จากการสังเกตพบว่านักเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียนคลองสองมีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน นักเรียนบางคนอ่านหนังสือไม่ออกและเขียนหนังสือไม่ค่อยได้และเขียนไม่ถูกจึงทำให้เป็นปัญหาในการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วย
ทางโรงเรียนจึงได้มีการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อพัฒนาให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้อ่านคล่องและเขียนคล่อง
2.เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.เพื่อส่งเสริมให้คณะครูจัดกิจกรรมแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนอย่างเป็นระบบ
4.เพื่อพัฒนาครูให้ใช้สื่อในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้และอ่านคล่องเขียนคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนดังนี้
1.
วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาของนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เช่น
นักเรียนขาดทักษะพื้นฐานการอ่านการเขียนทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
นักเรียนมีสมาธิในการเรียนรู้สั้น การจัดการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของสมองของเด็ก
(BBL) เป็นต้น
2. ประชุมสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรและผู้ปกครอง
ให้เห็นความสำคัญของภาษาไทย แม้ครูที่สอนสาระการเรียนรู้อื่น
โดยเป็นแบบอย่างที่ดีและร่วมกันส่งเสริมการใช้ภาษาไทยของนักเรียน
3.
ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมบุคลากรในการสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมการอ่านและการเขียนและนิเทศ
ติดตามให้ทุกคนนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
4. มอบหมายให้ครูทุกท่านรับผิดชอบนักเรียนตามจำนวนที่ได้รับมอบหมายเพื่อดำเนินการพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนทุกวัน
5. ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการควบคุม
กำกับและติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โดยให้ครูประจำชั้นส่งรายงานการพัฒนาการออ่านและการเขียนให้กับผู้บริหารสถานศึกษาทุกวันสิ้นเดือน
กิจกรรมที่ 1 แบ่งกลุ่มนักเรียนที่คัดกรองออกเป็น
3 กลุ่ม กลุ่มที่อ่านไม่ได้(
กลุ่มนักเรียนเรียนร่วม)
กลุ่ม ที่อ่านไม่คล่อง และกลุ่มปานกลาง ประชุมคณะครู
มอบหมายการสอนทักษะการอ่านโดยใช้สื่อ นวัตกรรมแบบฝึก กระบวนการ เทคนิคที่หลากหลาย แบ่งให้ครู1 คน
ต่อนักเรียน 3-5 คน ใช้เวลาตอนพักกลางวัน12.00
น. ถึง 12.30 น.ทุกวัน จันทร์ -
ศุกร์ ที่ห้องประชุมจามจุรี
กิจกรรมที่ 2 ครูประจำชั้น ฝึกทักษะการอ่าน เขียน ในชั่วโมงภาษาไทยเพิ่มกับเด็กเป็นรายบุคคล
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมกิจกรรมรักการอ่าน
3.1 จัดมุมรักการอ่านในห้องเรียน
3.2 กิจกรรมอ่านก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ
3.3 กิจกรรม
10 นาทียามเช้า สร้างลูกรักการอ่าน
(ตาม นโยบาย กทม. )
3.4 กิจกรรมภาษาไทยวันละคำ
3.5 กิจกรรมบันทึกรักการอ่าน
กิจกรรมที่ 4 การวัดและประเมินผล โดยจัดให้มีการทดสอบการอ่าน การเขียน เดือนละ1 ครั้ง
รายงานผลสรุปผลการดำเนินการต่อผู้บริหาร
1.นักเรียนมีทักษะการอ่านออก
เขียนได้ และอ่านคล่อง เขียนคล่อง
เด็กมีความสนใจในการเรียนทำให้ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระของนักเรียนเพิ่มขึ้น
ครูมีความกระตือรือร้น แสวงหานวัตกรรม ส่งเสริมใช้สื่อ จัดกิจกรรมแก้ปัญหาการอ่านออก
เขียนได้ทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
2. ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้น
3.
คณะครูจัดกิจกรรมแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของนักเรียนอย่างเป็นระบบ
4.
ครูมีสื่อในการจัดกิจกรรมส่งเสริมอ่านออกเขียนได้และอ่านเขียนคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