สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
รักการอ่าน
โรงเรียนวัดทิพพาวาส
กระบวนการพัฒนา

๑. ประชุมชี้แจงให้ครูและบุคลากรเข้าใจถึงความสำคัญของการอ่าน

๒. ดำเนินการด้วยวิธีที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนรักการอ่าน โดยจัดนักเรียนที่อ่านไม่ออก อ่านไม่คล่อง             

    โดยให้ครู ๑ คนดูแลนักเรียนซ่อมเสริมการอ่านจำนวน 2-3 คน

๓. จัดโครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่าน

ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ขั้นที่ 1 คัดกรองนักเรียน

ขั้นที่ 2 ประชุมชี้แจงและมอบหมายให้ครูดูแลนักเรียนที่อ่านไม่ออก/อ่านไม่คล่องอย่างใกล้ชิด

ขั้นที่ 3 ครูดำเนินการสอนอ่านนักเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย

ขั้นที่ 4 ติดตามและประเมินผลเป็นระยะ

ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมเสริม และจัดทำสื่อ นวัตกรรมเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย


ผลจากการปฏิบัติ

นักเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำนวนนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่คล่อง อ่านหนังสือไม่ออกลดลงร้อยละ ๙6.5 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practice แล้วส่งผลต่อโรงเรียนอย่างไร

          1. นักเรียนได้รับรางวัลเกี่ยวกับภาษาไทย

          ๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้น

          ๓. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3

              กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปีการศึกษา ๒๕๖2 มีพัฒนาการดีขึ้นและมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ

          ๔. ผลการประเมินความสามารถทางการอ่านของผู้เรียน RT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา ๒๕๖2  

              สูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

          ๕. ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา ๒๕๖2               

              สูงกว่าระดับประเทศและสูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด