๑) สำรวจข้อมูลนักเรียน และศึกษาปัญหาเพื่อคัดกรองนักเรียนด้านการอ่าน
การเขียน
๒) จัดทำโครงการ / แผนพัฒนาการอ่าน
การเขียน ตามสภาพปัญหา
๓)
สร้างนวัตกรรม/จัดหา/จัดทำสื่อ/บัญชีคำพื้นฐาน/แบบฝึก นำมาใช้พัฒนานักเรียน
๔) จัดการเรียนการสอนซ่อมเสริม
และส่งเสริมตามผลการคัดกรองนักเรียน
๕) ประเมินผลการสอนซ่อมเสริมด้านการอ่าน
การเขียน พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลทุกครั้ง
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย-ตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งปริมาณและ/หรือคุณภาพ
นักเรียนร้อยละ ๘๐
มีความสามารถด้านการอ่านและการเขียนดีขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
นักเรียนสามารถอ่านคำจากบัญชีคำพื้นฐานตามระดับชั้นเรียนได้ สามารถแก้ปัญหานักเรียนด้านการอ่าน การเขียน และนักเรียนมีผลการพัฒนาการอ่าน การเขียนที่ดีขึ้น