โรงเรียนวัดท่าพระมีกระบวนการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนที่ใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วม โดยสร้างความตระหนักให้กับครู บุคลากรตามทฤษฎีต่าง ๆ ดังนี้
1.
ทฤษฎีการเสริมแรงของ Skinner ผู้บริหารได้นำหลักทฤษฎีการเสริมแรงมาใช้กับครู เพื่อเป็น
การกระตุ้นสร้างกำลัง การเสริมแรงบวกผู้บริหารได้ให้คำชม คำแนะนำ
มอบรางวัลให้แก่ครูและบุคลากร
ที่ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมแก่นักเรียน
การเสริมแรงลบของผู้บริหาร
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดสิ่งเร้า ที่กระตุ้นให้เกิดประโยชน์ ไม่ได้มีเจตนาที่จะตำหนิการทำงาน แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิดแรงผลักที่ดีขึ้น
2.
ทฤษฎีการวัดและเปรียบเทียบการปฏิบัติกับโรงเรียนที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการ
เปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงโรงเรียนของตนเอง
เพื่อนำผลจากการนำทฤษฎีมาใช้เทียบเคียงทำให้เราทราบว่าโรงเรียนนั้น ๆ มีกระบวนการอย่างไร
(Benchmarking) ผู้บริหารนำมาเป็นกระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน โดยจะสำรวจและพิจารณาว่า
มีสภาพแวดล้อมใดบ้างที่จะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น กว่าเดิม และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่นหรือองค์กรอื่น
ๆ แล้วนำมาปรับใช้กับโรงเรียน ในงานวิชาการเช่นเดียวกันจะศึกษาถึงความสำเร็จของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่ามีการจัดการศึกษาอย่างไร มีกระบวนการอย่างไรที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และสอบ O-NET ผ่านทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
โดยการวิเคราะห์ปัญหาของทางโรงเรียน
และวางแนวทางการพัฒนานักเรียนโดยนำกระบวนการของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จมาปรับประยุกต์ใช้ตามบริบทของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้น
หรืออาจมองว่าเป็นกระบวนการเปรียบเทียบกับโรงเรียนอื่น
เพื่อการสะท้อนให้เห็นถึงการเปรียบเทียบระหว่างกันเพื่อให้เห็นจุดแตกต่างกับผู้ที่เหนือกว่าหรือเก่งกว่า
และการเรียนรู้และการพัฒนาจากผู้ที่เก่งกว่านั้นจะทำให้โรงเรียนมีเป้าหมายที่ท้าทายและเป็นไปได้ย่อมทำให้เกิดการพัฒนาทฤษฎี
(Benchmarking) จึงเป็นกลไกในการพัฒนาและนำไปสู่การจัดการบริหารโรงเรียน เพื่อวัดหรือเปรียบเทียบสมรรถนะของตนกับผู้เก่งกว่าหรือเก่งที่สุด
และเรียนรู้วิธีการเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศหรือเหนือว่าในด้านนั้น ๆ
เมื่อเข้าสู่การแข่งขัน
3.
ทฤษฎีการบริหารโดยใช้วงจรคุณภาพของ Deming เป็นการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพ
ของการดำเนินงาน โดยมีขั้นตอนการทำงาน 4
ขั้นตอน อย่างเป็นระบบ
ผู้บริหารใช้ทฤษฎีนี้เป็นตัวกำหนดคุณภาพการทำงานของครูและบุคลากรในโรงเรียน เพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษา และการจัดการบริหารงานทั้ง 4 งานในโรงเรียน
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้ง 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan - P) การวางแผนในการนิเทศภายในของโรงเรียน มีการสำรวจข้อมูลความต้องการของครูและบุคลากร
ในการที่จะร่วมกันพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน การกำหนดเป้าหมาย
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องจัดทำเป็นการรับข้อมูลเพื่อการเตรียมการอย่างรอบคอบเพื่อจะทำงานให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนที่วางไว้
ขั้นตอนของการวางแผนจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายแนวทางการดำเนินงาน
เพื่อให้ผู้รับผิดชอบนั้นปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มีการกำหนดระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
และทรัพยากรที่จะต้องใช้
เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีความเชื่อมโยงกับนโยบาย และความต้องการตามบริบทของโรงเรียน
-8-
ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (DO - D) คณะครู
