1.
เกริ่นนำ
ชุมชนแสมดำที่โรงเรียนตั้งอยู่มีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งเมือง
สภาพความเป็นอยู่ของคนท้องที่ คือ การทำนากุ้ง เลี้ยงปลา เลี้ยงปู
พื้นที่เป็นป่าชายเลน ผู้ปกครองจะสนใจและเห็นความร่วมมือต่อกิจกรรมของโรงเรียน
ส่วนนักเรียนอีกจำนวนหนึ่งจะเป็นนักเรียนที่โยกย้ายตามบิดามารดาผู้ปกครองมาทำงานรับจ้าง
ซึ่งจะไม่มีเวลาในการติดต่อสัมพันธ์กับทางโรงเรียน
สภาพชุมชนเป็นป่าชายเลน ทำให้เหมาะแก่การเรียนรู้ของนักเรียน ในเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับพืช และสัตว์ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดทำศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์พืชชายเลน และยังมีลิงแสมฝูงสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนักเรียนได้จัดทำโครงงานหน่วยพิทักษ์ลิงแสมขึ้น การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการเชิญวิทยากรจากชุมชนจากชุมชนมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำขนมพื้นบ้านและชาวแสมดำ
สภาพทั่วไป
ป่าชายเลนผืนสุดท้าย
เป็นแหล่งนวัตกรรมการเรียนรู้
“วัดแสมดำ” โรงเรียนวัดแสมดำ “แสมดำ” คืออะไร เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนที่เคยผ่านไป จังหวัดสมุทรสาคร มักจะมีคำถามในใจ เช่นเดียวกับขอนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยจากโรงเรียนวัดแสมดำโดยการนำของครูอรุษ แพงคำอ้วน ถามและแสวงหาคำตอบมาแล้ว ด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงอนุรักษ์ ด้วยการ “ตามล่าหาแสมดำ” และได้คำตอบแล้วว่า แสมดำเป็นชื่อพันธุ์ที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนใกล้ ๆ โรงเรียนนี่เอง เป็นที่อยู่ของปู และลิง จึงไม่แปลกที่เราจะเรียกปูแสม ลิงแสม การเรียนรู้แบบนักอนุรักษ์เป็นไปอย่างสนุกสนานจนได้รับรางวัลเหรียญทองมาแล้ว ป่าชายเลนแห่งนี้มีเพียง 4 ไร่ และคุณยายเจ้าของรักมาก เพราะมันเป็นผืนสุดท้ายที่ชาวกรุงเทพจะมีโอกาสได้เห็นคุณยายมอบให้โรงเรียน โรงเรียนใช้เป็นห้องเรียนธรรมชาติ วันนี้อยากให้คุณยายรับรู้ว่า ป่าชายเลนผืนนี้จะไม่มีวันสูญหายเพราะครูอรุษ แพงคำอ้วน และนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย ๆ ของเขาอย่างหวงแหน
ลักษณะสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ชื่อโครงการ กิจกรรมการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนที่เป็นธรรมชาติป่าชายเลนผืนสุดท้ายมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ในสภาพจริง
เป้นการส่งมอบจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสู่เยาวชนรุ่นต่อรุ่น
โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักที่ครูจำนวน 60 คน เป้าหมายรองที่นักเรียนทุกคน
วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1.
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหลักมีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการจัดการเรียนการสอน
สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยห้องเรียนธรรมชาติ
2. เพื่อนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมศึกษา
จากห้องเรียนธรรมชาติ
3. เพื่อให้ทั้ง 2 กลุ่มเป้าหมายตระหนักรู้ในความสำคัญของห้องเรียนธรรมชาติ ป่าชายเลนผืนสุดท้าย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรักและหวงแหนห้องเรียนธรรมชาติ
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
นักเรียนทั้งหมด 1200 คน
ครูและบุคลากรทางการศึกษา 60
คน
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
ความรู้ความเข้าใจสุขภาวะทางกาย
จิตใจ อารมณ์ และปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชายเลน
2.
ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow chart ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
เมื่อเข้าร่วมโครงการกับมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีและ
สสส. ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำดับขั้น คือ
1. ฝึกอบรมครูและบุคลากร เรื่อง กิจกรรมการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนและพัฒนาครูแกนนำสุขภาวะ 10 คน
2. การศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี
3. การจัดทำหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน
การทำโครงงาน เพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลน เช่น โครงงานตามหาปลาตีน โครงงานช่วยนกรักษาสายใยอาหาร รักษาระบบนิเวศให้สดใส โครงงานหลังคาบ้านลดโรคร้อน โครงงานถ่านจากใบพืชป่าชายเลน โครงงานปุ๋ยชีวภาพจากพืชชายเลน โครงงานเพาะกล้าไม้สวยงาม ฯลฯ
4. การจัดค่ายกิจกรรมการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน (ปฐมวัย - มัธยมศึกษาปีที่ 3)
5. นิทรรศการสุขภาวะกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน
6. การจัดเข้าชมรมสุขภาวะกับการอนุรักษ์ป่าชายเลน
“โครงงานน่ารู้ นวัตกรรมตื่นตา”
- โครงงาน Bag To
Cleaning
- โครงงาน
ช่วยนกรักษาสายใยอาหาร รักษาระบบนิเวศให้สดใส
- โครงงาน แพรสลายคลื่น
ฟื้นฟูธรรมชาติให้ยั่งยืน
- โครงงาน
ลูกกลิ่งสมุนไพรชายเลน Two In One ช่วยรักษาระบบประสาทแบะคลายกล้ามเนื้อ
- โครงงาน สเปรย์เหงือกปลาหมอ
ฯลฯ
โคงงานเด่น
เน้นนวัตกรรม
การแปรรูปพืชชายเลนเป็นผลิตภัณฑ์ 3
ด้านต่าง ๆ เช่น ใบชาเหงือกปลาหมอ แชมพูเหงือกปลา สบู่เหลวเหงือกปลาหมอ
การปรุงอาหาร เครื่องดื่มจากพืชชายเลน
เช่น ก๋วยเตี๋ยวชะคราม ข้าวไข่เจียวชะคราม ลูกจาก 3 รส ขนมจากสูตรใหม่
แกงส้มปรงทะเล ชะครามแช่อิ่ม ฯลฯ
ผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินการตามโครงการ ฯ พบว่า
1.
ครูและบุคลากรได้รับความีรู้ ความเข้าใจในเรื่องป่าชายเลน แนวทางการแก้ใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน
การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชาย
2. ครูประยุกต์สุขภาวะทางกาย
อารมณ์ สังคม จิตใจ
และปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชายเลนโดยสามารถวิเคราะห์หลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง
ๆ นำมาบูรณาการในวิชาและบูรณาการเข้ากลุ่มสาระ
3. ได้พัฒนาครูแกนนำสุขภาวะ 10
คน
เพื่อเป็นวิทยากรหลักในการจัดกิจกรรมสุขภาวะกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนประจำโรงเรียนติดตามยั่งยืน
4.
นักเรียนได้ประสบการณ์ตรงจากการเข้าค่ายกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนตั้งแต่ปฐมวัย
– มัธยมศึกษา โดยมีฐานการเรียนรู้ 8 ฐาน เช่น
4.1
สุขภาวะทางอารมณ์ กับ ดนตรีรีไซเคิล
4.2 สุขภาวะทางกาย
กับ สุขศึกษาและพลศึกษา
4.3 สุขภาวะทางปัญญา
กับ คณิต - วิทย์
4.4 สุขภาวะทางสังคม
กับ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
4.5 สุขภาวะทางจิตใจ
กับ การงานอาชีพ
5. จัดตั้งชมรมสุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน
โดยมีสมาชิกตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน
ผลงานชมรมสุขภาวะ
6. นวัตกรรมด้านนักเรียน ครู
และผู้บริหาร เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์
ป่าชายเลน
คู่มือค่ายเรารักษ์ป่าชายเลน แหล่งเรียนรู้ป่าชายเลนทรงคุณค่า ฯลฯ
4. บทเรียนที่ได้รับ สรุปเป็นโมเดลนวัตกรรมป่าชายเลน
8.1 นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้
8.2 ครูมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
8.3 ผู้บริหารมีการสร้างกระบวนการจัดการอย่างสร้างสรรค์
ปัจจัยของความสำเร็จ
5.1 การระดมความคิดร่วมกัน
5.2 การทำงานเป็นทีม
5.3 ความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
5.4 การบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร
5.5 การใช้จุดเด่นบริบทของโรงเรียน “ป่าชายเลน” เป็นการขับเคลื่อนนวัตกรรม
การเผยแพร่/
การได้รับการยอมรับ/ หรือรางวัลที่ได้รับ
นวัตกรรมป่าชายเลนผืนสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร
โดยดำเนินการภายใต้โครงการ
การจัดการเรียนรู้สู่สุขภาวะเพื่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนได้นำเสนอเวทีระดับชาติ “เครือข่ายครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี” ณ
โรงแรมโนโวเทล เมืองทองธานี 21 – 23 ตุลาคม 2561 และได้รับรางวัลทุนสนับสนุนจาก
ส.ส.ส.และได้รับคัดเลือก “The best Project”
การสัมมนาวิชาการนานาชาติ เดือน พฤษภาคม 2562 ร่วมกับ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน