สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
Be healthy @ อยู่เป็นสุข
โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
กระบวนการพัฒนา

1.   ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน วางแผนปฏิบัติงานและมอบหมายงาน

2.   เก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำสถิติ

3.   จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของโครงการ

4.   ส่งหนังสือเชิญผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มเป้าหมายให้มาร่วมกิจกรรมตามโครงการ

5.   จัดกิจกรรมตามโครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

          กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ “Be healthy @ อยู่เป็นสุข”

                มีวัตถุประสงค์  เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากร รวมถึงผู้ปกครอง  สามารถนำความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ และการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมไปขยายภาคีเครือข่ายในชุมชนต่อได้ มีความรู้เรื่องการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคอ้วน และสร้างสรรค์สื่อการรณรงค์ป้องกันเกี่ยวกับโทษและอันตรายของโรคอ้วน  การปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพดีห่างไกลโรคอ้วน ในเด็กประถมศึกษา  โดยการมีส่วนร่วมของครู บุคลากร ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1. ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

-       ครูให้ความรู้แก่นักเรียนแกนนำกลุ่ม เป้าหมายในเรื่อง 3 อ. เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องโทษและอันตรายของโรคอ้วน และเชิญ เจ้าหน้าที่จากศูนย์อนามัย  57  มาให้ความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อให้นักเรียนแกนนำ นำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลยังภาคีเครือข่ายต่อไป นำเสนอโดยใช้  Ms. Power point และให้นักเรียนแกนนำมีส่วนร่วมในการคิดเกมการแข่งขัน ในเรื่อง  ฉลากไฟจราจรโดยผ่านเกมโบว์ลิ่ง 3 สี และเกมแคลอรีสะเทือน

-       กิจกรรมเสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่อง 3 อ. โดยให้นักเรียนแกนนำประชาสัมพันธ์ในตอนเช้า กลางวัน และหลังเลิกเรียนของทุกๆ วัน

-       เดินรณรงค์ในชุมชนโดยใช้โปสเตอร์  ไวนิล แผ่นพับประกอบการเดินรณรงค์

-       ให้นักเรียนทำแผ่นพับในเรื่อง “3 อ.” และการปฏิบัติตนเพื่อให้ห่างไกลจากโรคอ้วนและนำ แล้วนำไปให้ผู้ปกครองอ่าน  พร้อมลงชื่อกำกับก่อนนำมาส่งครู

-       ประชุมนักเรียนแกนนำ ครูและบุคลากรทางการศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง ประชาชนในชุมชน เพื่อวางแผนการดำเนินการขยายเครือ ข่ายไปสู่ชุมชนร่วมกัน

2.   ติดตาม/ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน

3.   ประเมิน/ สรุปผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม Be healthy food @ อยู่เป็นสุข

                มีวัตถุประสงค์  เพื่อส่งเสริมด้านความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารให้ถูกต้อง ลดอาหารหวาน มัน เค็ม รับประทานผักและผลไม้มากขึ้น สร้างสรรค์สื่อการรณรงค์ป้องกันเกี่ยวกับโทษและอันตรายของโรคอ้วน การปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพดีห่างไกลโรคอ้วน ในเด็กประถมศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของครู บุคลากร ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1.   ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

-          ส่งเสริมการรับประทานผักและ ผลไม้ โดยปรับเมนูอาหารในโครงการอาหารกลางวันเพิ่มปริมาณผัก และผลไม้ ทุกมื้ออาหาร จัดผลไม้ตามฤดูกาลแทนขนมหวาน ตลอดทั้งสัปดาห์

-          ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติทำอาหาร โดยใช้ผักและผลไม้เป็นหลัก ดังนี้

?  สลัดแขกดี be healthy

?  ตึง ตะลึง ตำลึง be healthy

?  ร้อยผล คนดี be healthy

?  พุดดิ้ง be healthy

?  ขาวสด be healthy

?  be healthy mulberry  tea

?  Cha Bi Toei be healthy

-          ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ในสวนบริเวณโรงเรียน เช่น ต้นหม่อน ตะไคร้ ดอกอัญชัน ใบเตย ใบกะเพรา ตำลึง ต้นแค โดยให้นักเรียนแกนนำเป็นผู้รับผิดชอบ

-          นำผักที่ได้มารับประทาน และจัดส่งจำหน่ายให้กับโรงอาหารโดยผ่านร้านสหกรณ์ของโรงเรียน

-          ให้นักเรียนและผู้ปกครองร่วมกันคิดสูตรอาหาร “Great food, Good  health” ถ่ายคลิปวีดีโอและนำมาประกวด ตัดสินโดยการกดถูกใจจากนักเรียน

-          ให้นักเรียนในเครือข่ายแข่งขันทำอาหารในหัวข้อ “Thai dessert, First selection” โดยให้ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน

-          จัดทำไวนิลภาพ “Thai dessert, First selection” ที่นักเรียนชนะการประกวดไปติดแสดงบริเวณโรงอาหารของโรงเรียน

