สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
เสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ
โรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร)
กระบวนการพัฒนา

บทนำ  

           สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ได้คัดเลือกโรงเรียนบางมด (ตันเปาว์วิทยาคาร) เข้าร่วมโครงการกับมูลนิธิชิน โสภณพณิช ปฏิรูปการศึกที่เน้นผู้เป็นสำคัญอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้การอบรมบุคลากร และพี่เลี้ยงเด็กเป็นเวลา 9 วัน ศึกษาดูงานนอกสถานที่ 2 วัน อบรมเชิงปฏิบัติ 3 วัน 2 คืน ได้รับการประเมินเป็นระยะทุก ๆ เดือนรวม 2 ปี จากมูลนิธิ ชิน โสภณพณิช จึงทำให้คณะครูสายชั้นอนุบาลมีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาเด็กเชิงบวกเป็นอย่างดี ครูสายชั้นอนุบาลได้ถูกคัดเลือกจากมูลนิธิ ชิน โสภณพณิช เป็นตัวแทนร่วมจัดทำหนังสือกับสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร การดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง CCE (Child Centred Education) และเป็นวิทยากรพิเศษให้กับมูลนิธิชิน โสภณพณิช บรรยายให้ความรู้กับครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างต่อเนื่อง จึงมีคณะครูโรงเรียนต่าง ๆ มาศึกษาดูงาน เทคนิคการสอน การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนตามแนวทาง CCE อย่างไรเด็กถึงมีความสุขสนุกกับกิจกรรมเมื่ออยู่ที่โรงเรียน ดังนั้น ศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ของผู้บริหาร คณะครูสายชั้นอนุบาลของโรงเรียนบางมด  (ตันเปาว์วิทยาคาร) จึงเล็งเห็นว่า Best Practices ของโรงเรียน คือ การเสริมสร้างคุณภาพโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศเพราะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรมจนได้รับการยกย่อง

 

สภาพทั่วไป

          โรงเรียนบางมด(ตันเปาว์วิทยาคาร) เป็นโรงเรียนขนาดกลางมีนักเรียน 609 คน เป็นเด็กอนุบาล 126 คน ห้องเรียนอนุบาลมี 4 ห้อง เป็นอนุบาล 1 จำนวน 2 ห้อง และอนุบาล 2 จำนวน 2 ห้องเรียน มีครูประจำการที่จบสาขาปฐมวัยจำนวน 3 ท่าน และพี่เลี้ยงเด็กประจำชั้นอีก 1  ห้องเรียน ซึ่งผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครอง ชุมชน ให้ความร่วมมือเข้าสนับสนุนกิจกรรมกับสายชั้นอนุบาลมาโดยตลอด

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อให้สภาพแวดล้อมสะอาด ปลอดภัย กระตุ้นการเรียนรู้ได้

          2. เพื่อให้มีหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับวัย

          3. เพื่อให้ครูมีความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

          4. เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ตามความสนใจ ตามศักยภาพ

 เป้าหมาย

          ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

                   ครูสายชั้นอนุบาล พี่เลี้ยงเด็กปฐมวัยเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100

          ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

                    ครูสายชั้นอนุบาล พี่เลี้ยงเด็กปฐมวัย มีพัฒนาการที่ดีขึ้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนประโยชน์ จนสามารถเป็นองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง


ผลจากการปฏิบัติ

ผลการดำเนินการ

          โรงเรียนนำผลการนิเทศภายในที่ติดตามการดำเนินการตามแนวทาง CCE ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ ด้านครู ด้านนักเรียน มาพัฒนาศักยภาพบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนของ Best Practices แล้ว ส่งผลอย่างไร

โรงเรียนบางมด(ตันเปาว์วิทยาคาร) และสายชั้นอนุบาลได้รับการยอมรับว่าเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพในการพัฒนาเด็กปฐมวัยผู้ปกครองนำเด็กมาเข้าเรียนเป็นจำนวนมากทั้งที่การคมนาคมไม่คล่องตัวเท่าที่ควร แต่ก็ยังได้รับความนิยมชมชอบของผู้ปกครองและคนในชุมชนเป็นอย่างดี 

บทเรียนที่ได้รับ

คณะครูประจำการ คณะพี่เลี้ยงเด็กมีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รู้บทบาทหน้าที่ของครู CCE ในเชิงบวกซึ่งส่งผลให้บรรยากาศในชั้นเรียนและเด็กที่เป็นบรรยากาศแห่งการเรียนรู้แบบกลัยาณมิตร

ปัจจัยความสำเร็จ

ได้รับการสนับสนุนจากสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ศึกษานิเทศก์ มูลนิธิ ชินโสภณพนิช ผู้บริหาร ที่หมั่นติดตามการปฏิบัติงานของคณะครู และพี่เลี้ยงเด็กทำให้ครูและพี่เลี้ยงเด็กมีความตื่นตัวที่จะพัฒนางานอยู่ตลอดเวลา

การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ และ/หรือรางวัลที่ได้รับ

- ได้รับคัดเลือกในการร่วมเขียนตำรา CCE

          - ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรที่มีความสามารถด้าน CCE