สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
สวนผักในเมือง
โรงเรียนวัดใหม่อมตรส
กระบวนการพัฒนา

เกษตรอินทรีย์“สวนผักในเมือง” เป็นโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อวิถีคนเมือง ฝึกความรับผิดชอบและได้สัมผัสวิถีใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้นในพื้นที่เมือง ได้ทานผักสดสะอาดเพื่อสุขภาพ โดยนักเรียนได้เป็นผู้ดูแล เรียนรู้การทำเกษตรครบวงจร ทั้งเรื่องการปรุงดิน การเพาะกล้า โดยผลผลิต นำมาใช้ในโครงการอาหารกลางวัน และนำกลับไปปลูกต่อที่บ้าน โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ในการให้ความรู้ ช่วยเหลือในการปรับปรุงพื้นที่รกร้างให้เกิดประโยชน์ เป็นสถานที่ปลูกพืชผักหลากหลายชนิดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน


กระบวนการทำงาน

                    1.  Planning Processes(P) ร่วมประชุมวางแผน กำหนดจุดมุ่งหมาย พัฒนาวิธีดำเนินการ กำหนดงานที่จะดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการและผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมโรงเรียน เสนอโครงการ

เพื่อขออนุมัติ

2.  Organizing Processes(O) ร่วมประชุมกับคณะกรรมการ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการปีที่ผ่านมา ร่วมกำหนดกิจกรรม บทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบให้เหมาะสมและจัดปฏิทินปฏิบัติงาน

3.  Leading Processes(L) ประชุมชี้แจงครูเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรม สวนผักในเมือง เพื่อปรับสภาพแวดล้อมโรงเรียน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา และชุมชนเข้ามามีสวนร่วม ในการปรับปรุงพื้นที่ และพัฒนา  การให้ความรู้จากกลุ่มเกษตรในเมือง เพื่อให้ความรู้ด้านการทำเกษตรดินทรี ร่วมประสานผู้เกี่ยวข้อง และกระตุ้นการดำเนินงานให้เป็นไปตามปฏิทินปฏิบัติงาน

4. Controlling Processes(C) ร่วมกันติดตาม ผลการปฏิบัติ ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานแ

5.  Assessing Processes(A)  ร่วมประชุม  รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ  เพื่อมาวางแผนพัฒนาและเป็นแนวทางการดำเนินงานโครงการ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์อย่างต่อเนื่องต่อไป



ผลจากการปฏิบัติ

เกษตรอินทรีย์“สวนผักในเมือง” เป็นโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อวิถีคนเมือง ฝึกความรับผิดชอบและได้สัมผัสวิถีใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้นในพื้นที่เมือง ได้ทานผักสดสะอาดเพื่อสุขภาพ โดยนักเรียนได้เป็นผู้ดูแล เรียนรู้การทำเกษตรครบวงจร ทั้งเรื่องการปรุงดิน การเพาะกล้า โดยผลผลิต นำมาใช้ในโครงการอาหารกลางวัน และนำกลับไปปลูกต่อที่บ้าน โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ในการให้ความรู้ ช่วยเหลือในการปรับปรุงพื้นที่รกร้างให้เกิดประโยชน์ เป็นสถานที่ปลูกพืชผักหลากหลายชนิดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน


ผลที่เกิดขึ้น

        1.    โรงเรียนมีสวนเกษตร มีผักสดสะอาด และปลอดภัยทานในโรงอาหารและนักเรียนสามารถนำไปปลูกในครัวเรือน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนและชุมชน

        2.      สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนมีความเขียวชะอุ่ม ชดชื่น และลดมลพิษจากฝุ่นละออง

        3.      นักเรียน ครูและบุคลากรมีความรับผิดชอบ สามัคคีและมีระเบียบวินัย ในการดูแลแปลงผักให้เกิดผลผลิตที่ดี


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]