๑. เกริ่นนำ
กระบวนการ/วิธีการดำเนินงานในอดีต
ปลูกฝังการอ่านอย่างต่อเนื่อง
สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเร้าความสนใจ ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ปัญหาการอ่าน
เริ่มจากง่ายไปหายาก
เริ่มจากหนังสือที่ชอบหรือสนใจนำไปสู่ความแปลกใหม่ของการเรียนรู้
สภาพทั่วไป
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้กำหนดกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อเร่งรัด ส่งเสริม
และพัฒนาให้หน่วยงานในสังกัดนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
โดยมีกลยุทธ์และจุดเน้นที่สำคัญหลายๆด้าน รวมทั้งพัฒนาการอ่านการเขียน
และการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ส่งเสริมให้นักเรียนช่วงชั้นที่ ๑
อ่านออกเขียนได้ ช่วงชั้นที่ ๒ เป็นต้นไป อ่านคล่องเขียนคล่อง
ใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการเรียนรู้สาระการเรียนรู้อื่น
เพื่อการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ด้วยโรงเรียน
ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอ่านและสอดคล้องกับนโยบายของกรุงเทพมหานคร
จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการอ่านของนักเรียน โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ออกต้องเป็นศูนย์
จากการทดสอบประเมินสภาพการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖
ของผู้บริหารและครูผู้สอนภาษาไทยในภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๓ ปรากฏว่ามีนักเรียนจำนวน ๙๙
คนยังอ่านหนังสือ
ไม่ออก ส่งผลทำให้การเรียนไม่ดี ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน
ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
๑.
ประชุมชี้แจงให้ครูและบุคลากรเข้าใจถึงความสำคัญของการอ่าน
๒.
ดำเนินการด้วยวิธีที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนรักการอ่าน
โดยจัดนักเรียนที่อ่านไม่ออก
อ่านไม่คล่อง โดยให้ครู ๑ คนดูแลนักเรียนซ่อมเสริมการอ่านจำนวน ๓-๔ คน
๓.
จัดโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่าน
วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
๑. เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่คล่อง
การอ่านไม่ออกของนักเรียน
๒. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้สูงขึ้น
๓. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบเพื่อประเมินความสามารถการอ่านของผู้เรียน
(RT)
๔. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ
(NT)
5. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ นักเรียนโรงเรียนลำพะอง (ราษฎร์จำเริญบำรุง) ที่อ่านหนังสือไม่คล่อง อ่านหนังสือ
ไม่ออกลดลง ร้อยละ ๙๐ ขึ้นไป
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
นักเรียนทุกคนอ่านหนังสือออก และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
๒. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ)
ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ขั้นที่
๑ คัดกรองนักเรียน
ขั้นที่
๒ ประชุมชี้แจงและมอบหมายให้ครูดูแลนักเรียนที่อ่านไม่ออก/อ่านไม่คล่องอย่างใกล้ชิด
ขั้นที่
๓ ครูดำเนินการสอนอ่านนักเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย
ขั้นที่
๔ ติดตามและประเมินผลเป็นระยะ
ขั้นที่
๕ จัดกิจกรรมเสริม และจัดทำสื่อ นวัตกรรมเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
๓. ผลการดำเนินการ
ระบุผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย-ตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งเชิงปริมาณ
และ/หรือคุณภาพ
- นักเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
จำนวนนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่คล่อง อ่านหนังสือไม่ออกลดลง
ร้อยละ
๙๐.๖ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้วส่งผลต่อโรงเรียนอย่างไร
๑. นักเรียนได้รับรางวัลเกี่ยวกับภาษาไทย
๒.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้น
๓.
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่
๖
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปีการศึกษา ๒๕๖๓
มีพัฒนาการดีขึ้นและมีคะแนนเฉลี่ย
สูงกว่าระดับประเทศทุกปี
๔.
ผลการประเมินความสามารถทางการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ปีการศึกษา ๒๕๖๓ สูงกว่าระดับประเทศและสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด
๕.
ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่
๓
ปีการศึกษา ๒๕๖๓
สูงกว่าระดับประเทศและสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด