1. โครงการดำเนินการโดยโรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ รับผิดชอบ โดยนายชัยรัตน์ ปานอุบล
2. ระยะเวลาเริ่มต้นโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 สิ้นสุดโครงการ 9 เมษายน 2564
3.
สถานที่ที่จะดำเนินงานตามโครงการ
โรงเรียนสุเหร่าจรข้ขบ
4. ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (PDCA)
4.1 การเตรียมงาน/การวางแผน
4.1.1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 8 กรฎาคม 2563
4.1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ โดยคณะกรรมการประกอบด้วย
ครูนักเรียนแกนนำที่อบรมโครงการสถานศึกษาปลอดภัย ตัวแทนนักเรียนห้องละ 2 คน
และสมาชิกชมรมรักษ์ความปลอดภัย มีกิจกรรม
ต่าง ๆ
ดังนี้
1. กิจกรรมนักเรียนสำรวจความปลอดภัย
ของแต่ละห้องเรียน
2.
กิจกรรมชมรมรักษ์ความปลอดภัย
3. การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน(กิจกรรม 5
ส.)
4.
กิจกรรมอพยพหนีไฟ เรื่องความปลอดภัย
5. การซ่อมบำรุงอาคารเรียนที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
6. กิจกรรม 9 มาตรการความปลอดภัย
7. กิจกรรม BIG
CIEANING DAY
8. การใช้บริการห้องพยาบาล
9. การประกันอุบัติเหตุ
4.2 ดำเนินการโครงการ ดังนี้
1. สร้างจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัย
2. แบ่งกลุ่มสำรวจพื้นที่เสี่ยงอันตรายในโรงเรียน ดำเนินโครงการตามหลักการ PDCA การดำเนินโครงการตามหลัก Kaizen และการย้ำคิด
ย้ำทำ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
3. นักเรียนบันทึกรายงานผลการสำรวจต่อครูผู้รับผิดชอบโครงการ
และรายงานผู้บริหารสถานศึกษา
4.
ผู้บริหารแจ้งผู้เกี่ยวข้องทำการซ่อมบำรุง
5.
นักเรียนตรวจสอบ และประเมินผลตามบันทึกรายงาน
4.3 การประเมินผล
- ติดตามผลระหว่างการดำเนินงาน
- ประเมินผลภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ
- สรุปผลการดำเนินงาน
4.4 การปรับปรุงแก้ไข
- จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน
- วิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไขปรับปรุง
และข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินโครงการในปีต่อไป
- เสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณา
4.5
โรงเรียนเผยแพร่ความรู้ เอกสาร ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ ด้านความปลอดภัยให้นักเรียน
ครู และ
ผู้ปกครอง
6.1
รายรับ
- จากเงินพัฒนาโรงเรียน 10,000
บาท
6.2 รายจ่าย
6.2.1 ค่าซ่อมบำรุงพื้นที่เสี่ยงอันตราย 10,000 บาท
รวมเป็นเงิน 10,000 บาท
ผลจากการดำเนินงาน “โดยใช้วิธีหลักการ
PDCA และกระบวนการ
Kaizen ประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาได้” ทำให้โรงเรียนสุเหร่าจรเข้ขบ(กุลางกูรอุปถัมภ์)ประสบความสำเร็จในเรื่องของความปลอดภัยภายในโรงเรียน เป็นที่ยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน ดังนี้
1. นักเรียนมีความตระหนักด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดภายในสถานศึกษาสร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาและรณรงค์ความปลอดภัยในสถานศึกษา รวมทั้งสร้างต้นแบบการดำเนินการความปลอดภัยในสถานศึกษา อันจะส่งผลให้การขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ “แรงงาน
ปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี”
2.
นักเรียนมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาตามนโยบายความปลอดภัยของกลุ่มบริษัทริโก้
3.
นักเรียนในโครงการสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้โดยใช้หลักการ PDCA
4.
โรงเรียนสามารถส่งเสริมการดำเนินการความปลอดภัยในสถานศึกษาตามนโยบายของภาคีหลักใน ภาครัฐ
เข้าร่วมกิจกรรม
การประกวดโครงการสถานศึกษาปลอดภัย ของกระทรวงแรงงาน และบริษัทริโก้
ตลอดปีการศึกษา 2558-2563
1. ปีการศึกษา 2558 ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ระดับดีเด่น จากกระทรวงแรงงาน
2.
ปีการศึกษา 2559 ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ระดับดีเด่น
3.
ปีการศึกษา 2560 ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ระดับดีเด่น
ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยจากบริษัทริโก้ ระดับเหรียญทองพร้อม เงิน รางวัล 20,000 บาท
จาก บริบัท ริโก้ (ประเทศไทย) จำกัด
4. ปีการศึกษา 2561 ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ระดับดีเด่น จากกระทรวงแรงงาน
ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยจากบริษัทริโก้ ระดับเหรียญเงิน
และเงินรางวัล 10,000 บาท
5. ปีการศึกษา 2562 ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ระดับดีเด่น
6. ปีการศึกษา 2563 ได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ระดับดีเด่น
. 7. โรงเรียนให้บริการทางด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน โรงเรียนเป็นต้นแบบด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาระดับประเทศของกระทรวงแรงงาน มีหน่วยงานภายนอกมาศึกษาดูงาน
8. คณะครูมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย และพัฒนาตนเองเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีและคณะครูมีความภาคภูมิใจในการทำงานและได้รับการยกย่องจากชุมชน
6.
ปัจจัยความสำเร็จ
1.
นักเรียนมีพื้นฐานมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาและมีแบบแผนทำตามขั้นตอนของหลักการ PDCA
และมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน
2.
ครูและบุคลากรในเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความตั้งใจ
มีการเสียสละ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
3.
โรงเรียนได้งบประมาณให้การสนับสนุนจากบริษัทริโก้และจากหน่วยงานภายนอก
ในด้านการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและซ่อมแช่มวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นเหตุที่เกิดความไม่ปลอดภัยได้อย่างให้เต็มศักยภาพ
4.
ผู้บริหารเป็นผู้มีวิสัยทัศน์เห็นความสำคัญให้การสนับสนุนในการทำงาน
5.
ผู้ปกครองให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการจัดกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
7. บทเรียนที่ได้รับ
การดำเนินการความปลอดภัยโดยใช้หลักการ PDCA เพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและปลูกฝังจิตสำนึกรัดความปลอดภัยของของนักเรียนให้เต็มศักยภาพ มีการดำเนินกิจกรรมอย่างหลากหลายมาโดยตลอด นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาโดยยึดหลักการ
PDCA โรงเรียนสนับสนุนส่งเสริมให้มีความสามารถสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยกิจกรรมของชมรมโดยมีนักเรียนชมรมรักษ์ความปลอดภัยเป็นแกนนำในการทำกิจกรรม มีการประสานกับคณะครูและภารโรงในโรงเรียนในการทำงานร่วมกัน ประกวดโครงงาน
พร้อมจัดทำนโยบาย แผนการตรวจ แบบสำรวจสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน บันทึกข้อความการซ่อมบำรุงต่างภายในโรงเรียน จะเห็นว่าทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้การดำเนินโครงการได้รับรางวัลระดับดีเด่น และเหรียญทอง
ในหลายกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาตนให้สอดคล้องกับความสนใจ
และความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและฝึกปฏิบัติให้เกิดการคิดเป็น ทำเป็น และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2551 ฝึกทักษะด้านความปลอดภัยด้วยวิธีการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
8.การเผยแพร่
จากการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของโรงเรียน
มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ ดังนี้
1. เผยแพร่ทางสื่อหนังสือพิมพ์รายวัน
เดลินิวส์
2. เผยแพร่ทาง https://www.youtube.com/watch?v=rcisb1L4MhA&list
=PLhJnlpEJ3jHE8BQjnpew1z0Im6EfeiqQ5&index=21
3. เผยแพร่ทางรายการเดินหน้าประเทศไทยวัยทีน
วันที่ 5 สิงหาคม 2561
ได้รับการยอมรับ
โรงเรียนมีการดำเนินงานด้านความปลอดภัย
เช่น ด้านอาคารสถานที่สภาพแวดล้อมในโรงเรียน
ด้านอาชีวอนามัย
นักเรียน ครูและบุคลากร มีทักษะในการดูแลความปลอดภัยให้กับตนเอง
และดำเนินชีวิตประจำวันด้วยความปลอดภัย โรงเรียนได้รับโล่รางวัลจากการประกวด
โครงการสถานศึกษาปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยดี ของ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ระดับดีเด่น 4 ปีซ้อน และร่วมกิจกรรมกับบริษัทริโก้ ตามโครงการริโก้ อีโคล
สคูล สถานศึกษาปลอดภัย
ได้รับรางวัลระดับดีเด่น 2 ปีซ้อน โรงเรียนได้รับเกียรติจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ให้เป็น “โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัย”ระดับประเทศ ส่งผลให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง
ชุมชนและสังคม เป็นแบบอย่างด้านความปลอดภัย เป็นแหล่งศึกษาดูงานจากหน่วยงานต่าง ๆ
ดังนี้
1.
การศึกษาดูงานของโรงเรียนสุเหร่าสามอิน
สำนักงานเขตคลองตัน
2.
การศึกษาดูงานของโรงเรียนวัดกระทุ่มเสือปลา
สำนักงานเขตประเวศ
3.
การศึกษาดูงานของโรงเรียนวัดตะกล่ำ
สำนักงานเขตประเวศ
4.
การศึกษาดูงานของสำนักสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
จังหวัดนครพนม