ยุทธศาสตร์ที่
๑ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม
นำความรู้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ชื่อโครงการ คุณธรรมในสถานศึกษา
ผู้รับผิดชอบ โรงเรียนวัดหลักสี่
(ทองใบทิวารีวิทยา)สำนักงานเขตหลักสี่
กรุงเทพมหานคร
ปีการศึกษา ๒๕62
๑. หลักการและเหตุผล
โรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษาที่สำคัญยิ่งในการมีส่วนส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรมซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเยาวชน จะเห็นได้จากคำขวัญกระทรวงศึกษาธิการว่า “คุณธรรมนำความรู้”คุณธรรมจึงเป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องเร่งรัดดำเนินการ อันจะเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติตนให้นักเรียนมีคุณธรรม สำนึกความเป็นไทย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวิถีชีวิตการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะเยาวชนทุกคนมีโอกาสที่จะรับผิดชอบสังคมและบ้านเมืองในอนาคตการเสริมสร้างคุณธรรมนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักการ ๒ ประการ คือ ปัญญาและ ศรัทธา โครงการเสริมสร้างคุณธรรมในชั้นเรียนจำเป็นต้องใช้กระบวนการ C3ประกอบด้วยกระบวนการ ๓ ขั้นตอน ได้แก่ ๑. ก่อกำเนิด (Conception) คือ การให้ความรู้เพื่อเป็นกรอบแนวคิดแก่นักเรียนได้รู้ว่าอะไรพึงกระทำ อะไรพึงละเว้น พร้อมทั้งยกตัวอย่างเรื่องขัดแย้งเชิงคุณธรรมและหลักการตัดสินใจตามแนวคิดคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ ๒. เกิดวิจารณ์ (Conference) คือ การประชุมปรึกษาหารือในกิจกรรมหน้าเสาธงว่าการกระทำของแต่ละคนส่งผลกระทบต่อส่วนรวมอย่างไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างเรื่องความขัดแย้งเชิงคุณธรรมให้นักเรียนได้อภิปราย ๓. การกำหนด (Constract) คือ การสร้างสัญญาที่นักเรียนร่วมกันกำหนด เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมในระดับห้องเรียนและในระดับโรงเรียน ซึ่งครูประจำชั้นจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและนำผลการปฏิบัติกลับไปสู่การวิจารณ์
โรงเรียนวัดหลักสี่(ทองใบทิวารีวิยา)ได้จัดทำโครงการคุณธรรมในสถานศึกษาขึ้น
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกฝังพฤติกรรมในด้านการเสริมสร้างคุณธรรมดังกล่าว เพื่อให้นักเรียนเกิดปัญญาและศรัทธาสิ่งใดที่กระทำและสิ่งใดที่ละเว้นและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขของสังคมส่วนรวม
๒. วัตถุประสงค์ของโครงการ
๒.๑
นักเรียนเกิดปัญญาและมีคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์
๒.๒
นักเรียนมีความรู้ด้านคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ทุกคน
๒.๓
นักเรียนมีความศรัทธาและมีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติตามเหตุผลและคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์
๓. เป้าหมาย
๓.๑
ด้านปริมาณ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
– ๖จำนวน 496 คน
๓.๒
ด้านคุณภาพ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
– ๖มุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ส่วนรวม
๔. ลักษณะโครงการ
เป็นโครงการต่อเนื่องตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ปีการศึกษา ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ยุทธศาสตร์ที่ ๑
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม
นำความรู้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2561
๕. แนวทางการดำเนินงาน
๕.๑ ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนดำเนินงาน
๕.๒
จัดทำโครงการคุณธรรมในสถานศึกษา
๕.๓ เสนอผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่ออนุมัติโครงการคุณธรรมในสถานศึกษา
๕.๔ ประชุมชี้แจง สร้างความตระหนักให้บุคลากรทุกคน
๕.๕ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบโครงการคุณธรรมในสถานศึกษา
๕.๖
ดำเนินงานกิจกรรมตามแผนปฏิทินปฏิบัติงาน ดังนี้
๕.๖.๑ กิจกรรมอบรมแกนนำคุณธรรม
๕.๖.๒ กิจกรรมคุณธรรมในชั้นเรียน
๕.๖.๓ กิจกรรมคุณธรรมในครอบครัว
๕.๖.๔ กิจกรรมค่ายคุณธรรม
๕.๖.๕ กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม(คุณธรรมหน้าเสาธง)
5.6.6 กิจกรรมขยายเครือข่ายคุณธรรมสู่ภายนอก
5.6.7 กิจกรรมประเมินการคิดวิเคราะห์คุณธรรม
5.6.๘ กิจกรรมสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานด้านคุณธรรม
5.7 ตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผล
5.8 สรุปผลการดำเนินโครงการเพื่อวางแผนพัฒนาในครั้งต่อไป
5.9 รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการและจัดทำรูปเล่มเสนอต่อฝ่ายผู้บริหาร
6.