และบุคลากรได้ร่วมกันวางแผนการปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อย
จึงเริ่มดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้ตามกำหนดและกรอบของเวลา โดยระหว่างการดำเนินงานผู้บริหารสถานศึกษามีหน้าที่ให้คำปรึกษา
มีส่วนช่วยในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทำงานอย่างมีความสุข ดังนี้
1)
การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากร เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ และเพียงพอ
2)
กำกับ
ติดตาม
เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
3)
ให้การนิเทศในระหว่างการปฏิบัติงาน ผู้บริหารถานศึกษา และหัวหน้างานหรือผู้ที่ได้รับการ
แต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินการนิเทศ ต้องกำกับและติดตามว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือแผนที่กำหนดไว้ หรือมีปัญหาหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนหรือมีปัญหาจะได้ให้การนิเทศเพื่อปรับปรุงแก้ไข การกำกับและติดตามการปฏิบัติงานมีหลายวิธี เช่น
ปัญหาในด้านการใช้สื่อการสอนเทคโนโลยี
การเยี่ยมชั้นเรียนเพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำในเรื่องการจัดบรรยากาศภายในห้องเรียน เป็นต้น
ผู้บริหารสถานศึกษาอาจติดตามด้วยการสอบถามเป็นรายบุคคล จัดประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้
หรือให้แต่ละบุคคลรายงานความก้าวหน้าของการทำงานเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน ซึ่งอาจเป็นการรายงานปากเปล่า
หรือจัดทำรายงานเสนอเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินตนเองและทักษะในด้านต่าง ๆ
โดยผู้บริหารสถานศึกษาให้การนิเทศหรือเชิญวิทยากร
เช่น ศึกษานิเทศก์
ผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาให้การนิเทศหรือส่งบุคคลไปฝึกอบรม
ขั้นที่
3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C)
การประเมินผลเป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา
เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับที่สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใดหรือต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเรื่องใดบ้าง เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เหมาะสม การดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานทางโรงเรียนมีการตรวจสอบประเมินผลเป็นระยะ
ๆ
เพื่อพิจารณาการดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการหรือไม่เพียงใด มีจุดอ่อน จุดแข็งประการใด มีส่วนใดที่ต้องปรับปรุง
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนดมากที่สุด
และเมื่อสิ้นภาคเรียนหรือสิ้นปีการศึกษาก็จะต้องมีการประเมินสรุป เพื่อนำผลมาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงการดำเนินการในระยะต่อไป
ขั้นที่
4 การพัฒนา/ปรับปรุงแก้ไข (Action
- A)
การประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้วนำผลให้กับ
คณะกรรมการที่รับผิดชอบซึ่งจะต้องรวบรวมผลการประเมินมาวิเคราะห์ สังเคราะห์
แปลผลในภาพรวมทั้งหมด
แล้วนำเสนอผู้บริหารสถานศึกษาและที่ประชุม
เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนางานของตนเองต่อไป
เพื่อให้โรงเรียนพัฒนาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET)
และการทดสอบความสามารถพื้นฐาน (NT)
โดยใช้กระบวนการที่ทุกคนมีส่วนร่วมคิด
ร่วมรับผิดชอบ
มีเป้าหมายให้สถานศึกษาพึ่งพาตนเองทางด้านวิชาการได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษาโดยองค์รวม ใช้การนิเทศแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบการนิเทศที่ใช้ดำเนินการ ดังนี้
๑. ร่วมคิด ร่วมทำ กับคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน โดยมุ่งทางวิชาการตามความต้องการ
ของสถานศึกษา
๒. ประสานงานให้เกิดความพร้อมในการพัฒนางาน และพัฒนาบุคลากร
๓. ผู้เกี่ยวข้องกับการนิเทศ กำหนดแผนงาน
และโครงการพัฒนาคุณภาพให้สอดคล้องกับการ
พัฒนาสถานศึกษา
-9-
๔. สนับสนุนให้สร้างบรรยากาศที่ดีในการนิเทศ
๕. ร่วมกับสถานศึกษาในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
๖.
ส่งเสริมให้สถานศึกษานำยุทธวิธีเกี่ยวกับการพัฒนาไปใช้ในสถานศึกษา โดยวิธีต่าง ๆ
การใช้
หลักการการนิเทศภายใน โดยความพยายามของผู้บริหารโรงเรียนในอันที่จะปรับปรุงส่งเสริมประสิทธิภาพในด้านการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ทำให้เกิดการเพิ่มพลังในการปฏิบัติงานของครู รวมทั้งให้ครูเกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ และก่อให้เกิดผลขั้นสุดท้ายคือ การศึกษาของนักเรียนที่มีพัฒนาการก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการนิเทศภายใน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา
และความต้องการ ประกอบด้วย การสำรวจปัญหา
การจัดระบบข้อมูล การวิเคราะห์ผลการเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สำรวจการใช้อุปกรณ์ และการประเมินผลการจัดการศึกษาที่ดำเนินการที่ผ่านมา
ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน
และการกำหนดทางเลือก
ประกอบด้วย
การกำหนดขอบข่ายการนิเทศภายใน
การกำหนดผู้รับผิดชอบและวิธีการจัดทำแผนโครงการ ประชุมชี้แจง
ประชาสัมพันธ์และการประเมินการวางแผนนิเทศ
ขั้นตอนที่ 3 การสร้างสื่อ
เครื่องมือ และพัฒนาวิธีการ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความต้องการใช้สื่อ เครื่องมือ
การจัดหาวัสดุอุปกรณ์
การส่งเสริมการผลิตสื่อ
เครื่องมือ
การกำกับติดตามดูแล
และให้คำปรึกษา
การประเมินสื่อและเครื่องมือนิเทศ
ขั้นตอนที่
4 การปฏิบัติการนิเทศภายใน ประกอบด้วย
การดำเนินการนิเทศตามแผนที่กำหนดไว้
การประสานงาน การสร้างขวัญกำลังใจ การกำกับติดตามการสอน
การสร้างความสำคัญระหว่างผู้เกี่ยวข้องและการประเมินผลการดำเนินการนิเทศภายใน
ขั้นตอนที่ 5 การประเมิน
และรายงานผล ประกอบด้วย การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินผล การจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลการประเมิน
การสรุปและการจัดทำรายงานเผยแพร่ผลการนิเทศภายใน
-10-
ครูวิเคราะห์ตัวชี้วัดข้อสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ออกข้อสอบคู่ขนานตามตัวชี้วัดของข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) เพื่อทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ทดสอบก่อนเรียน ติว
สอนเสริม
สอบตามเนื้อหาและตัวชี้วัดของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทดสอบหลังเรียน และหาข้อบกพร่อง เพื่อพัฒนาผู้เรียนต่อไป
1.
ผู้อำนวยการสถานศึกษา
รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายบริหารงานวิชาการ ประชุมครูผู้สอนสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน
โดยให้ครูที่รับผิดชอบแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้วิเคราะห์ตัวชี้วัดของข้อสอบ
(O-NET) ปีที่ผ่านมาว่า ออกตัวชี้วัดใด นักเรียนมีข้อบกพร่องตัวชี้วัดไหน และมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ทั้งนี้ให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้นำเสนอและแสดงความคิดเห็น
พร้อมมอบนโยบายและสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโดยขอความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของครูทุกคน ผู้ปกครองนักเรียน และที่สำคัญทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในครั้งนี้
2.
คณะครูสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชุมเพื่อวางแผนแนวทางพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
โดยฝ่ายวิชาการสายชั้นวางแผนจัดระบบเข้าสอนเสริมช่วงเช้า ตั้งแต่ เวลา 07.30
– 08.30 น. ทุกวันทำการ โดยออกปฏิทินการสอนให้กับครูทุกคน
3.
ครูสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชุมนักเรียนสายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ทุกคน
ชี้แจงให้ทราบแนวทางการพัฒนาก่อนเข้ารับการพัฒนาสอนเสริมในช่วงเช้า
โดยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
4.
ส่งเอกสารประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือผู้ปกครองให้เข้าใจถึงจุดประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนร่วมกัน และขอความร่วมมือให้นักเรียนมาเรียนให้ทันเวลา
5.
กำหนดระยะเวลาการพัฒนาผู้เรียน เป็นระยะเดียว
คือ ระยะที่ 1 สอนตามปกติ
เน้นการคิดวิเคราะห์ในภาคเรียนที่ 1 ทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียนครั้งที่
1 เพื่อพัฒนาและปรับปรุง ระยะที่ 2 สอนตามปกติเน้นการคิดวิเคราะห์ในภาคเรียนที่
2 และเพิ่มเวลาเรียนอีก 2 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 เวลา 07.30 – 08.30 น. ช่วงที่ 2 ในชั่วโมงเรียน ภายในเดือนพฤศจิกายนถึงวันก่อนทำการสอบ
6.
การดำเนินการจัดกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย เช่น
กิจกรรมความสามารถในการจำ
กิจกรรมความสามารถในการสรุป
กิจกรรมความสามารถในการวิเคราะห์
ฝึกการสังเคราะห์
และฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์
จากแบบทดสอบประเภทต่าง ๆ ที่ครู
แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดหามา
และแนะนำนักเรียนทุกชั่วโมงที่มีการใช้สื่อต่าง ๆ
7.
ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาเยี่ยมชั้นเรียนทุกวันในช่วงเช้าที่มีการพัฒนาผู้เรียน
พร้อมสอบถามกับครูผู้สอนถึงความพร้อมของนักเรียน ปัญหาและอุปสรรค ความต้องการที่ให้ทางฝ่ายบริหารช่วยเหลือหรือแก้ไขปรับปรุง จากนั้นฝ่ายบริหารจะนำปัญหาความต้องการนั้นมาประชุมปรึกษา
หาแนวทางแก้ไขร่วมกันในแต่ละครั้งที่ทำการนิเทศภายใน
ด้วยกระบวนการเดินกำกับติดตามการสอนของครูแต่ละคน
จะทำการบันทึกการนิเทศและเยี่ยมชั้นเรียนลงในสมุดบันทึกทุกวัน
โดยผู้อำนวยการสถานศึกษาลงนามรับทราบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
8.
การตรวจสอบครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้จัดทำข้อสอบคู่ขนานกับแบบทดสอบ
O-NET
ที่ผ่านมา
และทำการทดสอบหลังเรียนครั้งที่ 2
ให้เสร็จสิ้นก่อนวันทดสอบจริง ประมาณ 3 สัปดาห์
เพื่อหาข้อบกพร่องและหาแนวทางพัฒนาแต่ละตัวชี้วัดที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ จากนั้นฝ่ายวิชาการสายชั้นประชุม เพื่อวางแผนการสอนเสริม
และปรึกษาหาแนวทางพัฒนาให้นักเรียนเกิดประสิทธิภาพในการทำข้อสอบให้ มากที่สุด
และย้ำกับนักเรียนเกี่ยวกับการทำข้อสอบในวันสอบจริง
1.
ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บูรณาการเน้นทักษะกระบวนการคิดในชั่วโมง
เรียนและจัดหาสื่อที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น
โดยครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกคนมีส่วนร่วมในการในการจัดเตรียมเอกสารทางวิชาการ ข้อสอบ
เทคนิคต่าง ๆ มาเผยแพร่และวางแผนการสอนเสริมร่วมกัน
2.
ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการพัฒนาตนเอง ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการสอนและเทคนิค
วิธีการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน โดยเน้นให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
คิดวิเคราะห์เนื้อหาตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ตัวชี้วัด
ครูมีวิธีการสอนหลากหลายมากขึ้น
เช่น การทดลอง การแสวงหาความรู้ทางเทคโนโลยี กระบวนการกลุ่ม การนำเสนอ
การอภิปราย การทำโครงงาน เป็นต้น
3.
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน มีความรู้ เข้าใจ
เกิดทักษะการทำข้อสอบในลักษณะ
ของข้อสอบ
O-NET
ตามที่ทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) โดยทุกคน ทำได้ถูกต้องตามขั้นตอน มีผลคะแนนแสดงออกมาทุกคน
4.
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการคิดวิเคราะห์
ในการเชื่อมโยงความคิดในการทำ
แบบทดสอบที่ครูนำมาให้ทดลองทำ มากกว่าร้อยละ 70 สามารถคิด วิเคราะห์
เชื่อมโยงความสัมพันธ์
ได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
มีความเข้าใจและรู้หลักการทำข้อสอบ
และมีเทคนิคการทำข้อสอบ O-NET
5.
โรงเรียนมีผลคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้ จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น
พื้นฐาน
(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มากกว่าร้อยละ 50 จำนวน 1 กลุ่มสาระจาก
4 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ดังตารางผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐาน (NT)
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ การเรียนรู้ |
ค่าเฉลี่ย |
ผลการเปรียบเทียบ |
|||||
ปี 2560 |
ปี 2561 |
||||||
ระดับ โรงเรียน |
ระดับ สังกัด |
ระดับ ประเทศ |
ระดับ โรงเรียน |
ระดับ สังกัด |
ระดับ ประเทศ |
||
ภาษาไทย |
52.02 |
48.57 |
46.58 |
61.79 |
57.71 |
55.90 |
สูงขึ้น |
คณิตศาสตร์ |
38.33 |
37.41 |
37.12 |
45.85 |
37.43 |
37.50 |
สูงขึ้น |
วิทยาศาสตร์ |
40.37 |
39.84 |
39.12 |
46.25 |
40.17 |
39.93 |
สูงขึ้น |
ภาษาอังกฤษ |
40.14 |
36.99 |
36.34 |
47.59 |
41.11 |
39.24 |
สูงขึ้น |
เฉลี่ย |
42.72 |
40.70 |
39.79 |
50.37 |
44.11 |
43.14 |
สูงขึ้น |
ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐาน
(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ความสามารถด้าน |
ค่าเฉลี่ย |
ผลการเปรียบเทียบ |
|||||
ปี 2560 |
ปี 2561 |
||||||
ระดับ โรงเรียน |
ระดับ สังกัด |
ระดับ ประเทศ |
ระดับ โรงเรียน |
ระดับ สังกัด |
ระดับ ประเทศ |
||
ภาษา |
63.24 |
56.50 |
52.67 |
67.95 |
54.30 |
53.18 |
สูงขึ้น |
คำนวณ |
48.00 |
37.81 |
37.75 |
57.88 |
44.49 |
47.19 |
สูงขึ้น |
เหตุผล |
52.51 |
47.50 |
45.31 |
59.93 |
49.15 |
48.07 |
สูงขึ้น |
เฉลี่ย |
54.58 |
47.27 |
45.25 |
61.92 |
49.31 |
49.48 |
สูงขึ้น |