ส่งเสริม
สนับสนุน ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดตามความสนใจด้วยความลุ่มลึก
ผ่านกระบวนการคิดการลงมือปฏิบัติและการแก้ปัญหาจนได้คำตอบที่ต้องการ ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง
ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่คงทน สามารถนำเสนอองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับต่อผู้อื่นได้
โดยมีครูเป็นผู้แนะนำและอำนวยความสะดวก ซึ่งมีการดำเนินการ เป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะเริ่มต้นโครงการ เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันอภิปราย เพื่อหาหัวข้อที่จะทำการศึกษา
โดยต้องเป็นหัวข้อตามความสนใจ โดยนำประสบการณ์เดิมของเด็กที่แสดงออกผ่านผลงานต่าง
ๆ มาเป็นข้อมูลในการพิจารณา จำแนกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
- กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา
- กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหา และระยะเวลาในการศึกษา
ระยะพัฒนาโครงการ เป็นขั้นของการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ได้วางไว้
โดยเน้นให้เด็กร่วมมือกันในการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง
5
ทั้งจากสื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยมีคุณครูคอยให้คำแนะนำและคอยดูแลอย่างใกล้ชิด จำแนกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
- กำหนดปัญหาหรือสิ่งที่อยากรู้ตั้งสมมุติฐาน
- ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบ
- ทดสอบสมมติฐาน
ระยะสรุปผลโครงการ เป็นขั้นของการนำผลที่ได้จากการดำเนินการมาแสดง
ผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
การจัดนิทรรศการ การเล่านิทาน การแสดงหรือการอภิปราย โดยเด็กจะต้องเป็นผู้เลือกวิธีการ
และดำเนินการนำเสนอด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้ได้ทบทวนแนวทางในการปฏิบัติ
และทบทวนถึงองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการตามโครงการ จำแนก 2 ขั้นตอน คือ
- สรุปผลที่ได้จากการศึกษา
- นำเสนอผลการศึกษาที่ได้
1. เด็กมีความสนใจและมีทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้สิ่งต่าง
ๆ รอบตัวเหมาะสมกับช่วงวัย
2. เด็กมีส่วนร่วมในวางแผนและออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3. เด็กมีทักษะในการคิดและแก้ปัญหาจากการลงมือปฏิบัติจริงเหมาะสมกับช่วงวัย
4. เด็กสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
5.
ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริม
สนับสนุน การจัดทำกิจกรรม และโครงการต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้น