สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานโรงเรียน
โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
กระบวนการพัฒนา

การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานโรงเรียน

มีการดำเนินงานโดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมแบบผสมผสานดังนี้

1. รูปแบบคณะกรรมการเพื่อการปรึกษาหารือในการดำเนินงาน ปรึกษาหารือเพื่อช่วยตัดสินใจ  ได้แก่ คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย คณะครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง

2. รูปแบบการร่วมเสนอแนะ โดยใช้วิธีการจัดประชุม รับฟังข้อเสนอแนะ การเสนอแนะผ่านทางระดับห้องเรียน และการเสนอแนะผ่านทางช่องทาง Social media ของโรงเรียน

3. รูปแบบการมีส่วนร่วมโดยการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ร่วมคิด ร่วมทำ โดยใช้กระบวนการทำงานเป็นทีม (Team work)

การบริหารงานโดยครูมีส่วนร่วม

การบริหารโดยให้ครูมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้ครูได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผลและร่วมพัฒนาผลงานเพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้น โดยให้ครูมีส่วนร่วมในรูปแบบของคณะกรรมการ ได้แต่งตั้งให้ครูเป็นคณะกรรมการการบริหารงานโรงเรียน โดย แบ่งการบริหารงานโรงเรียนเป็น 4 งาน ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป และยึดหลักในการปฏิบัติงานคือ การปฏิบัติงานโดยใช้หลักประชาธิปไตย มีอิสระในการคิดและการปฏิบัติงาน มีการทำงานเป็นทีม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมช่วยเหลือ ร่วมรับผิดชอบ โดยมีฝ่ายบริหารเป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุน

กระบวนการปฏิบัติงาน

1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการ โดยมีการประชุมเพื่อปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอ โดย

          1.1 ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการจากปีการศึกษาที่ผ่านมา

          1.2 นำผลการดำเนินงาน ข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด

          1.3 หาจุดบกพร่องเพื่อแก้ไข และพัฒนาจุดเด่น

          1.4 ร่วมกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงาน

2. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี จัดทำโครงการ กิจกรรม เพื่อดำเนินการในปีการศึกษา 2562 โดยมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ด้วยวิธีการสอบถามความต้องการ มอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ และจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน

3. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากฝ่ายบริหาร

4. จัดประชุมเพื่อประสานงานตามแผนงานและโครงการ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบและร่วมมือ ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

5. การดำเนินงาน ปฏิบัติงานตามโครงการและกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย

6. การกำกับ ติดตามและนิเทศ ซึ่งมีการกำกับติดตาม ในหลายระดับ ได้แก่ การติดตามโดยหัวหน้าโครงการ การติดตามจากหัวหน้าฝ่าย และการติดตามจากฝ่ายบริหาร

7. การประเมินผลการปฏิบัติงานในการประเมินผลการดำเนินงาน โดยการประเมินตนเอง ประเมินจากเพื่อนร่วมงาน และประเมินจากผู้บริหาร

8. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานเพื่อการปรับปรุงพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป

การบริหารงานโดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วม

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะที่ปรึกษา มีการคัดเลือกจากกลุ่มบุคคลต่างๆ ได้แก่ ศิษย์เก่า ผู้ปกครองนักเรียน ผู้แทนชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรศาสนา ผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้ที่สนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียน และโรงเรียนได้ดำเนินการให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ ด้วยการให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ช่วยเหลือสนับสนุนและร่วมรับผิดชอบ

กระบวนการปฏิบัติงาน

1. การมีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ วางแผนพัฒนาโรงเรียน ได้แก่

          1.1 ร่วมคิดในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียน

          1.2 ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติปฏิบัติราชการประจำปีของโรงเรียน

2. การมีส่วนร่วมปฏิบัติงานและช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียน โดยมีส่วนร่วมกับผู้บริหารและคณะครูในทุกๆด้าน รวมถึงการช่วยเหลือสนับสนุนในการปฏิบัติงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ

3. การมีส่วนร่วมแก้ปัญหา เมื่อทางโรงเรียนพบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น คณะกรรมการสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา

4. การมีส่วนร่วมรับผิดชอบ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมรับผิดชอบการบริหารงานโรงเรียน ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ดังนี้

          4.1 การมีส่วนร่วมรับผิดชอบการบริหารจัดการด้านการวางแผนการใช้งบประมาณ และการระดมทรัพยากร

          4.2 การมีส่วนร่วมรับผิดชอบบริหารพัฒนาบุคลากร

          4.3 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

          4.4 การมีส่วนร่วมด้านการพัฒนาอาคารสถานที่

5. การมีส่วนร่วม กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจะมีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียน

6. การมีส่วนร่วมภาคภูมิใจในความสำเร็จ โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จะมีส่วนร่วมในการรับรู้ มีความภาคภูมิใจในผลสำเร็จที่เกิดขึ้น

การบริหารงานโดยคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วม

กระบวนการปฏิบัติงาน

 

โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ได้แก่

1. มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการในการบริหาร ได้แก่ การแสดงความคิดเห็นในการประชุมผู้ปกครองนักเรียน การแสดงความคิดเห็นผ่านทางตัวแทนห้องเรียน การแสดงความคิดเห็นผ่านทางช่องทาง Online ของโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา และเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียน

2. มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การให้ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ ด้านการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ด้านวิทยากรท้องถิ่น ครูภูมิปัญญา

3. มีส่วนร่วมตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร คณะครู ได้แก่ การตรวจสอบผลการจัดการเรียนการสอนที่ครูรายงานผลการประเมินพัฒนานักเรียนเป็นระยะๆ ร่วมประเมินผลการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน

4. การมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ช่วยเหลือสนับสนุน ปรับปรุงงานในทุกด้านของโรงเรียน เช่น ร่วมจัดโครงการ กิจกรรมให้นักเรียน ร่วมสนับสนุนดูแลสุขภาพอนามัยนักเรียน สนับสนุนทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาโรงเรียน


ผลจากการปฏิบัติ

ผลจากการปฏิบัติ

          1. การบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้เกิดความร่วมมือ เกิดความสามัคคี การทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง ส่งผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

          2. การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้ปกครองและชุมชน

          3. บุคลากรมีขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน ลดความขัดแย้ง มีบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน ลดปัญหาในการทำงานเนื่องจากทุกฝ่ายได้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ

          4. การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน สามารถทำงานเสร็จตามกำหนดเวลาและประหยัดทรัพยากร

          5. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ และเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อไป

          6. โรงเรียนได้รับรางวัลในปีการศึกษา 2562 ดังนี้

                    6.1 รางวัล กองทุน ดร.อุเทน  เตชะไพบูลย์ มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง โครงการส่งเสริมคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูกตเวทิตา และ  จิตอาสาเพื่อส่วนรวม ครั้งที่ 9

                    6.2 รางวัลชมเชยการประกวดกระทงประเภทสร้างสรรค์ กระทรวงวัฒนธรรม

                   6.3 รางวัลชนะเลิศการแข่งขัน Multi skills competition ,รางวัลรองชนะเลิศการแข่งขัน Power point งานราชา wonder land

                   6.4 รางวัลชมเชย การประกวดแข่งขันการสวดมนต์หมู่ ณ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

                   6.5 ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษา สำหรับนักเรียนที่เรียนดี เขตพระนคร

                    6.6 เหรียญเงินกรีฑาระดับกลุ่มกรุงเทพกลาง,เหรียญทอง,และเหรียญทองแดง การแข่งขันกีฬาเทควันโด กีฬานักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

                   6.7 รางวัลเกียรติบัตรเหรียญเงิน งานวิชาการท้องถิ่นระดับประเทศ

                   6.8 ได้คะแนนสอบยอดเยี่ยมอันดับที่ 1 ของ กทม. ในการทดสอบความรู้ General English Proficiency ครั้งที่ 34

                   6.9 รางวัลเยาวชนคนดี มูลนิธิ ดร.สุข พุคยาภรณ์

                   6.10 รางวัลหนูน้อยลอยกระทง ณ ศูนย์การค้ามาร์เก็ตเพลส ดุสิต,

                   6.11 รางวัลเหรียญและเกียรติบัตร จากโครงการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษของบริษัทเสริมปัญญา มีคะแนนสูงสุดอันดับ 1 ของ กทม.และเป็นอันดับที่ 14 ของประเทศ,

                   6.12 รางวัลชนะเลิศการแข่งขัน Multi skills competition งานนิทรรศการราชาธิวาสวิชาการ

                   6.13 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ งานนิทรรศการวิชาการเครือข่ายวิชาการ เครือข่ายที่ 1 เขตพระนคร

                   6.14 รางวัลชมเชย การแข่งขันกายบริหารประกอบเพลง  งานนิทรรศการวิชาการเครือข่ายวิชาการ เครือข่ายที่ 1 เขตพระนคร

                   6.15 รางวัลชมเชย การแข่งขันประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเหลือใช้ งานนิทรรศการวิชาการเครือข่ายวิชาการ เครือข่ายที่ 1 เขตพระนคร

                   6.16 รางวัลชมเชย การแข่งขันคณิตคิดเร็ว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 งานนิทรรศการวิชาการเครือข่ายวิชาการ เครือข่ายที่ 1 เขตพระนคร

                   6.17 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันตอบคำถามจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 5 งานนิทรรศการวิชาการเครือข่ายวิชาการ เครือข่ายที่ 1 เขตพระนคร

                   6.18 รางวัลชมเชยการแข่งขันตอบคำถามภาษาจีนโครงการสอนภาษาจีน

                   6.19 รางวัลชมเชยการพูดนำเสนอภาษาจีนโครงการสอนภาษาจีน

                   6.20 รางวัลชมเชยการแข่งขันการเล่านิทานประกอบท่าทางภาษาจีนโครงการสอนภาษาจีน