โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา ได้ดำเนินโครงการตามขั้นตอนกระบวนการ (PDCA) โดยใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน
ผู้ปกครองและชุมชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
๑. วางแผนการดำเนินงาน (Plan) ทำการประชุมวางแผนโดยผู้เกี่ยวข้องทุกๆด้าน
ยึดหลักร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมใจ ร่วมตัดสินและร่วมประเมิน
๒. การดำเนินงาน (Do) ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักเรียนแต่ละระดับชั้นที่สนใจด้านดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย
ดำเนินการเรียนรู้และฝึกซ้อมในวิชาชมรม และฝึกทักษะแสดงในโอกาสต่างๆ ตลอดจนบูรณาการสอดแทรกทักษะและเนื้อหาจัดการเรียนการสอนในวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ในชั่วโมงเรียน
๓. ติดตามตรวจสอบและประเมินผล (Check) ทำการแสดงในโอกาสต่างๆดูตามความเหมาะสมในแต่ละงาน
และนำไปพัฒนาปรับปรุงรูปแบบ
๔. สรุป ปรับปรุงและเผยแพร่ (Action) ติดตามวัดผลประเมินผลการดำเนินงาน สังเกต สัมภาษณ์ ประเมินความพึงพอใจและเผยแพร่ผลงาน
ผลการดำเนินงาน
๑.
ร้อยละ 100
ของนักเรียนโรงเรียนวัดปลูกศรัทธาทุกคน
ได้รับการส่งเสริมให้มีประสบการณ์จริง ด้านดนตรีไทยและด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทย ได้ลงมือปฏิบัติและทำได้จริง
สามารถเล่นดนตรีไทยได้อย่างน้อย 1ชนิด และมีความสามารถทางด้านนาฏศิลป์ไทย
๒.
ร้อยละ
100 ของนักเรียนโรงเรียนวัดปลูกศรัทธาทุกคน
มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีไทยและด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทยและเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีไทยและด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทยของโรงเรียน
๓. ร้อยละ 100 ของนักเรียนโรงเรียนวัดปลูกศรัทธาทุกคน
มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยและสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทย
และค้นพบความถนัดและความสามารถของตนเอง
ประโยชน์ที่ได้รับ
๑.
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจและมีทักษะในการเล่นดนตรีไทยและแสดงนาฏศิลป์ไทย สามารถเล่นดนตรีและแสดงนาฏศิลป์ไทยได้ อันจะส่งผลให้นักเรียนเกิดความรักและชื่อชอบในดนตรีไทยและด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทยมากยิ่งขึ้น
๒.โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้านดนตรีไทยและด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทย
เพื่อให้นักเรียนหรือบุคคลภายนอกเข้ามาศึกษา
ค้นคว้าหาความรู้ด้านดนตรีไทยและด้านการแสดงนาฏศิลป์ไทย
๓. โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา ได้รับการคัดเลือกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นโรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ประจำปีงบประมาณ 2564
การเผยแพร่
๑.
นักเรียนได้แสดงทักษะการเล่นดนตรีไทยและแสดงนาฏศิลป์ไทยทั้งในและนอกสถานศึกษา เช่น
งานแข่งขันทักษะทางด้านดนตรีไทยและนาฏศิลป์ งานเปิดกิจกรรมต่างๆของสำนักงานเขตลาดกระบัง
และงานนิทรรศการวิชาการเครือข่ายโรงเรียนที่ ๓๕ เป็นต้น
๒.นักเรียนได้แสดงทักษะการเล่นดนตรีไทยและแสดงนาฏศิลป์ไทยในโอกาสสำคัญต่างๆได้อย่างเหมาะสม เช่นการแสดงต้อนรับคณะต่างๆตรวจเยี่ยมโรงเรียน การแสดงประประชาสัมพันธ์ผ่านทางทางเว็ปไซต์ของทางโรงเรียน ลงในยูทูปและ FaceBook โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา