สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ประกอบด้วย 11 งานอาชีพ
โรงเรียนคลองกุ่ม(เสรีไทย อนุสรณ์)
กระบวนการพัฒนา

ลักษณะสำคัญของวิธีปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่เป็น Best Practices มีแนวทางการดำเนินงาน  ดังนี้

1.      โรงเรียนมีวิธีปฏิบัติที่ดำเนินการบรรลุผลได้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนหรือผู้ปกครองที่มีต่อสถานศึกษา และเป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนในสถานศึกษาได้

2.  วิธีปฏิบัตินั้นผ่านกระบวนการนำไปใช้อย่างเป็นวงจร จนเห็นผลอย่างชัดเจนว่า ทำให้เกิดคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีปฏิบัตินั้นมีกระบวนการ PDCA จนเห็นแนวโน้มตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดีขึ้น

3.      สถานศึกษาสามารถบอกเล่าถึงวิธีปฏิบัตินั้นได้ว่า “ทำอะไร” (what)  “ทำอย่างไร” (how)และ”ทำไมจึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)

4.      ผลลัพธ์จากวิธีปฏิบัตินั้น เป็นไปตามองค์ประกอบ ข้อกำหนดของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

5.      วิธีปฏิบัตินั้น สามารถระบุได้ว่าเกิดจากปัจจัยสำคัญที่ชัดเจน และปัจจัยนั้นก่อให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

6.      วิธีปฏิบัตินั้นให้กระบวนการจัดการเรียน (KM) เช่น การเล่าเรื่อง (Storytelling) ในการถอดบทเรียนจากการดำเนินการ

1. วิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ ของโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์)

1.      วิธีปฏิบัตินั้นดำเนินการบรรลุผลได้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนหรือผู้ปกครองที่มีต่อสถานศึกษา หรือเป็นวิธีปฏิบัติที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนในสถานศึกษาได้ ดังนี้

1.1   โรงเรียนมีการการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน

1.2   ก่อนการดำเนินงานมีการออกแบบสอบถามนักเรียน ชุมชน ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

1.3   ดำเนินการตามแผนที่วางไว้

1.4   สรุปผล/รายงาน

1.5   ปรับปรุงแก้ไข

2       โรงเรียนมีวิธีปฏิบัติผ่านกระบวนการนำไปใช้อย่างเป็นวงจร จนเห็นผลอย่างชัดเจนว่า ทำให้เกิด

คุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีปฏิบัตินั้นมีกระบวนการ PDCA จนเห็นแนวโน้มตัวชี้วัดความสำเร็จที่ดีขึ้น ดังนี้

1.      ขั้นวางแผนดำเนินงาน (PLAN)

1.1 ประชุมบุคลากรเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจร่วมกันถึงวิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

                   1.2 นำเสนอโครงการ/กิจกรรม ที่สนับสนุนวิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ต่อฝ่ายบริหารเพื่อขออนุมัติ

                    1.3 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

                    1.4 ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนดำเนินงาน

  2  ขั้นดำเนินการ (DO)

                    2.1 ขั้นเตรียมการ

2.2 ขั้นดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม ที่สนับสนุนวิธีหรือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practice)

          .3  ขั้นตรวจสอบ ทบทวน และประเมินผล (CHECK)

                   3.1  นิเทศ กำกับ ติดตาม

                   3.2  ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม

          4  ขั้นปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา  (ACT)

                   4.1   รวบรวมและสรุปรายงานผลโครงการ/กิจกรรมเสนอฝ่ายบริหารทราบ

3. สถานศึกษาสามารถบอกเล่าถึงวิธีปฏิบัตินั้นได้ว่า “ทำอะไร” (what) “ทำอย่างไร” (how) และ”ทำไม  จึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)

          “ทำอะไร” (what)

โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ได้ดำเนินการจัดการศึกษากิจกรรมนอกหลักสูตรกิจกรรมงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) ให้กับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ทักษะงานอาชีพควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการ ทักษะงานอาชีพเป็นสิ่งต้องมีการพัฒนาให้เจริญและเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและชุมชน ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง (Change) ทำให้เกิดความก้าวหน้า (Progress) และเติบโตเต็มที่ (Growth) ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของงานอาชีพจึงดำเนินการดังนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานงานอาชีพตามกลุ่มสนใจทั้งเรื่องของผลผลิต (Outputs) และผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

2.      กำหนดเป้าหมาย (Targets) และวัตถุประสงค์ (Objectives) ไว้ล่วงหน้า

3. มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรและกระบวนงานให้สอดคล้องกับความประหยัด(Economy) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)