-          นำวีดีโอการประกวด “Great food, Good  health” ไปบูรณาการกับการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ

2.   ติดตาม/ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน

3.   ประเมิน/ สรุปผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม Healthy Exercise @ อยู่เป็นสุข

                มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สร้างสรรค์สื่อการรณรงค์ป้องกันเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพดีห่างไกลโรคอ้วน ในเด็กประถมศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของครู บุคลากร ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายในชุมชน ให้นักเรียน ครูและบุคลากร รวมถึงผู้ปกครอง  สามารถนำความรู้เรื่องการการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมไปขยายภาคีเครือข่ายในชุมชน และสามารถเลือกปฏิบัติตนให้มีน้ำหนักและส่วนสูง ตามเกณฑ์ มาตรฐาน มีพัฒนา การสมวัย และมีสุขภาพดีได้  โดยมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1.   ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

-  ครูพลศึกษาและนักเรียนแกนนำ จำนวน 30 คน ร่วมกันออกแบบกิจกรรมทางกาย

-  ครู นักเรียนแกนนำ และผู้ปกครอง  ร่วมกันผลิตสื่อเพลง “ยึดหลัก 3 อ.” โดยใช้ทำนองเพลงฮิตในปัจจุบันมาดัดแปลงเนื้อหาที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และออกแบบท่าเต้นประกอบโดยใช้ท่ามวยไทยโบราณ “ปันจักสีลัต” ผสมผสานกับท่าลิเกฮูลู และเพลง “รู้เท่าทันสื่อ” โดยใช้ท่าประกอบการออกกำลังกายแบบ “คาร์ดิโอ”

-  นักเรียนแกนนำทำกิจกรรมในทุก ๆ วันบนเวทีของลานอเนกประสงค์  เริ่มกิจกรรมทาง

    กาย ภายหลังกิจกรรมประจำวันหน้าเสาธง โดยกิจกรรม Be healthy exercise สไตล์อยู่

    เป็นสุข ทุกวันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์ วันละ 30 นาที โดยใช้เพลง “ยึดหลัก 3 อ.”และ

    เพลง“รู้เท่าทันสื่อ” เป็นเวลา 4 เดือน (ธันวาคม 61– มีนาคม 62)

-          กิจกรรม Be healthy time ยามบ่ายทุกห้องเรียนเวลา 14.00 น. โดยใช้เพลง Upensuk shake (ทำนองเพลง baby shark)

-          ทำการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกผลเพื่อเก็บข้อมูลโดยนักเรียนมีสมุดบันทึกประจำตัวเป็นรายบุคคลโดยเริ่มครั้งแรก วันที่ 30 ธ.ค.61 และบันทึกครั้งต่อไปในสิ้นเดือน มกราคม – มีนาคม 62

-          จัดทำข้อมูลพัฒนาการของนักเรียนทุกคนพร้อมแจ้งผลให้นักเรียนทราบทุกสิ้นเดือน

-          สรุปผลข้อมูลการพัฒนาของนักเรียนที่ได้จากการออกกำลังกายและจัดลำดับของนักเรียนที่น้ำหนักลดได้มากที่สุดมอบรางวัลในวันจัดนิทรรศการ

-          ขยายผลไปยังนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและโรงเรียนเครือข่ายให้มากที่สุด

2.   ติดตาม/ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน

3.   ประเมิน/ สรุปผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม Be healthy mood @ อยู่เป็นสุข

                มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากร รวมถึงผู้ปกครอง  สามารถนำความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ  ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ และการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมไปขยายภาคีเครือข่ายในชุมชนต่อได้ มีความรู้เรื่องการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคอ้วน และสร้างสรรค์สื่อการรณรงค์ป้องกันเกี่ยวกับโทษและอันตรายของโรคอ้วน  การปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพดีห่างไกลโรคอ้วน ในเด็กประถมศึกษา  โดยการมีส่วนร่วมของครู บุคลากร ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายในชุมชน โดยมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1.   ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

-   แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มโดยใช้วิธีคละห้อง เรียนทั้งหมด 5 กลุ่ม

-   ปฐมนิเทศชี้แจงขั้นตอนรายละเอียดในการเข้าค่ายเรียนรู้แบบเวียนฐาน ฐานละ 40 นาที

-   ใช้สื่อประจำฐานและดำเนินการในแต่ละฐานประกอบด้วย

-       จัดทำสื่ออุปกรณ์

-       ทำไวนิลกติกาขั้นตอนการเล่น

-       สาธิตกฎกติกาการเล่น และขั้นตอนการเล่นให้นักเรียนทราบ

-       ให้นักเรียนเล่นกิจกรรมตามกติกา

-       ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลโดยใช้กิจกรรมถามและตอบ

ฐานกิจกรรม Be healthy mood ประกอบด้วย

? ฐาน โรงเรียนน่าอยู่ ครูจัดให้

? ฐาน ผลไม้หุ่นดี

? ฐาน หน้ากากหรรษา

2. ติดตาม/ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน

3. ประเมิน/ สรุปผลการดำเนินงาน

กิจกรรมที่ 5 จัดนิทรรศการ Be healthy @ อยู่เป็นสุข road show

มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสรุปองค์ความรู้ของโครงการให้เข้าใจและปฏิบัติตามความรู้ที่ได้รับจากการกิจกรรมในโครงการ  เป็นการขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมให้กับนักเรียน ผู้ปกครองชุมชน และโรงเรียนเครือข่าย เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน โดยมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1. การแสดงโชว์ โรงเรียนน่าอยู่ ครูจัดให้

2. การแสดงโชว์ คาร์ดิโอ แดนซ์

3. มอบรางวัลและเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่ชนะการประกวดการทำอาหาร และโรงเรียนเครือข่าย

4. แสดงผลงานของโครงการ

5. จัดซุ้มนิทรรศการให้ความรู้ ตามฐานต่างๆ ดังนี้

5.1 ฐาน Be healthy food

-       ให้ความรู้ด้านอาหารกับสุขภาพ

-       ให้ความรู้เกี่ยวกับฉลากโภชนาการ

-       ให้ความรู้เรื่องสื่อโฆษณาชวนเชื่อ

ประกอบด้วย

? ฐาน Mulberry crispy roll

? ฐาน Great food, Good health

? ฐาน Thai dessert, First selection

5.2 ฐาน Be healthy Exercise

-    ให้ความรู้ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกายกับสุขภาพ

ประกอบด้วย

? ฐานโบว์ลิ่งสลายไขมัน

? ฐานเลขแปดสามัคคี

? ฐานส่งบอลนี้หุ่นดีแน่นอน

5.3 ฐาน Be healthy mood

-    ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะการจัดการอารมณ์ควบคุมอารมณ์อย่างมีเหตุผล

ประกอบด้วย

? ฐานโรงเรียนน่าอยู่ ครูจัดให้

? ฐานผลไม้หุ่นดี

? ฐานหน้ากากหรรษา

2. ติดตาม/ ตรวจสอบผลการดำเนินงาน

3. ประเมิน/ สรุปผลการดำเนินงาน


ผลจากการปฏิบัติ

        1. ในการดำเนินกิจกรรมให้ความรู้ “Be healthy @ อยู่เป็นสุข คณะผู้ดำเนินโครงการได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากผู้เข้ารับการอบรมตามตาราง ต่อไปนี้

         ตารางที่ 1 ร้อยละของจำนวนกลุ่มเป้าหมายและจำนวนผู้เข้ารับการอบรม หัวข้อ “ รู้เท่าทันสื่อ”

 

รายละเอียด

จำนวนกลุ่มเป้าเหมาย

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

นักเรียน

520

480

ครู

34

34

ผู้ปกครอง/ประชาชน

566

420

รวม

1,120

934

ร้อยละ

100.00

83.39

 

          จากตารางที่ 1 พบว่า ผู้เข้าอบรมทั้งหมด 934 คน แบ่งเป็นนักเรียน 480คน ครู 34 คน ผู้ปกครอง/ประชาชน 420 คน หลังจากการอบรมให้ความรู้นักเรียน ครู ผู้ปกครองและประชาชน คิดเป็นร้อยละ 83.39 ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ในห้องเรียน เพื่อขยายผลไปยังนักเรียน ครู ผู้ปกครองในระดับชั้นอื่น

          2. ในการดำเนินกิจกรรม Be healthy food @ อยู่เป็นสุข นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คิดเป็นร้อยละ 83.39 ที่เข้าร่วมกิจกรรม Be healthy food @ อยู่เป็นสุข มีความตระหนักและมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้)

          3. ในการดำเนินกิจกรรม Be healthy exercise @ อยู่เป็นสุข นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คิดเป็นร้อยละ 83.39 ที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เกิดความสนุกสนานผ่อนคลายกับกิจกรรมขยับกายสบายชีวาตามความสนใจของนักเรียน มีการเผยแพร่สื่อจากโรงเรียนสู่บ้านและชุมชน

          4. ในการดำเนินกิจกรรม Be healthy mood @ อยู่เป็นสุข นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คิดเป็นร้อยละ 83.39  มีความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายให้มีสุขภาพดี มีการคิดวิเคราะห์ในการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไม่ทำให้อ้วน มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาต่างๆ

          5. การจัดนิทรรศการ Be healthy @ อยู่เป็นสุข road show เป็นการสรุปองค์ความรู้ของโครงการให้เข้าใจและปฏิบัติตามความรู้ที่ได้รับจากการกิจกรรมในโครงการ เพื่อขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมให้กับนักเรียนผู้ปกครองและชุมชนนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คิดเป็นร้อยละ 83.39 ที่เข้าร่วมชมนิทรรศการ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีและนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์และการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]