรรถนะโรงเรียน (TEAM+S) มาวิเคราะห์เพื่อกำหนด

รูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลแบบพอเพียงและยั่งยืน ดังนี้

    ๒.๑ T (Technology) การนำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ

    ๒.๒ E (Economic) การบริหารจัดการงบประมาณที่ใช้ในการจัดโครงการและกิจกรรม

    ๒.๓ A (Attitude) การวางแผนจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการคัดแยกขยะ

เห็นคุณค่าและประโยชน์ของขยะรีไซเคิลต่อตนเองและสถานศึกษา

    ๒.๔ M (Management) มีกระบวนการในการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียนตามรูปแบบ

นวัตกรรมของโรงเรียน

    ๒.๕ S (Sufficient economy) นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้เป็นแนวทางพื้นฐาน

ในการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียน เพื่อเปลี่ยนหรือแปรสภาพขยะให้เกิดเป็นรายได้ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับโรงเรียน

การดำเนินงานตามกระบวนการของนวัตกรรมและการนำไปใช้

          นวัตกรรม P TEAM+S Model  รูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์แบบพอเพียงและยั่งยืนในสถานศึกษาขนาดเล็ก พัฒนามาจากการประยุกต์ใช้หลักการการตลาด P (Marketing Mix) ซึ่งเป็นโมเดลเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน และนวัตกรรม TEAM+S Model ที่นำมาพัฒนาการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียน โดยมีรายละเอียดของการพัฒนาประกอบการดำเนินงาน ดังนี้

การดำเนินงานตามกระบวนการของนวัตกรรมและการนำไปใช้

          นวัตกรรม P TEAM+S Model  รูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์แบบพอเพียงและยั่งยืนในสถานศึกษาขนาดเล็ก พัฒนามาจากการประยุกต์ใช้หลักการการตลาด P (Marketing Mix) ซึ่งเป็นโมเดลเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน และนวัตกรรม TEAM+S Model ที่นำมาพัฒนาการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียน โดยมีรายละเอียดของการพัฒนาประกอบการดำเนินงาน ดังนี้

 

การดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนานักเรียนโดยใช้หลัก P

 

. P๑ (Product) = คุณภาพนักเรียน  มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามกระบวนการของ Model ดังนี้

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

P๑ (Product) = คุณภาพนักเรียน

๑. จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนทุกระดับชั้นเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ประโยชน์ของการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ และการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยจัดในช่วงเดือนพฤษภาคม ๑ ครั้ง และจัดในช่วงเดือนพฤศจิกายน ๑ ครั้ง

๒. จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนชั้น ป.๔-ป.๖ เรื่องการทำโครงงานเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ในวิชาการงานอาชีพ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาศิลปะ และสนับสนุนให้นักเรียนนำโครงงานเข้าร่วมแข่งขันกับโครงงานกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อฝึกให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดและนำความรู้จากการคัดแยกขยะมาจัดทำเป็นโครงงานและนำเสนอเพื่อการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นอื่นได้

๓. จัดตั้งถังขยะรีไซเคิลแยกประเภทให้กับนักเรียนบริเวณใกล้โรงอาหาร เพื่อฝึกให้นักเรียนได้คัดแยกขยะโดยให้ทำซ้ำๆ เกิดเป็นความเคยชินจนกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวไปอย่างยั่งยืน ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของโรงเรียนในการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล

 

๑. นโยบายการจัดการขยะภายในโรงเรียน ฉบับที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑

๒. สรุปรายงานโครงการและกิจกรรมคัดแยกขยะ ปีการศึกษา ๒๕๖๑

. รูปถ่ายกิจกรรม

. P๒ (Price) = การเพิ่มประสิทธิภาพ มีกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพนักเรียนตามกระบวนการของ Model ดังนี้

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

P๒ (Price) = การเพิ่มประสิทธิภาพนักเรียน

๑. ดำเนินการจัดโครงการโรงเรียนปลอดขยะและให้นักเรียนทุกระดับชั้นเข้าร่วมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของนักเรียนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการกิจกรรม โดยในโครงการมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขยะรีไซเคิลและขยะอินทรีย์ ๓ กิจกรรมให้นักเรียนเข้าร่วม ได้แก่

