สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนวัดธาตุทอง(เรือนเขียวสะอาด)
กระบวนการพัฒนา

1.หลักการและเหตุผล

        "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชฐาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาตลอด และต่อมารัฐบาลได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทศศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)  พ.ศ. 2545 มาตรา 6  กำหนดให้การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาครไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว โรงเรียนวัดธาตุทอง จึงดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารการจัดการของสถานศึกษา พัฒนาผู้เรียน รวมทั้งบุคลากรเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามบริบทของสถานศึกษาในทุกระดับอย่างประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเกิดการปรับเปลี่ยนการบวนทัศน์ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

2.วัตถุประสงค์

        1). เพื่อดำเนินงานของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของกระทรวงศึกษา

     2).เพื่อปลูกฝังและสรา้งคุณลักษณะนิสัยการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดแก่ผู้เรียนและบุคลากร

     3).เพื่อพัฒนาสถานศึกษา ผู้เรียน บุคลากร ให้มีความสมบูรณ์ให้ครบทุกด้านให้สามารถอยู่ในสังคมที่พัฒนาปอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสมถูกต้องและปลอดภัย

3. การดำเนินงาน

   3.1  ขันวางแผน

            3.1.1    ?ประชุมคณะครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นบานและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการและจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา

            3.1.2  แต่งตั้งคณะกรรมดำเนินโครงการ

            3.1.3  ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ

            3.1.4  กำหนดกิจกรรมและขั้นตอนการปฎิบัติงาน  โดยโครงการมีกิจกรรมทั้งหมด 9 กิจกรรม  ดังนี้

                     ?1).    กิจกรรมโรงเรียนพอเพียง

                      2).    กิจกรรมเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง

                      3).    กิจกรรมเศรษฐีน้อย

                      4).    กิจกรรมส่งเสริมอาชีพนักเรียนตามระบบเศรษฐกิจพอเพียง

                      5).    กิจกรรมประหยัดน้ำประหยัดไฟ

                      6).    กิจกรรมอนุรักษ์พลังงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

                      7).    กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด

                      8).    กิจกรรมแนะแนว

                      9).    กิจกรรมทุนการศึกษา

           3.1.5  จัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน

           3.1.6  ประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้ผู้เรียนทราบและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจร่วมกัน

           3.1.7  ประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม(Context  Evaluation)เพื่อกำหนดหลักการและเหตุผล สำหรับพิจารณาความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการ การชี้ประเด็นปัญหาตลอดจนการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ

            3.1.8  ประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความเพียงพอของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ โดยใช้กระบวนการ 4 M  เป้นองค์ประกอบหลักที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน คือ ด้านบุคลากร(Man)  ด้านงบประมาณ (Money)  ด้านวัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือและสถานที่(Material/Machine)  และ ด้านวิธีการบริหารจัดการ (Mengenent)

4.  ขั้นปฏิบัติงาน

      4.1  ประชุมคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายและรับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม เพื่อ ดำเนินงานตามกิจกรรมทั้ง 9 กิจกรรม ให้ครอบคลุมภาระงานที่กำหนด

      4.2  ดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมตามปฏิทินปฏิบัติงาน

      4.3  ประเมินระหว่างดำเนินโครงการ เพื่อหาข้อบกพร่องของการดำเนินโครงการ สำหรับทำการแก้ไข โดยการประเมินการดำเนินด้านกระบวนการ ด้านการบริหารโครงการตามวงจรการทำงานการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม

      4.4  สรุปผลการดำเนินระหว่างกิจกรรม รวมทั้งหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพื่อพัฒนาการดำเนินของแต่ละกิจกรรมตามโครงการให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

5.  ขั้นตรวจสอบงาน

      5.1  ประเมินตนเองตามเกณฑ์การประเมิน สถานศึกษาพอเพียง  ของกระทรวงศึกษาธิการ  5  ด้าน

      5.2  นิเทศ ติดตามและตรวจสอบวิธีการปฏิบัติกิจกรรม

      5.3  ตรวจสอบความร่วมมือในการปฏิบัติงานของคณะทำงานและปัญหาระหว่างการปฏิบัติงาน

      5.4  ประเมินหลังสิ้นสุกโครงการ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นทั้ง 9 กิจกรรม ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้รวมทั้งการพิจารณาในประเด้นของการดำเนินกิจกรรมต่อไป

6.  ขั้นปรับปรุงงาน

      6.1  สรุปข้อมูล จุดเด่น จุดด้อยของกิจกรรมตามโครงการ

      6.2  นำข้อมูลจากการประเมินมาหาแนวทางปรับแผนปฏิบัติงาน ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนางานให้มีคุณภาพต่อไป

      6.3  สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบ
7.  ระยะเวลาดำเนินงาน

           ตลอดปีการศึกษา









ผลจากการปฏิบัติ

             สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษา แนวการทางการจัดการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่บูรณาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องครบทุกกระบวนการ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์เป็นไปตามที่สถานศึกษาได้กำหนดจะตั้งเป้าหมายไว้  โดยผู้เรียนเป็นผู้ที่รู้จักการอดออม  การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเองในแต่ละวัน   รู้จักการประมาณตนเองและยอมรับความเป็นตัวเองพอใจและเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตนเองมี  มีสติ สมาธิ ปัญญา รู้จักการใช้เหตุผลมาประกอบในการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรู้จักใช้เหตุผล สติ ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัยของตนเอง  รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างอย่างคุ้มค่า รู้จักการให้อภัยและการทำความดีมีจิตจิตอาสาต่อผู้อื่น มีจิตสำนึกและรักความเป็นไทบ รู้จักการยอมรับและอยู่ร่วมกับผู้อื่นปฏิบัติตนตามหลักการประชาธิปไตยได้อย่างเต็มใจ   
            ครูผู้สอนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะในการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี รู้จักและเข้าใจผู้เรียนมากยิ่งขึ้น  มีแนวทางในการดูแลและช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างหลากหลายและพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นอย่างมั่นใจ   ตลอดจนครูผู้สอนได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ครูมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น  ผู้ปกครอง ชุมชนเกิดความเข้าใจและเห็นคุณค่าของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างดี ส่งผลให้สถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครองเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อซึ่งเป็นผลดีต่อการบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียนให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้ยังส่งผลให้สถานศึกษาได้รับการยอมรับจากชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานต่างๆ