จากหลักการที่ว่า “ถ้าได้นำความรู้ไปใช้ ความรู้นั้น
ก็ยิ่งเพิ่มคุณค่า เพราะทำให้เกิด การต่อยอดความรู้ให้แตกแขนงออกไปอย่างกว้างขวาง”
และ ความรู้ คือ ความสามารถในการทำอะไรก็ตาม อย่างมีประสิทธิผล (Knowledge is the capacity for effective หลักการที่กล่าวมาทำให้คณะครู และบุคลากร โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์(200ปี)
เกิดแรงบันดาลใจที่จะนำความรู้ที่ได้สอนเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่
6 มาใช้ในปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันโดยเลือกที่จะฝึกทำผลิตภัณฑ์ที่ทำได้ง่ายใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันคือ
สบู่สมุนไพรอัญชัน โดยใช้สมุนไพรที่หาง่ายในโรงเรียนและที่บ้านของตัวเองโดยแบ่งเป็นดังนี้
ระดับชั้นอนุบาล สบู่แฟนซี
ระดับชั้น
ป.1 – ป.3 สบู่เหลว
ระดับชั้น
ป.4 – ป.6 สบู่ก้อน
วิธีการ
1. นักเรียนชั้นอนุบาลจะเรียนรู้ขั้นตอนการทำอย่างง่ายโดยคุณครูจะเป็นผู้จัดทำนักเรียนจะทำเพียงเติมสีเท่านั้น
ส่วนการตุ๋นสบู่ เทสบู่ลงแม่พิมพ์ จะไม่เหมาะกับเด็กชั้นอนุบาล
2. สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3
จะเรียนรู้การผลิตสบู่เหลว
3. สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จะเรียนรู้การผลิตสบู่ก้อน คุณครูจะเพิ่มขั้นตอนตามความสามารถของเด็กซึ่งเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะมีความพร้อมมากที่สุดในการทำทุกขั้นตอนโดยคุณครูเป็นเพียงพี่เลี้ยงคอยแนะนำเท่านั้น
ขั้นตอนการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
การเก็บดอกอัญชัน จะเก็บตอนเช้าทุกๆวัน ไม่เก็บค้างคืน
เพื่อรักษาคุณภาพของความสดเพื่อคุณภาพ ของสารที่มีได้ดอกอัญชัน ภาชนะที่ทำต้องสะอาด ปราศจากฝุ่น เช่น แม่พิมพ์
หม้อที่ใช้ตุ๋น ทัพพี - สารเคมี
ได้แก่กลีเซอรีนชนิดก้อนและชนิดเหลว สารเพิ่มฟอง เกลือ สาร N70
ขั้นตอนการทำสบู่สมุนไพร
1. การทำสบู่สมุนไพรก้อน
- นำกลีเซอรีนมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อจะได้ประหยัดเวลาในการทำให้ละลาย
- นำดอกอัญชันมาแกะเอากลีบเลี้ยงออกและบดให้ละเอียดเพิ่มน้ำเล็กน้อยนำไปกรอง
เตรียมแม่พิมพ์ วางไว้ เมื่อกลีเซอรีน
ละลายเป็นของเหลวแล้วยกลง รอให้อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย เพิ่มสีของดอกอัญชันลงไป ถ้าต้องการสีเข้มให้เพิ่มปริมาณ
ถ้าต้องการสีอ่อนให้ใช้ 2- 3 หยดพอ หากต้องการกลิ่น ให้เติมน้ำหอมหลังผสมสีดอกอัญชันแล้ว
ใช้ประมาณ 3-4 หยดต่อสบู่ครึ่งกิโลกรัม เมื่อผสมสีและน้ำ หอม
คนเบาๆให้เข้ากันแล้วเทลงแม่พิมพ์ รอแข็งตัวแกะออก - ใช้แผ่นฟิล์มถนอมอาหารห่อสบู่ที่ได้
พร้อมติดเครื่องหมายผลิตภัณฑ์
2. ขั้นตอนการทำสบู่เหลวล้างมือ - หัวสบู่ (AD ) 1 กิโลกรัม
- เกลือแกง ๑๓๐ กรัม - กรดมะนาว ๒๕ จำนวน
- น้ำสะอาด 1 ลิตร - น้ำดอกอัญชัน
๕00 มิลลิลิตร (ดอกอัญชัน ๕๐ ดอก) - น้ำหอม
ขั้นตอนการทำ นำหัวสบู่ปริมาณ 1
ลิตร เทลงภาชนะที่สะอาด เติมน้ำหอม
คนให้เข้ากันกับหัวสบู่ เติมกรดมะนาวที่ได้ละลายกับน้ำเปล่าลงไป
คนให้เข้ากัน ช เติมน้ำสะอาด โดยค่อยๆเติมลงไปจนหมดแล้วคนให้เข้ากัน เติมน้ำสีดอกอัญชัน ๕00 มิลลิลิตร
คนให้เข้ากัน ค่อยๆ เติมเกลือแกง และคนอย่างต่อเนื่อง การคนให้ใช้พายตั้งตรงคนไปทางเดียวกันคนช้าๆไม่คนเร็วเพราะจะเกิดฟองแก็ส
นำไปบรรจุขวดที่เตรียมไว้ติดเครื่องหมายผลิตภัณฑ์
1. คุณภาพของผลิตภัณฑ์ สบู่ก้อนและสบู่เหลวสามารถนำไปใช้ได้มีคุณภาพดี กลิ่นหอมอ่อน ทำให้มือสะอาด นุ่มชุ่มชื้นผิว ไม่แห้งกร้านเหมือนสบู่ทั่วไป เป็นที่นิยมมียอดสั่งทำตลอดปีโดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่
2. การเรียนรู้ร่วมกัน นักเรียนชั้นอนุบาลจะเรียนรู้ขั้นตอนการท าอย่างง่ายโดยคุณครูจะเป็นผู้จัดทำนักเรียนจะทำเพียงเติมสีเท่านั้น ส่วนการตุ๋นสบู่ เทสบู่ลงแม่พิมพ์ จะไม่เหมาะกับเด็กชั้นอนุบาล ส่วนสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 คุณครูจะเพิ่มขั้นตอนตามความสามารถของเด็กแต่ละชั้น ซึ่งเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะมีความพร้อม มากที่สุดในการทำทุกขั้นตอนโดยคุณครูเป็นเพียงพี่เลี้ยงคอยแนะนำเท่านั้น
3. การใช้ทรัพยากรและบุคคลในท้องถิ่น ดอกอัญชัน หากที่โรงเรียนมีไม่เพียงพอจะขอให้นักเรียนนำดอกอัญชันที่บ้านมาให้กับทางโรงเรียนด้วย