   ๑) กิจกรรมคัดแยกขยะ

   ๒) กิจกรรมทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์

   ๓) กิจกรรมบริจาคกล่องนมเพื่อโครงการหลังคาเขียว

 

๑. สรุปรายงานผลกิจกรรมคัดแยกขยะ ปีการศึกษา ๒๕๖๑

๒. สรุปรายงานผลกิจกรรมทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์    ปีการศึกษา ๒๕๖๑

. รูปถ่ายกิจกรรม

 

 

. P๓ (Place) = สถานที่ มีกระบวนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อนักเรียนตามกระบวนการของ Model ดังนี้

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

๑.๓ P๓ (Place) = สถานที่

         

๑. การพัฒนาสถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรมคัดแยกขยะให้เหมาะสมกับพื้นที่ของโรงเรียน

๒. จัดทำฐานการเรียนรู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการการจัดการขยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนปลอดขยะ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน

 

. รูปถ่ายการพัฒนาสถานที่

๒. รูปถ่ายฐานการเรียนรู้ เรื่อง การจัด การขยะ

  

. P๔ (Promotion) = แรงจูงใจ  มีกระบวนการสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนตามกระบวนการของ Model ดังนี้

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

P๔ (Promotion) = แรงจูงใจ

๑. โรงเรียนโดยผู้รับผิดชอบโครงการร่วมมือกันวางแผนการจัดกิจกรรมกับทีมวิทยากรคัดแยกขยะ ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวน สาธารณะ ของสำนักงานเขตสวนหลวง เพื่อให้ความรู้และหาจัดกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนรักในการคัดแยกขยะเพื่อตนเอง โรงเรียน และสังคม

๒. ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนได้คิดโครงงานที่เกี่ยวข้องการการคัดแยกขยะ จัดประกวดโครงงาน โดยมีรางวัลและเกียรติบัตรมอบให้กับนักเรียนทุกคนที่เข้าร่วม

๓. มอบรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลให้กับนักเรียนทุกห้องเรียน ปีการศึกษาละ      ๒ ครั้ง คือภาคเรียนที่ ๑ กับภาคเรียนที่ ๒

๔. พัฒนานักเรียนให้รู้จักการคัดแยกขยะเพื่อการแบ่งปันในสังคม โดยจัดกิจกรรมบริจาคกล่องนมเพื่อโครงการหลังคาเขียว ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก โดยรวบรวมกล่องนมโรงเรียนที่นักเรียนดื่มทุกเช้ามาพับและเก็บรวบรวม และ         จะคัดเลือกตัวแทนนักเรียนนำไปบริจาคที่จุดรับกล่องนม ของมูลนิธิที่ห้างบิ๊กซี สาขาบ้านม้า

๑. รูปถ่ายการให้ความรู้จากทีมวิทยากร ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ของสำนักงานเขตสวนหลวง

๒. รูปถ่ายการแข่งขันนำเสนอโครงงานของนักเรียน

๓. รูปถ่ายการคัดแยก จัดเก็บ รวบรวมขยะรีไซเคิลเพื่อนำไปขายร้านรับซื้อของเก่า

๔. รูปถ่ายการมอบเงินจากการขายขยะรีไซเคิลทุกระดับชั้นหน้าเสาธง

๕. รูปถ่ายการรวบรวมและบริจาคกล่องนม ณ จุดรับกล่องนมของมูลนิธิ

 

 

 การดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอินทรีย์แบบพอเพียงและยั่งยืนในสถานศึกษาขนาดเล็กโดยใช้นวัตกรรม TEAM+S Model

 

. T (Technology) =  มีกระบวนการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการของ Model ดังนี้

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

T (Technology)

 

๑. การค้นหาและรวบรวมข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับ

    - แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการขยะ

    - หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน และพัฒนาการบริหารจัดการขยะในสถานศึกษา

    - คลิปวีดีโอให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานบริหารจัดการขยะในโรงเรียนต่างๆ ที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อเป็นแบบอย่างและแนวทางในการมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียน

๒. ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์งานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น

   - เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย,ประกาศ และคำสั่งแต่งตั้งในการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน

   - การจัดทำป้ายประกาศเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ

   - การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดยจัดทำไวนิลฐานกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ

๓. การนำคลิปวีดิโอใน Youtube ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ มานำเสนอให้กับนักเรียนทุกระดับชั้นได้ชม ประกอบการอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ

 

๑. แนวทางการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอินทรีย์

๒. สรุปรายงาน/โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน

๓. รูปถ่ายกิจกรรม

 

. E (Economy) =  มีกระบวนการใช้เทคนิคเชื่อมโยงงบประมาณในกระบวนการของ Model ดังนี้

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

E (Economy)

     โครงการโรงเรียนปลอดขยะของโรงเรียนหัวหมาก ได้รับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในทุกกิจกรรม ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมถึงการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในกิจกรรม เช่น ถังขยะรองรับสำหรับการคัดแยกขยะ ถังปุ๋ยหมัก ถังน้ำชีวภาพ แหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในโรงเรียน ดังต่อไปนี้

     ๑. มีการระดมทรัพยากรในการขายขยะรีไซเคิลให้กับผู้มารับซื้อขยะที่โรงเรียน

     ๒. มีการขอความอนุเคราะห์ สารเร่งซุปเปอร์ พด.๒ สำหรับผลิตน้ำหมักชีวภาพ จากฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ

     ๓. ได้รับความอนุเคราะห์กากน้ำตาล และหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ จากคุณโกศล นาคเกิด ที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนเรื่องการบริหารจัดการขยะของโรงเรียน

 

๑. สรุปจำนวนเงินที่ได้รับจากการขายขยะรีไซเคิลของแต่ละระดับชั้น

๒. รูปถ่ายกิจกรรม

 

 . A (Attitude) =  มีกระบวนการในการสร้างทัศนคติในกระบวนการของ Model ดังนี้

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

A (Attitude)

     จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการคัดแยกขยะ เห็นคุณค่าและประโยชน์ของขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์ต่อตนเองและสถานศึกษา มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ช่วยกันคัดแยกขยะด้วยความมุ่งมั่น รับผิดชอบ โดยบูรณาการสอดแทรกลงไปในโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ดังนี้

     ๑. โครงการโรงเรียนปลอดขยะ

     ๒. โครงการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์

     ๓. โครงการส่งเสริมนักเรียนสร้างสรรค์ผลงานเพื่อการเรียนรู้

     ๔. โครงการโรงเรียนคุณธรรม

     ๕. โครงการอาหารกลางวัน

     ๖. โครงการเด็กยิ้มอิ่มท้อง

 

๑. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม

๒. รูปถ่ายกิจกรรม

 

 

 . M (Management) =  มีกระบวนการในการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์ในกระบวนการของ Model ดังนี้

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

M (Management)

     โรงเรียนดำเนินการพัฒนาการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์ตามรูปแบบนวัตกรรม ดังนี้

     ๑. กำหนดเป้าหมายในการพัฒนานักเรียน โดยประยุกต์ใช้หลักการตลาด ๔P ในการวิเคราะห์บริบทของนักเรียน และลักษณะพึงประสงค์ที่นักเรียนพึงมีในการคัดแยกขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์

     ๒. บริหารจัดการขยะรีไซเคิลแบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) โดยการกระจายอำนาจไปยังคณะครูและบุคลากรทุกท่านที่รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์

     ๓. ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามหลักทฤษฎีระบบ (System theory) และวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง PDCA

     ๔. ปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์ให้สอดคล้องกับความต้องการนักเรียนและสถานศึกษา ดังนี้

         - นักเรียนทุกระดับชั้นเข้าร่วมกิจกรรมคัดแยกขยะ โดยให้นักเรียนทุกคนช่วยกันคัดแยกขวดน้ำดื่มพลาสติก ขวดนมขุ่น ขวดแก้ว และนำไปใส่ในถังคัดแยกที่แบ่งตามระดับชั้น เพื่อรวบรวมไปขายและนำเงินที่ได้มาเป็นเงินกองกลางของห้องเรียน

         - นักเรียนชั้น ป.๔-ป.๖ เข้าร่วมกิจกรรมทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ เพื่อเรียนรู้และจัดทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ และนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับสถานศึกษา โดยจัดทำเป็นโครงงานในวิชาการงานอาชีพ

         - จัดแหล่งเรียนรู้ โดยฐานการเรียนรู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการการจัดการขยะ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียนปลอดขยะ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน

๑. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม

๒. ทะเบียนแหล่งเรียนรู้

๓. บันทึกการประชุม

๔. รูปถ่ายกิจกรรม

 

 

. M (Management) =  มีกระบวนการในการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์ในกระบวนการของ Model ดังนี้  (ต่อ)

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

M (Management)

         - กำหนดนโยบายการจัดการขยะภายในโรงเรียนโดยเน้นการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาและการประกันคุณภาพภายนอกจาก สมศ.

         - ประชุมกำหนดแนวนโยบายร่วมกันในเรื่องของการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์ภายในโรงเรียน

        - มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม หลักจากที่มอบหมายงาน และมีการกำกับ ติดตามโดยการประชุม การสรุปผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม

 

 

 

. S (Sufficient economy) =  มีกระบวนการในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในกระบวนการของ Model ดังนี้  (ต่อ)

 

นวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงาน

ร่องรอย/เอกสาร/หลักฐาน

S (Sufficient economy)

     โรงเรียนได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอีนทรีย์ในโรงเรียน เพื่อสร้างความพอเพียงในโรงเรียน โดยเปลี่ยนหรือแปรสภาพขยะให้เกิดเป็นรายได้นำมาจัดสรรในแต่ละห้องเรียน และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดให้กับโรงเรียน

 

๑. รูปถ่ายกิจกรรม

 



ผลจากการปฏิบัติ

    ๔)   ผลงานที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

          จากผลการนำนวัตกรรม P TEAM+S Model  รูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะ     อีนทรีย์แบบพอเพียงและยั่งยืนในสถานศึกษาขนาดเล็ก” ที่ทางโรงเรียนหัวหมากคิดค้นขึ้นมาใช้ดำเนินการในโรงเรียน มีผลงานที่เกิดจากการดำเนินงานดังนี้

          ผลการใช้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นกับการพัฒนานักเรียน

          ๑. นักเรียนทุกระดับชั้นมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ ประโยชน์ของการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ และการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยจัดในช่วงเดือนพฤษภาคม ๑ ครั้ง และจัดในช่วงเดือนพฤศจิกายน ๑ ครั้ง โดยมีการอบรมทั้งจากครูผู้รับผิดชอบโครงการในโรงเรียน และทีมวิทยากรจากฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตสวนหลวง มาให้เป็นผู้ให้ความรู้ ทำกิจกรรม และสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนในการช่วยกันคัดแยกขยะและการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์

          ๒. นักเรียนชั้น ป.๔-ป.๖ มีความรู้เรื่องการทำโครงงานเกี่ยวกับการคัดแยกขยะในวิชาการงานอาชีพ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาศิลปะ และทำโครงงานมาแข่งขันนำเสนอเพื่อการการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นอื่นได้

          ๓. นักเรียนได้ฝึกการคัดแยกขยะโดยการทำซ้ำๆ ทุกวัน เกิดเป็นความเคยชินจนกลายเป็นนิสัยที่ติดตัว

ไปอย่างยั่งยืน มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของโรงเรียนในการบริหารจัดการขยะรีไซเคิล โดยสังเกตจากพฤติกรรมการคัดแยกขยะขวดน้ำพลาสติก ขวดนมขุ่น ขวดแก้ว ของนักเรียนทุกชั้น และจากบันทึกรวบรวมขยะรีไซเคิลที่นักเรียนได้คัดแยกของแต่ละชั้นในทุกสัปดาห์ รวมทั้งการรวบรวมกล่องนมที่นักเรียนดื่มตอนเช้าก่อนเข้าเรียน นักเรียนทุกชั้นก็ได้ร่วมมือกันคัดแยกและเก็บรวบรวมโดยแยกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปบริจาคในโครงการหลังคาเขียว ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก อีกส่วนหนึ่งส่งให้ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตสวนหลวงที่จะมาเก็บทุกวันจันทร์และพฤหัสบดี

