สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
หนึ่งห้องเรียน หนึ่งภูมิปัญญา สู่วิชาชีพ
โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
กระบวนการพัฒนา

1. ประชุมคณะครูวางแผนกำหนดแนวทางการดำเนินงาน

2. ครูประจำชั้นสำรวจภูมิปัญญาสู่วิชาชีพกับผู้ปกครองแต่ละระดับชั้น

3. ครูประจำชั้นกับผู้ปกครองที่เป็นภูมิปัญญากำหนดการสอนวิชชีพให้กับนักเรียน

4. ผู้บริหารสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการ

5. ผู้ปกครองภูมิปัญญาของแต่ละห้องเรียนดำเนินการสอนนักเรียนแต่ละระดับชั้น

            ได้แก่    1. ระดับอนุบาล                        สอนการทำชูชิ          

                      2. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1     สอนการทำมาร์ชเมลโล่ฟองดู

                      3. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2       สอนการทำมาร์ชเมลโล่ฟองดู

                      4. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3       สอนการทำขนมลืมกลืน

                      5. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4       สอนการทำขนมลืมกลืน

                      6. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5       สอนการทำข้าวต้มมัด

                      7. ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6       สอนการทำข้าวต้มมัด

6. จัดแสดงสาธิตของภูมิปัญญาสู่วิชาชีพ โดยเป็นฐานการเรียนรู้ให้นักเรียนแต่ละระดับชั้นได้เรียนรู้การประกอบอาหารโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น

7. มอบเกียรติบัตรให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละระดับชั้นเพื่อแสดงความขอบคุณและเสริมสร้างความภูมิใจให้กับผู้ปกครอง

8. ประเมินผลการดำเนินงาน ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน/ผู้ปกครองสรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ






ผลจากการปฏิบัติ

1. โรงเรียนได้รับความร่วมมือกับผู้ปกครองที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นอย่างดี

2. คณะครูและผู้ปกครองได้ดำเนินงานร่วมกันมีการประสานงานและมีความสัมพันธ์ที่ดีในการร่วมกันสอนนักเรียนได้เรียนรู้วิชาชีพ

3. นักเรียนได้เรียนรู้สู่วิชาชีพที่หลากหลายมีความสนุกกับการเรียนรู้ได้ปฏิบัติจริง

4. นักเรียนมีทักษะกระบวนการในการทำงานตามศักยภาพของแต่ละระดับชั้น

5. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง 

6. นักเรียนมีทักษะชีวิตด้านทักษะวิชาชีพสามารถนำความรู้และทักษะกระบวนการทำงานไปบอกเล่าให้ผู้ปกครองตนเองทราบหรือสามารถนำไปทำให้ผู้ปกครองรับประทานได้เป็นการเริ่มต้นสู่วิชาชีพได้