การดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้วยชุดนิทานที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ (Analysis Phase)
ทำการศึกษาสภาพปัญหา
โดยการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ (Need analysis) โดยประชุมครูผู้สอน
บุคลากรทางการศึกษา
ผู้บริหารของโรงเรียนเพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดลาดพร้าว
นิสัยและพฤติกรรม
การใช้ชีวิตประจำวันและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยขั้นตอนนี้ได้มีการสรุปปัญหาของผู้เรียนและพบพฤติกรรมที่ต้องแก้ไขอันดับแรก
4 ด้าน คือ
1. ซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย
3. อยู่อย่างพอเพียง
4. มีจิตสาธารณะ
ขั้นที่
2
การออกแบบ (Design Phase)
ขั้นตอนการออกแบบประกอบด้วย
การสร้างจุดประสงค์การเรียนรู้ การกำหนดเครื่องมือวัดประเมินผล แบบฝึกหัด
เนื้อหาในนิทาน จัดทำนิทาน วางแผนการสอน
จากขั้นตอนนี้โรงเรียนวัดลาดพร้าวจึงทำการพัฒนาสื่อโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
AR
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและตื่นเต้นที่ได้ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำมาผสมผสานกับนิทานที่สอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์
โดยใช้การจัดกิจกรรมแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้นิทานเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในการทำงาน
การช่วยเหลือกันภายในห้องเรียน
- สร้างสตอรีบอร์ด
- ออกแบบ User
interface และ User Experiment
- สร้างสื่อต้นแบบ
- แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา (Development
Phase)
ในการพัฒนาหนังสือนิทานความเป็นจริงเสริม
โรงเรียนวัดลาดพร้าวมุ่งเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้คุณลักษณะอันพึงประสงค์
4 ด้าน ได้แก่ความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย อยู่อย่างพอเพียงและจิตสาธารณะ
ซึ่งหลังจากสร้างหนังสือนิทานความเป็นจริงเสริมและเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา
(content validity) และนำมาปรับปรุงเพื่อการนำไปทดลองใช้
หลังปรับปรุงหนังสือนิทานความเป็นจริงเสริมตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิและนำไปทดลองใช้
(try out) กับกลุ่มที่จะนำนวัตกรรมไปใช้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอย่างจริงในการเก็บข้อมูลและนำผลจากการทดลองใช้มาปรับปรุงและหาคุณภาพด้านความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน
(internal consistency reliability)
ขั้นที่ 4
ขั้นการดำเนินการ (Implementation Phase)
ในขั้นตอนการดำเนินการนี้
ก่อนนำนวัตกรรมไปใช้ ได้ทำการประเมินความรู้ก่อนเรียนของกลุ่มตัวอย่างก่อนการนำหนังสือนิทานความเป็นจริงเสริมโดยใช้ข้อสอบ(Paper base)
และนำนวัตกรรมนิทานความเป็นจริงเสริมใช้กับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
3 และประเมินความรู้หลังจากใช้หนังสือความเป็นจริงเสริมกับผู้เรียน
ขั้นที่ 5
ขั้นการประเมินผล (Evaluation Phase)
ประเมินผลการศึกษาทดลองใช้หนังสือนิทานความจริงเสริมเพื่อเสริมสร้างลักษณะอันพึงประสงค์
4
ด้าน ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย อยู่อย่างพอเพียง
และจิตสาธารณะ ร่วมกันในชั้นเรียน
โดยมีการประชุมติดตามผลหลังจากนำหนังสือนิทานความเป็นจริงเสริมไปใช้โดยประชุมร่วมกันของครูผู้สอนกับผู้อำนวยการสถานศึกษา
โดยนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูล ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
เพื่อให้พัฒนางานดีขึ้นแล้ว
จึงเผยแพร่หนังสือนิทานความจริงเสริมสู่นักเรียนในระดับชั้นอื่นต่อไป
1.ได้ผลงานที่เป็นนวัตกรรม
ชุดนิทานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลาดพร้าว
สังกัดกรุงเทพมหานคร
โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมที่สร้างขึ้นพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
4 ด้านคือ 1.ซื่อสัตย์สุจริต 2.มีวินัย 3. อยู่อย่างพอเพียง
และ4. มีจิตสาธารณะ เป็นหนังสือนิทาน 4 ชุด ชุดละ 3
เล่มในแต่ละด้าน รวมจำนวน 12 เล่ม ประกอบด้วย
ชุดที่ 1
เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริต จำนวน 3 เล่ม ได้แก่
1)
หนูแก้วใจร้ายกับแมวแสนดี 2)
เกสรกับหินสีขาวหินสีดำ 3)
ความซื่อสัตย์
ชุดที่ 2
เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมีวินัย จำนวน 3
เล่ม ได้แก่
1)
ลูกเป็ดไม่มีวินัย 2) กวางน้อยขาดวินัย 3) กระต่ายน้อยยอดกตัญญู
ชุดที่ 3
เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียง จำนวน 3
เล่ม ได้แก่
1) ออมไว้มีทางแก้ 2) พอเพียงแค่เพียงพอ 3) ชายหนุ่มกับยักษ์
ชุดที่ 4
เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการมีจิตสาธารณะ จำนวน 3
เล่ม ได้แก่
1)
นกฮูกหลงตน 2)
แมงมุมจอมตะกละ 3) นายเจ็ดหม้อเจ็ดโอ่ง
2. ผลการใช้นวัตกรรมชุดนิทานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนวัดลาดพร้าว
โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมพบว่า
นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน
เท่ากับ 10.82 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 54.14 และได้คะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบหลังเรียน เท่ากับ
17.94
จากคะแนนเต็ม 20 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 89.71 นั่นคือ
ดังนั้นชุดนิทานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดลาดพร้าว
สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.57/89.71ซึ่งมีผลเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพของกระบวนการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
3. ผลการใช้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน
มีการพัฒนาขึ้นใน 4 ด้าน ดังนี้
ผู้เรียนมีความสุขในการอ่านและใช้เทคโนโลยีในการอ่านหนังสือที่พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นักเรียนลดการทะเลาะกัน
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีระเบียบวินัยมากขึ้น มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ลดความก้าวร้าวและมีความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้น มีจิตสาธารณะ
และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
ครูมีแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนด้วยเทคโนโลยีบูรณาการด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
และสามารถนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้อื่นๆที่เหมาะสมตามศักยภาพของเด็ก
ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยการร่วมอ่านหนังสือกับนักเรียน
ให้ความร่วมมือกันในการพัฒนาการศึกษาของบุตรหลานด้วยความเต็มใจ
โดยเฉพาะด้านการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
สถานศึกษามีผลการใช้ค่าสาธารณูปโภคลดลงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลให้งบประมาณอุดหนุนรายหัวของสถานศึกษา
ซึ่งต้องหักเป็นค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคร้อยละ 40
การที่ค่าใช้จ่ายลดลงเป็นการเพิ่มประโยชน์ในการใช้งบประมาณลงสู่ผู้เรียนมากขึ้น
จากข้อมูลของสำนักงานเขตลาดพร้าว พบว่าโรงเรียน
วัดลาดพร้าวมีค่าน้ำประปา ปีงบประมาณ 2559 เป็นเงิน 83,542.74 บาท
ปีงบประมาณ 2560 มีค่าน้ำประปา
เป็นเงิน 44,856.15 บาท ค่าไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2559 เป็นเงิน 806,218.29
บาท ปีงบประมาณ 2560
มีค่าไฟฟ้า เป็นเงิน 83,542.74
บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งเกิดจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้านการมีวินัย และความพอเพียง ในเรื่องของการประหยัด