          ๔. นักเรียนได้รับแรงจูงใจในการทำกิจกรรมคัดแยกขยะร่วมกันกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน และได้รับเงินรายได้จากการนำขยะที่คัดแยกไปขายให้แก่ผู้รับซื้อของเก่ามาเป็นเงินกองกลางใช้จ่ายในห้องเรียนโดยมีการประกาศน้ำหนักรวมและยอดเงินที่ได้รับจากการขายขยะที่คัดแยกทุกระดับชั้น โดยท่านผู้อำนวยการจะเป็นผู้มอบเงินให้กับตัวแทนนักเรียนและครูประจำชั้น หลังทำกิจกรรมช่วงเช้าเสร็จหน้าเสาธง ปีการศึกษาละ ๒ ครั้ง คือภาคเรียนที่ ๑ กับภาคเรียนที่ ๒

          ผลการใช้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา

             โรงเรียนมีการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลและขยะอินทรีย์อย่างเห็นได้ชัดหลังจากที่ได้นำนวัตกรรมที่โรงเรียนคิดค้นขึ้น จัดทำออกมาในรูปโครงการโรงเรียนปลอดขยะ พบว่า มีการจัดสถานที่เพื่อรองรับการคัดแยกขยะของนักเรียนที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย และเหมาะสมกับพื้นที่ที่อยู่อย่างจำกัดของโรงเรียน และมีฐานให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ๔ ฐานในโรงเรียน โดยในฐานที่ ๑ เป็นการให้ข้อมูลและฝึกนักเรียนให้คัดแยกขยะอย่างง่ายๆ โดยเริ่มต้นที่ขวดน้ำดื่มพลาสติก ขวดนมขุ่น ขวดแก้ว โดยแยกตามระดับชั้น รวมทั้งกล่องนมที่นักเรียนดื่มกันทุกเช้าก็มีถังขยะสำหรับรองรับกล่องนมที่นักเรียนได้พับแล้ว ในฐานที่ ๒ ฝึกให้นักเรียนรู้จักการทำปุ๋ยหมักในถังหมักจากขยะอินทรีย์ ในฐานที่ ๓ ฝึกการทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยเปลือกไข่ และในฐานที่ ๔ เป็นฐานสำหรับศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับการคัดแยกขยะทั้ง ๔ ประเภท ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนได้จัดให้นักเรียนไว้อย่างเหมาะสม รวมทั้ง โรงเรียนได้มีการพัฒนาระบบในจัดเก็บ รวบรวม และการนำขยะรีไซเคิลไปขายกับผู้รับซื้อ ได้อย่างเป็นระบบ ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ ทำให้การบริหารจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียนหัวหมากในปัจจุบันดำเนินงานไปด้วยความราบรื่น รวดเร็ว และประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของโรงเรียนที่ได้ตั้งไว้

          ๑. มีการจัดฐานการจัดการขยะ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะในโรงเรียนทั้งหมด ๔ ฐาน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกการคัดแยกขยะให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น

          ๒. โรงเรียนสามารถผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ที่มีคุณภาพได้สำเร็จ โดยใช้เศษผักและผลไม้จากโรงครัวมาแปรสภาพ โดยใช้สูตรการหมักปุ๋ยของโรงเรียนที่คิดค้นขึ้นเอง มาทำเป็นปุ๋ยใส่ต้นไม้ภายในโรงเรียน และน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้มาใช้ในล้างห้องน้ำ ล้างท่อระบายน้ำในโรงครัวของโรงเรียนได้อย่างประสิทธิภาพ นอกจากจะเป็นการลดและกำจัดขยะอินทรีย์ในโรงเรียนแล้ว รวมทั้งทำให้โรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำและปุ๋ยหมักสำหรับใส่ต้นไม้ในโรงเรียนได้อีก ส่งผลให้โรงเรียนหัวหมากมีการบริหารจัดการขยะแบบพอเพียง และสามารถพึ่งพาตนเองได้

          ๓. โรงเรียนหัวหมากประสบความสำเร็จจากการทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ ซึ่งมีกิจกรรมรองรับทั้งหมด ๓ กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมคัดแยกขยะ, กิจกรรมบริจาคกล่องนมเพื่อโครงการหลังคาเขียว, กิจกรรมทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์  โดยพบว่าจากตารางสรุปผลการประเมินโครงการ พบว่า โครงการโรงเรียนปลอดขยะ มีภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (??? = ๔.๗๙) คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๙๓ และเมื่อพิจารณาแต่ละกิจกรรม พบว่า ทุกกิจกรรมมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกัน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]