๑) สภาพปัญหาก่อนการพัฒนา
คณะครูและนักเรียนมีความพร้อมในด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการทำโครงงานมาต่อยอด
เพื่อส่งสริมการเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น โดยโรงเรียนวัดบางขุนนนท์ ได้ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
และวิธีการประเมินตามสภาพจริงส่งเสริม นักเรียนให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีความสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งการพัฒนาความคิดคิดสร้างสรรค์
ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based
Learning) สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
เน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ
เพื่อฝึกทักษะต่างๆ ด้วยตนเอง ทุกขั้นตอน โดยมีครูเป็นผู้ให้การส่งเสริม สนับสนุน
เนื่องจากการทำโครงงานเป็นการสืบเสาะหาความรู้ในรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถส่งเสริมการบูรณาการความรู้สู่การแก้ปัญหาได้ชัดเจน
การทำโครงงานนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้สำคัญในทุกขั้นตอนด้วยตนเอง
ตั้งแต่การกำหนดปัญหา ศึกษา ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ออกแบบวิธีการรวบรวมข้อมูล ดำเนินการลงข้อสรุป
และสื่อสารสิ่งที่ค้นพบ ซึ่งสามารถพัฒนาการทำโครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์นวัตกรรมแบบรวมพลังหรือสร้างสรรค์นวัตกรรม
๒) การออกแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนา
โดยเน้นการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
และวิธีการ ประเมินตามสภาพจริงส่งเสริมนักเรียนให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์
การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
การจัดกิจกรรมแบบ
Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project-Based Learning) จัดเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เนื่องจาก ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะต่างๆ ด้วยตนเองทุกขั้นตอน
โดยมีครูเป็นผู้ให้การส่งเสริมสนับสนุน เนื่องจากการทำโครงงานเป็นการสืบเสาะหาความรู้ในรูปแบบหนึ่ง
ที่สามารถส่งเสริมการบูรณาการความรู้สู่การแก้ปัญหาได้ ชัดเจน
การทำโครงงานนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้สำคัญในทุกขั้นตอนด้วยตนเอง
ตั้งแต่การกำหนดปัญหา ศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้อง ออกแบบวิธีการรวบรวมข้อมูล ดำเนินการ
ลงข้อสรุป และสื่อสาร สิ่งที่ค้นพบโดยเน้นที่โครงงานวิทยาศาสตร์ที่ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเป็น โครงงานประเภทสำรวจ โครงงานประเภททดลอง และ โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบ
เกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือการอนุรักษ์
และการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดมลพิษของสิ่งแวดล้อม
การหาหรือสร้างสิ่งทดแทนที่มีอยู่เดิม การประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
การพัฒนา และหรือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาคุณภาพด้านความรู้ ความเป็นอยู่
อาชีพและสุขภาวะ เตรียมเด็กไทยให้เป็นคนไทย 4.0 ที่สามารถสร้างนวัตกรรมอันช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติให้คนไทยให้มีรายได้ที่สูงขึ้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เนื่องจากผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้วิธีการ แก้ปัญหา วิธีการหาความรู้ความจริงอย่างมีเหตุผล ได้ทำการทดลอง
ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
รู้จักการวางแผนการทำงาน ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม
ตลอดจนได้พัฒนากระบวนการคิดโดยเฉพาะทักษะการคิด
ชั้นสูงโดยแท้จริงการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning)
เป็นหนึ่งในรูปแบบการจัดกิจกรรมแบบ Active Learning
ซึ่งบูรณาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในโรงเรียน
ชุมชน หรือ ท้องถิ่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้
ความเข้าใจ
เรื่องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์นวัตกรรมแบบรวมพลังหรือสร้างสรรค์นวัตกรรม
2. สามารถดำเนินการร่วมกันทำโครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
3. มีจิตวิทยาศาสตร์
พร้อมค่านิยมหลัก 12 ประการ และค่านิยมร่วมตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
สรุปผลได้
ดังนี้
นักเรียนระดับประถมศึกษาสามารถร่วมกันทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทต่าง
ๆ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมสู่เสริมสร้างคุณภาพชีวิต รวมทั้งสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ซึ่งผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project-Based Learning) สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ
โดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชนและท้องถิ่น ทำให้ได้แนวทางให้ครูผู้สอนได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การรูปแบบจัดการเรียนรู้
แบบ Active Learning
ผ่านการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ได้รับรางวัลการประกวดผลงาน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและ/หรือรางวัลที่ได้รับ
(ระบุหน่วยงานที่มอบรางวัล) (Achieved)
1)
รางวัลเหรียญทองแดงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
ระดับประถม ระดับประเทศ
ประจำปีการศึกษา
2561 เรื่อง เซฟแรง.. เซฟเวลา..
ด้วยเครื่องนวดกล้วยตาก จากสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทยร่วมกับกลุ่มทรู