ระยะเวลาการดำเนินงาน
เดือนพฤษภาคม
256๒ – เดือนมีนาคม 256๓ ณ
โรงเรียนวัดหลักสี่(ทองใบทิวารีวิทยา)
7.
ค่าใช้จ่าย(งบประมาณ)
จากค่าเงินบำรุงการศึกษา
8.
ปัญหาและอุปสรรค
-
9.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.๑ เสริมสร้างคุณธรรมให้นักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่
(ทองใบทิวารีวิทยา)
9.๒ สนองพระบรมราโชวาทเรื่อง “รู้ รัก สามัคคี” เนื่องจากการคิดถึงส่วนรวมตลอดเวลาย่อมก่อให้เกิดความสามัคคี
9.๓ ส่งเสริมอุดมการณ์เรื่อง “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” เนื่องจากเมื่อคิดถึงส่วนรวมระดับประเทศ ก็จะมุ่งมั่นที่จะประพฤติปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์ของประเทศอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน
10.
การติดตามและประเมินผลโครงการ
10.๑
เครื่องมือวัด
- แบบประเมินคุณภาพโครงการคุณธรรมในสถานศึกษา
10.๒
การประเมินผล
- ระดับคะแนนการตอบแบบสอบถาม
-
การปฏิบัติตามคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ในชีวิตประจำวัน
รายงานผลการำเนินงานโครงการ คุณธรรมในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒
โรงเรียนวัดหลักสี่
(ทองใบทิวารีวิทยา)สำนักงานเขตหลักสี่
กรุงเทพมหานคร
๑. หลักการและเหตุผล
โรงเรียนเป็นสถาบันการศึกษาที่สำคัญยิ่งในการมีส่วนส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรมซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับเยาวชน จะเห็นได้จากคำขวัญกระทรวงศึกษาธิการว่า “คุณธรรมนำความรู้”คุณธรรมจึงเป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องเร่งรัดดำเนินการ อันจะเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติตนให้นักเรียนมีคุณธรรม สำนึกความเป็นไทย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวิถีชีวิตการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะเยาวชนทุกคนมีโอกาสที่จะรับผิดชอบสังคมและบ้านเมืองในอนาคตการเสริมสร้างคุณธรรมนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักการ ๒ ประการ คือ ปัญญาและ ศรัทธา โครงการเสริมสร้างคุณธรรมในชั้นเรียนจำเป็นต้องใช้กระบวนการ C3ประกอบด้วยกระบวนการ ๓ ขั้นตอน ได้แก่ ๑. ก่อกำเนิด (Conception) คือ การให้ความรู้เพื่อเป็นกรอบแนวคิดแก่นักเรียนได้รู้ว่าอะไรพึงกระทำ อะไรพึงละเว้น พร้อมทั้งยกตัวอย่างเรื่องขัดแย้งเชิงคุณธรรมและหลักการตัดสินใจตามแนวคิดคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ ๒. เกิดวิจารณ์ (Conference) คือ การประชุมปรึกษาหารือในกิจกรรมหน้าเสาธงว่าการกระทำของแต่ละคนส่งผลกระทบต่อส่วนรวมอย่างไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างเรื่องความขัดแย้งเชิงคุณธรรมให้นักเรียนได้อภิปราย ๓. การกำหนด (Cons tract) คือ การสร้างสัญญาที่นักเรียนร่วมกันกำหนด เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมในระดับห้องเรียนและในระดับโรงเรียน ซึ่งครูประจำชั้นจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและนำผลการปฏิบัติกลับไปสู่การวิจารณ์
โรงเรียนวัดหลักสี่(ทองใบทิวารีวิยา)ได้จัดทำโครงการคุณธรรมในสถานศึกษาขึ้น
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกฝังพฤติกรรมในด้านการเสริมสร้างคุณธรรมดังกล่าว
เพื่อให้นักเรียนเกิดปัญญาและศรัทธาสิ่งใดที่กระทำและสิ่งใดที่ละเว้นและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขของสังคมส่วนรวม
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดปัญญาและมีคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์
๒.๒
เพื่อสร้างเสริมให้นักเรียนมีความรู้ด้านคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ทุกคน
๒.๓
เพื่อสร้างเสริมนักเรียนเกิดความความศรัทธาและมีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติตามเหตุผลและหลักของคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์
๓. เป้าหมายของตัวชี้วัดความสำเร็จ
๓.๑
ด้านปริมาณ
3.1.1 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล - นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
๑
– ๖จำนวน 496คนเข้าร่วมกิจกรรม
๓.๒
ด้านคุณภาพ
3.2.1 นักเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นและส่วนรวม
3.2.2 นักเรียนทุกคนสามารถวิเคราะห์แยกแยะ
ระดับการกระทำ ดี ชั่ว ปกติ ได้
และให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจพร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ได้โดยผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 70
4. วิธีดำเนินงาน/ขั้นตอนการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
4.๑ ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนดำเนินงาน
4.๒ จัดทำโครงการคุณธรรมในสถานศึกษา
4.๓ เสนอผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่ออนุมัติโครงการคุณธรรมในสถานศึกษา
4.๔ ประชุมชี้แจง สร้างความตระหนักให้บุคลากรทุกคนให้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์
4.๕ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบโครงการคุณธรรมในสถานศึกษาและกิจกรรมต่างๆ
4.๖
ดำเนินงานกิจกรรมตามแผนปฏิทินปฏิบัติงาน ดังนี้
4.๖.๑ กิจกรรมอบรมนักเรียนแกนนำคุณธรรม
4.๖.๒ กิจกรรมคุณธรรมในชั้นเรียน
4.๖.๓ กิจกรรมคุณธรรมในครอบครัว
4.๖.๔ กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม(คุณธรรมหน้าเสาธง)
4.๖.๕ กิจกรรมค่ายคุณธรรม
4.6.6 กิจกรรมขยายเครือข่ายคุณธรรมสู่ภายนอก
4.6.7 กิจกรรมประเมินการคิดวิเคราะห์คุณธรรม
4.6.๘ กิจกรรมสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานด้านคุณธรรม
5.7 ตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผล
5.8 สรุปผลการดำเนินโครงการเพื่อวางแผนพัฒนาในครั้งต่อไป
5.9 รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการและจัดทำรูปเล่มเสนอต่อฝ่ายผู้บริหาร
6.
ระยะเวลาการดำเนินงาน
เดือนพฤษภาคม
พ.ศ. 256๒ – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256๓ ณ
โรงเรียนวัดหลักสี่(ทองใบทิวารีวิทยา)
7.
ผลการดำเนินงาน
7.1 มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อชี้แจงและกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม
7.2 ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ดังนี้
- กิจกรรมอบรมนักเรียนแกนนำคุณธรรม (นางกนกพรรณ รัตนปราณี)
- กิจกรรมคุณธรรมในชั้นเรียน (นางกนกพรรณ รัตนปราณี)
- กิจกรรมคุณธรรมในครอบครัว (นางพรเกษม สุขนิคม)
- กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านคุณธรรม(คุณธรรมหน้าเสาธง) (นางกนกพรรณ รัตนปราณี)
- กิจกรรมค่ายคุณธรรม (นางกนกพรรณ รัตนปราณี)
- กิจกรรมขยายเครือข่ายคุณธรรมสู่ภายนอก (นางกนกพรรณ รัตนปราณี)
- กิจกรรมประเมินการคิดวิเคราะห์คุณธรรม (นางกนกพรรณ รัตนปราณี)
- กิจกรรมสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานด้านคุณธรรม (นางกนกพรรณ รัตนปราณี)
7.3 ตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผล
7.4 สรุปผลการดำเนินโครงการเพื่อวางแผนพัฒนาในครั้งต่อไป
7.5 รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการและจัดทำรูปเล่มเสนอต่อฝ่ายผู้บริหาร
8. สรุปผลการดำเนินงาน
8.1 นักเรียนระดับชั้นอนุบาล - นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
๑
– ๖ จำนวน 496 คนเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 100
8.2 นักเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นและส่วนรวม
8.3 นักเรียนทุกคนสามารถวิเคราะห์แยกแยะ
ระดับการกระทำ ดี ชั่ว ปกติ ได้
และให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจพร้อมทั้งสามารถเปรียบเทียบคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์ได้โดยผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 70
9.
สรุปในภาพรวมของการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินโครงการคุณธรรมในสถานศึกษา
มีผลการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับ ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 80.24ความพึงพอใจอยู่ในระดับ
ดี คิดเป็นร้อยละ 18.15ความพึงพอใจอยู่ในระดับ
ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 1.61
9.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
9.๑ นักเรียนโรงเรียนวัดหลักสี่(ทองใบทิวารีวิทยา)มีความรู้ความเข้าใจในหลักคุณธรรมเชิงสัมพัทธ์
สามารถวิเคราะห์แยกแยะระดับการกระทำ( ดี ชั่ว ปกติ )ได้
9.๒ นักเรียนปฏิบัติตนตามพระบรมราโชวาทเรื่อง “รู้ รัก สามัคคี” เนื่องจากการคิดถึงส่วนรวมตลอดเวลาย่อมก่อให้เกิดความสามัคคี
9.๓ นักเรียนมีอุดมการณ์เรื่อง “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน” เนื่องจากเมื่อคิดถึงส่วนรวมระดับประเทศ
ก็จะมุ่งมั่นที่จะประพฤติปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์ของประเทศอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน
ควรจัดให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี