สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
กิจกรรมแม่ไก่ลูกไก่
โรงเรียนประภาสวิทยา
กระบวนการพัฒนา

ขั้นวางแผน (plan)

     ๑. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจขั้นตอนดำเนินกิจกรรม

 

ขั้นดำเนินการ (do)

๒.      ครูประจำชั้นทดสอบการอ่านของนักเรียน

๓.      รวบรวมรายชื่อนักเรียนและกรรมการผู้รับผิดชอบ

๔.      แบ่งภาระหน้าที่ให้ครูผู้รับผิดชอบสอนอ่าน ครู 1 คน ต่อนักเรียน 3-6 คน

๕.      ดำเนินงานตามแผน โดยการแบ่งครูทุกคนให้เป็นแม่ไก่รับผิดชอบนักเรียนที่อ่านไม่คล่องหรืออ่าน    

ไม่ออกซึ่งเป็นลูกไก่  ให้อยู่ในความรับผิดชอบของแม่ไก่ทุกวัน  แม่ไก่จะมีลูกไก่ของตัวเองประมาณไม่เกิน        ๓-๖  คน  กิจกรรมนี้แม่ไก่จะพาลูกไก่อ่านหนังสือทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา และทำการบันทึกผลการอ่านเป็นประจำเพื่อดูพัฒนาการอ่านของลูกไก่

 

ขั้นการตรวจสอบ/ประเมินผล (Check)

๖.      ติดตามผลและประเมินผล

ขั้นการปรับปรุง/พัฒนา (Action)

      ๗.  สรุปผลการดำเนินกิจกรรม


ผลจากการปฏิบัติ

-          นักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านมีพัฒนาการด้านการอ่านดีขึ้นผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ ๘๕.๐๖

-           นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test) เฉลี่ยรวมทั้ง ๒ ด้าน คือด้านการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่องเฉลี่ยร้อยละ ๗๘.๗๑ ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของระดับจังหวัด ระดับสังกัดและระดับประเทศ

-           นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ด้านภาษาไทย เฉลี่ยร้อยละ ๕๑.๖๙ ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของระดับจังหวัด ระดับสังกัดและระดับประเทศ

-           นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย เฉลี่ยร้อยละ ๖๒.๓๐

-           นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย เฉลี่ยร้อยละ ๕๙.๔๙ ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของระดับจังหวัด ระดับสังกัดและระดับประเทศ


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]