สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์
กระบวนการพัฒนา

โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการดำเนินโครงการ/กิจกรรมอย่างหลากหลายได้แก่โครงการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยการนำบริบทท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมศึกษามาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร โดยจัดให้มีรายวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา ในรายวิชาเพิ่มเติมของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษา และพัฒนาเป็นนวัตกรรมของโรงเรียนจัดทำรายวิชาเพิ่มเติมโดยให้นักเรียนเรียนตามความถนัดและความสนใจ อาทิเช่น วิชาดนตรี กีฬา การจัดสวนถาด  คณิตศาสตร์  งานช่างไฟฟ้า  ช่างเสริมสวยกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับ หน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาส ให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมได้ลง มือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพ  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน โดยจัดกิจกรรมร่วมกับวิทยาลัยดุสิตธานี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและมีทักษะอาชีพเช่น การจัดดอกไม้ การทำอาหารว่าง การผลิตเครื่องดื่ม  การพับผ้าเป็นรูปต่างๆ จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน การเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสะเต็มศึกษา


ผลจากการปฏิบัติ

    ครูมีหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่ได้รับการตรวจสอบทบทวนทุกปี มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยมีโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา  มีรายวิชาเพิ่มเติมในระดับมัธยมตอนต้น เช่น  วิชาดนตรีกีฬา การจัดสวนถาด  คณิตศาสตร์ งานช่างไฟฟ้า  ช่างเสริมสวยตามศักยภาพและความถนัดสนใจ ครูมีการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้เทคนิควิธีการที่หลากหลาย เช่น 7 STEP,STEM , Active learningโดยผู้เรียนมีส่วนร่วมและทักษะการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น และมีองค์ความรู้

    ครูสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้ วิทยากร และเทคนิคใหม่ๆ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบันและฝึกฝนให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย  ครูเกิดความตระหนักในเรื่องการสร้างบรรยากาศที่เอื้อและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน มีการจัด ชั้นเรียนให้เหมาะสมกับวัย เน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกทำให้นักเรียนมีความสุขกับการเรียนส่งผล ให้รักการเรียน ครูมีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม ประเมินผลอย่างเป็นระบบทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน ใช้เครื่องมือและวิธีการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น การทดสอบ การประเมินผลงานหรือชิ้นงาน การตรวจสมุด แฟ้มพัฒนางาน การลงมือปฏิบัติและการสังเกตพฤติกรรม เป็นต้น ผู้เรียนและผู้ปกครองได้รับการแจ้งผลการเรียนให้รับทราบทุกภาคเรียน เพื่อนำผลมาวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ครูทุกคนทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ เรื่อง และสอนซ่อมเสริม เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ดีจะช่วยเหลือผู้เรียนที่เรียนรู้ได้ช้า ครูและบุคลากรนำผลการอบรมและการนิเทศการเรียนการสอน มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สามารถเชื่อมโยงความรู้สู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน