สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนประภาสวิทยา
กระบวนการพัฒนา

โครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานครของโรงเรียนประภาสวิทยา สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนประภาสวิทยา

              โรงเรียนประภาสวิทยาเป็นโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมส่งเสริมการผลิต กิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์  กิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอาหารดีมีคุณภาพ  การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง  และการวัดสมรรถภาพทางกาย

กระบวนการพัฒนา

1. ขั้นตอนการดำเนินงาน

            1.1  จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการโดยใช้หลัก PDCA ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพ                                                        1. 2  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

                - เพื่อน้อมรับและสนองแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ -รัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี

                - เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้งานสหกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน

                - เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาทักษะและเรียนรู้กระบวนการในการทำงานสหกรณ์

                - เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจแนวคิด หลักการ วิธีการและอุดมการณ์ของสหกรณ์

                - เพี่อให้นักเรียนเกิดทักษะชีวิตที่ดีและสามารถนำความรู้ด้านสหกรณ์ไปใช้ในอนาคตได้

            1.3 วิธีการดำเนินงาน

                 จัดทำแผนปฏิบัติงานโดยใช้หลักการ PDCA มีการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดเป้าหมาย ลงมือปฏิบัติ รายงานและได้รับการตรวจสอบประเมินผลจากผู้บริหาร

                 P – Plan การวางแผนงานและกำหนดวิธีการ

ทางโรงเรียนได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดผลแก่ผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน  กำหนดรายละเอียด จัดประชุมเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน

                 D – Do การลงมือปฏิบัติ

เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องได้กำหนดระยะเวลาและปฏิบัติตามแผนงาน มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ จัดประชุมตรวจสอบการดำเนินงาน

                 C – Check การตรวจสอบ

มีการตรวจสอบงานเป็นระยะหลังจากลงมือทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

                 A – Action การปรับปรุงและดำเนินการแก้ไข

หลังการตรวจสอบได้มีการปรับปรุงเพื่อให้การดำเนินงานสหกรณ์นักเรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเกิดผลต่อผู้เรียน

 


ผลจากการปฏิบัติ

ผลจากการปฏิบัติ

            กิจกรรมส่งเสริมการผลิต – นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ รวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้แก่ครอบครัวเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

            กิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์ - นักเรียนเห็นความสำคัญของการออมเงินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงิน และนักเรียนร้อยละ 90.23 ของนักเรียนทั้งหมดเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ของโรงเรียน

            กิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า - นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักการสหกรณ์ มีจิตอาสา รู้จักการเสียสละในการทำงานร่วมกัน นักเรียนรู้จักเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและมีราคาเหมาะสม

            กิจกรรมสาธารณประโยชน์ – โรงเรียนได้จัดทำแผนการสอนที่มีการบูรณาการโครงการเสริมสร้างศักยภาพฯ เข้าไปในทุกกลุ่มสาระวิชา

            นอกจากนั้นโรงเรียนจัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางอาหารครบ ๕ หมู่ และมีรายการอาหารที่จัดให้สำหรับนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน

            นักเรียนได้รับการส่งเสริมทักษะ พัฒนาการเคลื่อนไหว และออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีสุขภาพที่ดีและมีน้ำหนัก ส่วนสูง สมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน

            โรงเรียนส่งนักเรียนเข้าร่วมการประกวดกิจกรรมทักษะอาชีพงานประดิษฐ์ นักเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ จากโครงการเสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

  


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]