        ความประหยัด หมายถึง การใช้ต้นทุนหรือทรัพยากรน้อยที่สุดในการดำเนินกิจกรรมหรือการผลิต

        ความมีประสิทธิภาพ  หมายถึง การปฏิบัติงานที่ได้ผลผลิตมากกว่าปัจจัยนำเข้า

        ความมีประสิทธิผล หมายถึง ระดับการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

              “ทำอย่างไร” (how)

1.     วางแผน กำหนดทิศทางโดยรวมว่าจะทำอะไร อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องของการวางยุทธศาสตร์หรือแผนกลยุทธ์ เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา (SWOT Analysis) หรือวิสัยทัศน์ (Vision) อันจะนำไปสู่การกำหนดพันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Target) และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Strategy) รวมทั้งพิจารณาปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของสถานศึกษา และสร้างตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ในด้านต่าง ๆ

2. กำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาได้ทำการ ตกลงจัดกิจกรรมนอกหลักสูตร “งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ” (11 งานอาชีพ) เริ่มดำเนินการสำรวจ เพื่อหาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบัน (Baseline Data) เพื่อนำมาช่วยกำหนดความชัดเจนของเป้าหมายทั้งในเชิง ปริมาณ (Quantity) คุณภาพ (Quality) เวลา (Time) และสถานที่หรือความครอบคลุม (Place)

3.  วัดและตรวจสอบผลการดำเนินงาน เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน รายเทอม หรือรายปีเป็นต้น เพื่อแสดงความก้าวหน้าและผลของการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร

นอกจากนี้ทางโรงเรียนจัดให้มีคณะบุคคลเพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานของ “งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ 11 งานอาชีพ” ที่สถานศึกษากำหนด

                       4.      การให้รางวัลตอบแทน หลังจากที่ได้พิจารณาผลการดำเนินงานแล้ว ผู้บริหารต้องมีการ

ให้รางวัลตอบแทนตามระดับของผลงาน นอกจากนี้อาจจะมีการให้ข้อเสนอแนะหรือกำหนดมาตรการ        บางประการเพื่อให้การปรับปรุงผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ทำไมจึงทำ หรือ ทำไมจึงไม่ทำ” (why)

                   การศึกษาเป็นการสร้างและหล่อหลอมให้เยาวชนของชาติเป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะด้านต่าง ๆ กระบวนการจัดการเรียนการสอนถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะผลักดันให้กระบวนการบรรลุเป้าหมาย

      โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ เป็ดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บริบทของสถานศึกษาเป็นชุมชนที่ต้องได้รับการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สถานภาพของผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ครอบครัวยากจน มีปัญหาครอบครัว รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ดังนั้นการจัดการศึกษาด้านงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) ให้กับนักเรียนก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวม หากเปรียบเสาเข็มเป็นรากฐานของตึกสูง ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษางานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ก็คือ พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และจัดหาปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง และเป็นพื้นฐานในการเลือกศึกษาต่อและการเลือกประกอบอาชีพในอนาคต นักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางโรงเรียนจึงได้จัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ

 4. ผลลัพธ์จากวิธีปฏิบัตินั้น เป็นไปตามองค์ประกอบ ข้อกำหนดของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ

                   ผลจากการดำเนินงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ผลจากการปฏิบัตินั้นเป็นไปตามองค์ประกอบข้อกำหนดของการพัฒนาเชิงระบบ คิดเป็นร้อยละ 98.16

งานอาชีพตามกลุ่มสนใจ คือ โครงการที่ทางโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ดำเนินการ

จัดทำเพื่อส่งเสริมพัฒนา แก้ไข นักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้นำการพัฒนาเชิงระบบมาใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ ดังนี้ ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ     ต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจการจัดการเรียนการสอนอาชีพตามกลุ่มสนใจ ได้นำวิธีระบบมาใช้โดยมีการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 ประการ

1.      วัตถุดิบ  (Input)

2.      กระบวนการ (Process)

3.      ผลผลิต (Output)

4.      การตรวจผลย้อนกลับ (Feedback)

ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ และทางโรงเรียนได้จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ปรับปรุงห้องต่าง ๆ เพื่อจัดเป็นแหล่งเรียนรู้งานอาชีพตามความสนใจ ได้แก่ ห้องขนมไทย ห้องขนม-อบ ห้องงานช่างพื้นฐาน ห้องงานประดิษฐ์ ฯลฯปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป็นต้น โดยนำลักษณะสำคัญของวิธีระบบมาใช้ในการดำเนินงาน คือ

