การอ่านจัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้และการพัฒนาสติปัญญาของคนในสังคมไทย การอ่านทำให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาความรู้ความสามารถพฤติกรรมและค่านิยมต่าง ๆรวมทั้งช่วยในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตโดยพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิตการอ่านจึงมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างยิ่ง ๒ ประการ คือ ประการแรก สำคัญต่อชีวิตประจำวัน กล่าวคือ การอ่านเป็นการแสวงหาความรู้เพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันประการที่สองมีความสำคัญต่อการเรียนเพราะการอ่านเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมทั้งหลายในการเรียนการสอนและมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จอันส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาหากเริ่มต้นดีรากฐานการอ่านของเด็กก็จะดีด้วย จากหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ ๑ ได้ระบุไว้ว่า ให้ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ สร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน และจากการติดตามผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และการวัดผลประเมินผล การอ่านไม่ออก ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 บางส่วนยังอ่านไม่คล่อง ทำให้มีผลกระทบทางการเรียนของโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และตามนโยบายของกรุงเทพมหานครที่มีการประเมิน ด้านการอ่านทุกเดือน ซึ่งโรงเรียนมีการรายงานสภาพการอ่านของนักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ เป็นประจำทุกเดือน จากการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ทำให้ทราบสภาพปัญหาของนักเรียนแต่ละระดับชั้นเกี่ยวกับการอ่าน และนักเรียนมีการเขียนคำศัพท์ไม่ถูกต้อง ส่วนนักเรียนที่อ่านออก เขียนได้ สถานศึกษาได้ดำเนิน การส่งเสริมเพื่อให้มีการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ที่ขึ้น และเพื่อให้ครูผู้สอนได้ตระหนักเห็นความสำคัญและรับผิดชอบในการเร่งรัดให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ ด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและกิจกรรมพ่อไก่แม่ไก่ที่ครูผู้สอนได้ดำเนินกิจกรรมด้วยการสร้างสื่อให้นักเรียนฝึกอ่าน คัดกรองนักเรียนที่ยังอ่านไม่คล่อง แล้วแบ่งกลุ่มนักเรียนให้กับครูแต่ละคนดูแลนักเรียน ครูมีการทดสอบการอ่านของนักเรียน อย่างต่อเนื่อง และบันทึกผลการอ่านของนักเรียน เป็นรายสัปดาห์ให้ผู้บริหารทราบ และแจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ จัดชั่วโมงการอ่านให้กับนักเรียน 5 ชั่วโมง/ สัปดาห์ โดยจัดตารางสอนให้กับครูทุกคนในการสอนอ่านของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีผลการอ่านดีขึ้น ส่วนนักเรียนที่มีการพัฒนาการในด้านการอ่านช้าอย่างมาก ครูนำสื่อที่ง่าย เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนมาใช้ในการพัฒนาการอ่านของนักเรียน ทำให้นักเรียนกลุ่มนี้ เริ่มมีพัฒนาในด้านการอ่านที่ดี นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สถานศึกษาเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านการอ่าน จึงนำไปเผยแพร่ให้สถานศึกษาในเครือข่ายได้นำไปใช้ต่อไป
???นักเรียนมีความสามารถในการอ้านการเขียนมากขึ้น ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระดีขึ้น