การพัฒนาคุณภาพการศึกษากับการสร้างโรงเรียนแห่งการเรียนรู้
เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาครูจึงต้องตระหนักถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner
Focus) โดยเฉพาะการพัฒนาให้นักเรียนไปสู่เป้าหมายด้านทักษะความรู้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการปรับตัวอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่น และมีความสุข สถานศึกษาจึงต้องพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
และมีคุณภาพ รวมทั้งมีองค์ประกอบที่สมบูรณ์ในการส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น การพัฒนาสถานศึกษาสู่ โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (Learning School) จึงเกิดขึ้น
แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional
learning community: PLC) มีกระบวนการที่ได้พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อพัฒนาครูที่เกิดจากความต้องการจำเป็นของครูและบุคลากรในสถานศึกษา
ที่จะร่วมมือกันพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา
โดยใช้ชั้นเรียนและโรงเรียนเป็นฐานในการเริ่มต้นพัฒนา โดยเน้นให้ความสำคัญในการเรียนรู้ร่วมกัน
ร่วมมือร่วมพลังการเรียนรู้ในขณะที่ปฏิบัติงานในวิชาชีพ จากการมีส่วนร่วมของครู การเรียนรู้ของครู
การพัฒนาวิชาชีพครู โดยบูรณาการเข้ากับการปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
การนำแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional
Learning Community: PLC) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
ส่งผล ดังนี้
1.
ด้านนักเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นในภาพรวม
มีทักษะการเรียนรู้และมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม รักการเรียนรู้และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนและโรงเรียน
ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินในระดับชาติ ดังนี้
-
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1-6 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด (ร้อยละ 60)
-
ผลคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ประจำปีการศึกษา 2561-2562
สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกวิชา
-
ผลการทดสอบความสามารถขั้นพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ
NT
ประจำปีการศึกษา 2562เฉลี่ยรวมความสามารถทั้ง 3 ด้าน มีระดับคุณภาพ ดี
-
ผลการประเมินความสามารถในการอ่าน ประจำปีการศึกษา
2562 มีค่าเฉลี่ยรวม 2 ด้าน ร้อยละ 94.48 มีระดับคุณภาพดีมาก
-
นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามหลักสูตร
มีค่านิยมที่ดีงาม เป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครองชุมชน และองค์กรหน่วยงานต่างๆ
โดยมีรางวัลดังนี้
? รางวัลเด็กและเยาวชนดีเด่น
เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๓ (เด็กชายพีรพัฒน์ ไขไพวัน)
? รางวัลเด็กดีเด่น
สังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี ๒๕๖๓ (เด็กหญิงกัญญารัตน์
พงษ์พัชราธร)
เป็นต้น
2.
ด้านครู ได้พัฒนาการทำงานบนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างกัลยาณมิตร
ตระหนักในเป้าหมายการพัฒนาและแก้ปัญหานักเรียน
สามารถดูแลนักเรียนได้อย่างลุ่มลึกและทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำทางการเรียนรู้ของผู้เรียน
เกิดองค์ความรู้พัฒนาการเรียนการสอนและนวัตกรรม ส่งผลต่อการปรับปรุงพัฒนาวิชาชีพของตนสู่ครูมืออาชีพ
มีขวัญกำลังใจในการทำงาน
3.
ด้านผู้บริหาร พัฒนาความสามารถด้านบริหารวิชาการ
บริหารงานนิเทศ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน สร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
และเป็นผู้นำทางวิชาการ
4.
ด้านโรงเรียน เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้
โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน บนพื้นฐานวัฒนธรรมองค์กรกัลยาณมิตร ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ
เกิดประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการ และบรรลุเป้าหมายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และเป็นองค์กรแห่งความสุข