1.      เป็นการทำงานร่วมกันของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน

2.      แก้ปัญหานักเรียนทั้งด้านการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

3.      ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม

4.      แก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา เช่น นักเรียนส่วนใหญ่

ของโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) มีทักษะด้านงานอาชีพพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำ ทางโรงเรียนจึงแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) เป็นต้น

5.      จัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจจริง และเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

5. วิธีปฏิบัตินั้น สามารถระบุได้ว่าเกิดจากปัจจัยสำคัญที่ชัดเจน และปัจจัยนั้นก่อให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

          โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ได้กำหนดวิธีปฏิบัติ สามารถระบุปัจจัยที่สำคัญและชัดเจน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) ดังนี้

1.      สำรวจความต้องการของผู้เรียนตามความเหมาะสมของบริบทและท้องถิ่น

2.      นำข้อมูลมาวิเคราะห์ (SWOT) เพื่อวางแผนดำเนินการจัดทำหลักสูตรด้านงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ

3.      จัดทำหลักสูตรเพื่อฝึกอาชีพพื้นฐานตามความสนใจของผู้เรียน

4.      จัดหาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

5.      การสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานที่

จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ และเตรียมพร้อมสู่การประกอบอาชีพตามความสนใจและความถนัด

6.      ติดตาม กำกับ และประเมินผล

7.      ส่งต่อหรือจัดหาสถานประกอบการ

 6. วิธีปฏิบัตินั้นให้กระบวนการจัดการเรียน (KM) เช่น การเล่าเรื่อง (Storytelling) ในการถอดบทเรียนจากการดำเนินการ

              โรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) โดยนำกระบวนการจัดการเรียนการสอน (KM) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน      ดังนี้ การบริหารความรู้ (Knowledge Management : KM) เป็นเทคนิคการบริหารเกี่ยวกับการนำความรู้ในตัวคน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ (Intangible Asset) มาใช้ประโยชน์ในองค์การให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการแบ่งปันหรือถ่ายทอดต่อกัน ผู้บริหาร บุคลกรทางการศึกษาของโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ในฐานะที่เป็นสถาบันแห่งการเรียนรู้ มีการพัฒนาส่งเสริมให้บุคคลในองค์การมีวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุ่งเน้นแนวคิดในการจัดการความรู้ 3 ประเด็น คือ

1.      นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนในการจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น และ

สามารถนำความรู้ออกมาใช้ทันเหตุการณ์และสามารถ่ายทอดความรู้ต่อกันได้สะดวก

2.      การจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และเทคนิคในการถ่ายทอดประสบการณ์

ความรู้ที่มาจากในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) เพื่อให้เกิดความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) เช่น การจัดกิจกรรมงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทักษะงานอาชีพ จากวิทยากรผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเฉพาะด้านถ่ายโยงองค์ความรู้จากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่ง (ผู้เรียนหรือกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจงานอาชีพ) จนเกิดเป็นความรู้ ทักษะที่ยั่งยืนตลอดชีวิต จัดทำหลักสูตรงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) อันเกิดจากความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น

3.      ร่วมกันสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ในลักษณะการแข่งขันการถ่ายทอดและการสร้างสรรค์

ความรู้ เช่น นักเรียนคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์จากเศษผ้าหรือวัสดุเหลือใช้ (งานอาชีพตามกลุ่มสนใจงานประดิษฐ์), นักเรียนคิดสร้างสรรค์เมนูอาหารว่างและน้ำดื่มสมุนไพรที่แตกต่างจากกระบวนการจัดการเรียนการสอน (กลุ่มงานอาชีพอาหารว่างและเครื่องดื่มสมุนไพร) นักเรียนสามารถต่อยอดทางความคิดหลังจากได้รับความรู้จากการจัดดารเรียนการสอนงานอาชีพตามความสนใจ (11 งานอาชีพ) นักเรียนสามารถนำความรู้จากการเรียนการสอนไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน หารายได้ เช่น กลุ่มงานอาชีพขนมไทย ขนมอบและ เบเกอรรี่ นวดเพื่อสุขภาพ น้ำดื่มมาตรฐานระบบโรงงาน เป็นต้น

 

วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

1.      เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะพื้นฐานด้านงานอาชีพ

2.      เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

3.      เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับนักเรียนในการประกอบอาชีพต่อในอนาคต

 

เป้าหมาย

                    ตัวชี้วัดเชิงประมาณ นักเรียนโรงเรียนคลองกุ่ม (เสรีไทย อนุสรณ์) ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล-ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้เรียนงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ จำนวน 1,624 คน คิดเป็นร้อยละ 100

                    ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานด้านงานอาชีพ สามารถปฏิบัติ และปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และมีพื้นฐานสำคัญสำหรับประกอบอาชีพในอนาคต คิดเป็นร้อยละ 95

 2. ลำดับขั้นตอนของการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ) ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

          ขั้นการปฏิบัติงาน (Flow chart) เป็นขั้นตอนที่นำเอาวิธีการประมวลผลที่ได้จากการวิเคราะห์งาน มาเขียนเป็นภาพผังงานหรือสัญลักษณ์เขียนคำอธิบายในแต่ละขั้นตอนของวิธี การวิเคราะห์งาน เพิ่มเติมลงในภาพผังงาน หรือ “Flow chart” ลักษณะ Flow chart เป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถ เข้าใจขั้นตอนได้ง่ายกว่าการอ่านในรูปแบบของตัวอักษร จึงเป็นข้อได้เปรียบของ ผังงาน รวมถึงมีการเริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดงานที่ชัดเจน นอกจากนี้ Flow chart ยังช่วยให้ง่ายต่อการตรวจสอบ ความถูกต้องของลำดับขั้นตอนในวิธีการปฏิบัติงาน หน่วยงานจะต้องวิเคราะห์ศึกษารายละเอียดของงาน สังเกตการปฏิบัติ งานจริง จัดทำ Flow chart โดยระบุรายละเอียดแต่ละขั้นตอน แล้วเรียงต่อกัน เพื่อแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน แสดงผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และการควบคุม/สอบทาน จากนั้น ให้ผู้ปฏิบัติงานอ่าน และขออนุมัติจากหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อใช้เป็น ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Flow chart) ของหน่วยงานต่อไปโรงเรียนได้พัฒนาศักยภาพครูและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดนวัตกรรมที่ถือเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ การจัดการเรียนการสอนกลุ่มงานอาชีพตามความสนใจมีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ได้แก่ ขั้นวางแผน (PLAN) ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เพื่อวางแผนดำเนินการจัดกรรมการเรียนการสอนกลุ่มงานอาชีพตามความสนใจ จากนั้นนำเสนอโครงการ/กิจกรรมโดยผ่านฝ่ายบริหารงานวิชาการ นำเสนองานเพื่อขออนุมัติจากผู้อำนวยการ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ (DO) ครูผู้สอนจัดเตรียมหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สื่อ แหล่งเรียนรู้ ดำเนินการสอนกลุ่มงานอาชีพตามความสนใจ ประกอบด้วย 1. งานผลิตน้ำดื่มบริสุทธิ์ระบบโรงงาน 2. งานทำน้ำดื่มสมุนไพรและอาหารว่าง 3. งานเกษตรปลอดสารพิษ 4. งานทำขนมไทย 5. งานทำขนม-อบ (เบเกอรี่) 6. งานประดิษฐ์และตัดเย็บ 7. งานตัดผม/เสริมสวย 8. งานช่างพื้นฐาน  9. งานนวดเพื่อสุขภาพ 10. งานสืบสานศิลปะมวยไทย 11. งานการใช้คอมพิวเตอร์ ขั้นตรวจสอบ ทบทวนและประเมินผล (CHECK) นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานแบบกัลยาณมิตร ขั้นปรับปรุงแก้ไข/พัฒนา (ACT) รวบรวมสรุปและรายงานผลให้ผู้บริหารทราบ


ผลจากการปฏิบัติ

จากการที่ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มงานอาชีพตามความสนใจ ทำให้นักเรียน มีคุณลักษณะ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถแก้ปัญหา และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะกระบวนการคิด มีกระบวนการในการทำงาน มีความสามารถในการเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงาน          มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด ทำให้โรงเรียนผ่านการประเมินและได้รับการรับรองจาก สมศ.รอบสาม ผลการดำเนินการโครงการงานอาชีพตามกลุ่มสนใจ (11 งานอาชีพ) นักเรียนมีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 98.16 นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะพื้นฐานด้านงานอาชีพ สามารถนำไปปฏิบัติและปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้และเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับนักเรียนในการประกอบอาชีพต่อในอนาคตผู้ปกครองให้การสนับสนุนและมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนส่งผลให้โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนของกรุงเทพมหานคร     แสดงผลงานด้านงานอาชีพ


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]