1. โครงการ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนศาสตร์พระราชา
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ฝ่ายบริหารงานทั่วไปโรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
ลักษณะโครงการ ?
โครงการต่อเนื่อง ?
โครงการพัฒนางานเดิม R โครงงานใหม่
แผนงาน
? 1.แผนงานวิชาการ ? 2.แผนงานงบประมาณ
? 3.แผนงานบริหารงานบุคคล R 4.แผนงานบริหารงานทั่วไป
ผู้รับผิดชอบ นางสาวชื่นจิต ถิตย์เจือ
สอดคล้องประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์
กลยุทธ์ และตัวชี้วัดสถานศึกษา
- ประเด็นยุทธศาสตร์ : ข้อที่ 1 พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
ด้านคุณธรรมควบคู่กับความรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา
- เป้าประสงค์ : ด้านผู้เรียนผู้เรียนมีคุณธรรม
จริยธรรม มีจิตสาธารณะ มีวินัย
- กลยุทธ์ : ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
ปลูกฝังค่านิยมจิตสำ และสอดนึกที่ดีงามตามแบบไทย สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่
6 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
- ตัวชี้วัดที่ : ร้อยละของนักเรียนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
2. หลักการและเหตุผล
การพัฒนาให้ผู้เรียนให้มีความรู้
ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานในการทำงานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ศาสตร์พระราชา” ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
รักการทำงาน มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน นับว่าสำคัญยิ่ง
การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการและขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ตามกระบวนการทำงาน
เป็นการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์ที่มีคุณภาพและฝึกให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติงานจริงและได้รับประสบการณ์ตรงด้วยการเลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ ซึ่งโรงเรียนได้น้อมนำเอาศาสตร์พระราชามาสู่การปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ด้วยแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
“บ้านอัศวินไส้เดือน” เพื่อให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ความรู้ผ่านสู่ชุมชนของตนเองได้อย่างแท้จริง
ให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องช่วยกันดูแลรักษาต่อไป
3. วัตถุประสงค์ของโครงการ
ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้วิธีการและขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
ตามหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
“ศาสตร์พระราชา” เพื่อให้ผู้เรียนมีการฝึกปฏิบัติงานจริงและได้รับประสบการณ์ตรงด้วยการเลี้ยง
ไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ และเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เป้าหมาย
1. ผลผลิต(Output) ปริมาณ
ผู้เรียนโรงเรียนวัดบางโพโอมาวาส
ปีการศึกษา 2562 จำนวน 539 คน
2. ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้เรียนมีการฝึกปฏิบัติงานจริงและได้รับประสบการณ์ตรงด้วยการเลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ตามกระบวนการทำงาน และเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ระยะเวลาดำเนินการ วันเริ่มต้นโครงการ พฤษภาคม
วันเสร็จสิ้นโครงการ มีนาคม
ระยะเวลาโครงการ ตลอดปีการศึกษา
6. วิธีดำเนินการ
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. ประชุมวางแผนโครงการ
3. ดำเนินงานตามโครงการจัดกิจกรรมการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
บูรณาการในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ดังนี้
1)
แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5 คน
2)
ศึกษาวิธีการและขั้นตอนเลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์และขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
ตามกระบวนการทำงาน
3)
กำหนดวัน เวลา และสถานที่ดำเนินงาน
4)
ปฏิบัติงาน
เลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ตามขั้นตอนของกระบวนการทำงาน
-
วางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน
-
เลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์อย่างเป็นขั้นตอน
-
เก็บเกี่ยวผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์อย่างเป็นขั้นตอน
-
ประเมินผลการเลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ตามขั้นตอนของกระบวนการทำงาน
-
ปรับปรุงวิธีการเลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ตามขั้นตอนของกระบวนการทำงาน
-
นำเสนอผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์อย่างเป็นขั้นตอน
4. ประเมินผลโครงการ
1)
บันทึกผลการทำงานของผู้เรียน
2)
ผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
3)
การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมรายบุคคล
4)
การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่ม
5)
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายบุคคล
5. สรุปรายงานผล
1)
ผู้บริหาร/ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
2)
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
3)
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
(ชมรมคนเลี้ยงไส้เดือน)
ปฏิทินปฏิบัติงานโครงการ
ที่ |
กิจกรรม |
พ.ค. |
มิ.ย. |
ก.ค. |
ส.ค. |
ก.ย. |
ต.ค. |
พ.ย. |
ธ.ค. |
ม.ค. |
ก.พ. |
มี.ค. |
ผู้รับผิดชอบ |
1 |
เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้บริหาร
/
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป |
2 |
ประชุมสร้างความเข้าใจร่วมกัน
ตามแนวทางการดำเนินงาน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้บริหาร / ฝ่ายบริหารงานทั่วไป |
3 |
จัดกิจกรรมการเรียนรู้
ดังนี้ - แบ่งกลุ่มผู้เรียน -
ศึกษาวิธีการและขั้นตอนเลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์และขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
ตามกระบวนการทำงาน - กำหนดวัน เวลา และสถานที่ดำเนินงาน ปฏิบัติงาน
เลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ตามขั้นตอนของกระบวนการทำงาน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อ.ชื่นจิต |
4 |
ประเมินผลโครงการ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อ.ชื่นจิต |
5 |
สรุปรายงานผล |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อ.ชื่นจิต |
7. งบประมาณการดำเนินกิจกรรม
? เงินอุดหนุนจากรัฐบาล R เงินงบกรุงเทพมหานคร
? เงินนอกงบประมาณอื่นๆ เช่น
เงินเอกชนหรือองค์การเอกชน เป็นต้น
8. ปัญหาและอุปสรรค
- สถานที่แหล่งเรียนรู้คับแคบ
-
อากาศร้อนแดดแรง
9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เรียนมีการฝึกปฏิบัติงานจริงและได้รับประสบการณ์ตรงด้วยการเลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ตามกระบวนการทำงาน และเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
10. การติดตามและการประเมินผล
1. การติดตาม
การประชุมคณะกรรมการฯ
เพื่อสอบถามปัญหาและอุปสรรค
2. วิธีการประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ความพึงพอใจ
2.
แบบประเมินผลการจัดโครงการ/กิจกรรม
3. ปริมาณของผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน
4. การนำผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนไปใช้เป็นวัสดุปลูกพืชไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัวแทนการใช้ปุ๋ยเคมี
5. ได้ขยายพันธุ์ปริมาณไส้เดือนเพิ่มขึ้นและจำหน่ายให้กับผู้สนใจใช้เป็นอาหารปลา
กบ ไก่ เป็นต้น
3. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ร้อยละของผู้เรียนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
และช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
ผลการประเมินแผนปฏิบัติราชการประจำปี
มีประเด็นยุทธศาสตร์ 1 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ข้อที่ยุทธศาสตร์ที่
๑ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
ด้านคุณธรรมควบคู่กับความรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา
เป้าประสงค์ ด้านผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ
มีวินัย
กลยุทธ์ ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
ปลูกฝังค่านิยมจิตสำนึกที่ดีงามตามแบบไทย สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่
6 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ผู้รับผิดชอบ
นางสาวชื่นจิต ถิตย์เจือ
ตัวชี้วัดที่ความสำเร็จระดับยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดที่
2 ร้อยละของนักเรียนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
ผลการวิเคราะห์ความสำเร็จระดับยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัด
ที่ 2 ร้อยละของนักเรียนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
ผลการดำเนินงานปีการศึกษา ๒๕๖2 มีการตั้งเป้าหมาย ร้อยละ ๗๕
ผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 78.56 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
สรุปภาพรวม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 จากตัวชี้วัด 1
ตัวชี้วัด
มีตัวชี้วัด 1
ตัว ที่ทำได้ตามเป้าหมายร้อยละ
๗๕
ตารางที่
๑ ผลการดำเนินงานระดับยุทธศาสตร์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
ด้านคุณธรรมควบคู่กับความรู้
มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา
ตัวชี้วัด |
ปีการศึกษา |
ตัวชี้วัดที่ 2 นักเรียนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์ |
การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ศาสตร์พระราชา” เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
ปลูกฝังค่านิยมจิตสำนึกที่ดีงามตามแบบไทย สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่
6 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ร้อยละ 78.56 |
|
ประเมินผลตรงตามแผน สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ร้อยละ
78.56 |
ข้อ |
มีส่วนร่วมในกิจกรรม การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์ |
ระดับคุณภาพ |
|||
ดีเยี่ยม (4) |
ดี (3) |
พอใช้(2) |
ปรับปรุง(1) |
||
๑ |
มีส่วนร่วมในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน |
70.๕๐ |
10.๕๐ |
10.0๐ |
10. |
๒ |
มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมาเลี้ยงไส้เดือน |
70.๒๔ |
16.00 |
10.63 |
3.๑๓ |
๓ |
สามารถเลี้ยงไส้เดือนด้วยขยะอินทรีย์ได้ |
7๙.๕๖ |
๖.๑๑ |
10.00 |
๔.๓๓ |
๔ |
นำผลผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนไปบำรุงดินปลูกพืชได้ |
100 |
0 |
๐ |
๐ |
๕ |
มึความรู้สึกที่ดีต่อการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์ |
10.00 |
3.๘๖ |
10.00 |
76.๑๔ |
6 |
มีความรู้และประสบการณ์ในการการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะอินทรีย์ |
90.00 |
10.00 |
0 |
0 |
รวม |
78.56 |
15. |
1.56 |
๐ |
การพัฒนาให้ผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ศาสตร์พระราชา” มาใช้ประโยชน์ในการทำงาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการทำงาน ด้วยการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเลี้ยงไส้เดือนจากขยะอินทรีย์ ซึ่งโรงเรียนได้น้อมนำเอาศาสตร์พระราชามาสู่การปฏิบัติจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน “บ้านอัศวินไส้เดือน” เพื่อให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ความรู้ผ่านสู่ชุมชนของตนเองได้อย่างแท้จริง และเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้