แนวทางการดำเนินการ
1. การวางแผนดำเนินงาน
1) เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา
2)
เสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการดำเนินงานโครงการ
3) จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ
เพื่อสร้างความเข้าใจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินงานของโครงการ
2. ขั้นตอนการดำเนินโครงการ (PDCA)
1) วางแผนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
แล้วตรวจสอบการวิเคราะห์หลักสูตร การกำหนดหน่วยการเรียนรู้ว่าครอบคลุมหรือไม่
หากไม่ครอบคลุมให้สอนเพิ่มในส่วนที่ตกหล่นไปโดยเฉพาะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2) ดำเนินการกิจกรรมประชุมผู้ปกครองนักเรียนชั้น
ป.6 เป็นกิจกรรมที่มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้น ป.๖
โดยจัดการประชุมเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับความสำคัญของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) และหาแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียนให้มีคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) มากกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนระดับชาติ
ดำเนินการกิจกรรรมสอนเตรียมความพร้อม มีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับชั้น ป.6 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนก่อนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
มีรายละเอียดงานดังต่อไปนี้
1) จัดทำ/ปรับโครงการเพิ่มศักยภาพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียนเทพวิทยา
ให้ครอบคลุมทุกกิจกรรมที่กำหนด
2) วางแผนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดแล้ว
ให้โรงเรียนตรวจสอบการวิเคราะห์หลักสูตร การกำหนดหน่วยการเรียนรู้ว่าครอบคลุมหรือไม่
หากไม่ครอบคลุมให้สอนเพิ่มในส่วนที่ตกหล่นไปโดยเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่
6
3) วางแผนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้จบ
และครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภายในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564
4) นำคลังคำศัพท์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นคลังคำศัพท์ที่ใช้เป็นกรอบในการสร้างข้อสอบโอเน็ต ของ สทศ. ไปใช้สอนเสริมแบบเข้มให้กับนักเรียนให้ครบทุกคำ
(โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ให้อ่านออก และบอกความหมายได้
โดยสอน ให้นักเรียนจำให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน)
5) สอนเสริมแบบเข้มให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
6 ตามแนวข้อสอบของ สทศ. ในชั้น หรือกำหนดกิจกรรม
วันเวลาให้ชัดเจน
6) ครูผู้รับผิดชอบในโรงเรียนทุกคนร่วมกันจัดเตรียมสื่อ/เอกสารประกอบการสอนเสริมแบบเข้ม/สร้างข้อสอบ
Pre
O-NET ตามแนวข้อสอบของ สทศ.
7) นำรูปแบบข้อสอบ O-NET ของ สทศ. มาวิเคราะห์ เพื่อสอนเสริมแบบเข้มให้กับนักเรียน ในชั้นเรียน และจัดทำข้อสอบ Pre O-NET ให้นักเรียนคุ้นเคยและมีประสบการณ์
การทำข้อสอบ (รูปแบบข้อสอบ/กระดาษคำตอบ/การระบายคำตอบฯ)
8) ผู้บริหารกำหนดปฏิทินการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้ชัดเจน
(กำหนดวันที่ กิจกรรมที่ต้องทำ)
9) ผู้บริหารติดตามการนำข้อสอบ Pre O-NET ไปใช้ในสถานศึกษา การนำข้อสอบ Pre O-NET ไปใช้ ในชั้นเรียน ติดตามผลการทำงานของครูผู้รับผิดชอบทุกระยะอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้ดำเนินงานบรรลุตามแผนงาน
หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ทันเวลา
10) จัดกิจกรรมสอนเสริมแบบเข้มให้กับนักเรียนให้ต่อเนื่องก่อนถึงวันสอบจริง
(O-NET สอบเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564)
11) จัดสอบเสมือนจริงในโรงเรียน โดยใช้ข้อสอบ กระดาษคำตอบ การคุมสอบ เวลาสอบเสมือนจริงทุกประการ โดยใช้ข้อสอบของสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
“การสอบเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Pre O-NET)” ซึ่งจัดทำขึ้นตามแนวข้อสอบของ สทศ. บันทึกผลการสอบ ตรวจคำตอบ
และวิเคราะห์ผลการทดสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไขนักเรียนก่อนวันสอบจริง
12) จัดกิจกรรมเสริมแรงทางบวก
(จัดอาหารว่างน้ำหวาน ขนมช่วงพักสอบ) สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย
ทำสมาธิก่อนเวลาสอบ
13) ประชาสัมพันธ์ความสำคัญของการสอบ
O-NET ทุกสัปดาห์
14) ประกาศ/ป้าย นับเวลาถอยหลัง Count Down ทุกวัน
15) โรงเรียนให้รางวัลนักเรียนที่มีคะแนนสอบสูง/มีความก้าวหน้าสูง
3) ตรวจสอบโดยการจัดสอบเสมือนจริงในโรงเรียน โดยใช้ข้อสอบ กระดาษคำตอบ การคุมสอบ เวลาสอบเสมือนจริงทุกประการ โดยใช้ข้อสอบของสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร “การสอบเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Pre O-NET)” ซึ่งจัดทำขึ้นตามแนวข้อสอบของ สทศ. บันทึกผลการสอบ ตรวจคำตอบ และวิเคราะห์ผลการทดสอบเพื่อปรับปรุงแก้ไขนักเรียนก่อนวันสอบจริง
4) ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา โดยจัดกิจกรรมโค้งสุดท้าย
(สอนเสริมแบบเข้ม) ระยะเวลา 2 สัปดาห์ก่อนสอบ เพื่อเน้นย้ำ และพัฒนาทักษะต่าง ๆ
รวมถึงการเตรียมตัวก่อนสอบ
3. การกำกับติดตามงาน
1) ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
สรุปผลการดำเนินงานเพื่อเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อใช้สำหรับการจัดโครงการดังกล่าวในครั้งต่อไป
2) นำเสนอผลการจัดโครงการต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในสถานศึกษาทราบ
ด้านปริมาณ
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 99 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.05 ได้เรียนเสริมแบบเข้มในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ด้านคุณภาพ
โรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับประเทศ ทั้ง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้