สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
โครงการธนาคารขยะ (Recycle)
โรงเรียนมนต์จรัสสิงห์อนุสรณ์
กระบวนการพัฒนา

 1.  ขั้นเตรียมการ

    -  เสนอแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการ/กิจกรรมและจัดสรรงบประมาณ
    -  ประชุมคณะครูเพื่อชี้แจงวางแผนการดำเนินการ/กิจกรรม
    -  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
2. 
ขั้นดำเนินการ
    -   การกำหนดวันในการจัดกิจกรรมเพื่อในลงปฎิทินดำเนินงานของสถานศึกษาและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
      
กิจกรรมรอบที่ 1 สร้างจิตสำนึกและวินัยในการจัดการขยะมูลฝอย ดังนี้
          -   กิจกรรมให้ความรู้ 3ช ใช้น้อย ใช้ช้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ (ลดปริมาณ/คัดแยก/นำกลับมาใช้ประโยชน์)                                     
          -   ตั้งภาชนะรองรับแบบแยกประเภท ส่งเสริมการคัดแยกขยะ
          -   ส่งเสริม และสนับสนุน เลิกการใช้ถุงพลาสติก และโฟม
          -   รณรงค์ให้ใช้ถุงผ้า หรือ ภาชนะที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ

       กิจกรรมรอบที่ 2 จัดกิจกรรมลดปริมาณขยะ การคัดแยก และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ดังนี้
          - 
Big Cleaning Day
          -  ธนาคารขยะ (
Recycle)
          -  ขยะแลกของ
       กิจกรรมรอบที่ 3 จัดกิจกรรมรณรงค์   การสร้างจิตสำนักและวินัยในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน ดังนี้                                                                                            -  ประชาสัมพันธ์รณรงค์วิธีการนำขยะมาใช้ประโยชน์
          -  ปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียนและรอบโรงเรียน
          -  ผลิตสิ่งของจากขยะรีไซเคิลให้แก่ชุมชนและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชุมชน
3.  ขั้นประเมินผล
   
-   กำกับ ติดตามการดำเนินงานกิจกรรม
    -   สรุปผลและประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม
    -   รายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรม แบ่งออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
       -   กิจกรรมรอบที่ 1
       -   กิจกรรมรอบที่ 2
       -   กิจกรรมรอบที่ 3
4. 
ขั้นปรับปรุงแก้ไข
   
- รับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องเป็นแนวทางในการดำเนินงาน/พัฒนางานต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

สรุปผลการดำเนินโครงการธนาคารขยะ (Recycle)

  1. ข้อมูลการคัดแยกขยะในห้องเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ห้องเรียนทุกระดับชั้นมีการคัดแยกขยะ จำนวน 11 ห้อง (ร้อยละ 100)
  2. ข้อมูลจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ระดับชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ห้องเรียนทุกระดับชั้นเข้าร่วมโครงการ จำนวน 11 ห้อง (ร้อยละ 100) 
  3. ผลสำเร็จจากการร่วมโครงการธนาคารขยะ ประจำปีการศึกษา 2562 เฉลี่ยรวมในกิจกรรม/โครงการครั้งนี้ คิดเป็นร้อยละ 99.23 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม  
      3.1  นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี คิดเป็นร้อยละ 95.30 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
      3.2. นักเรียนสามารถคัดแยกขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไปในห้องเรียน 
คิดเป็นร้อยละ 95.52 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
      3.3  นักเรียนสามารถคัดแยกขยะแต่ละประเภทได้ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ  84.48 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
      3.4  นักเรียนเห็นคุณค่าของขยะที่ใช้แล้ว และสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่  คิดเป็นร้อยละ  95.41 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
      3.5  นักเรียนมีจิตสาธารณะในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 94.36 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
      3.6  นักเรียนสามารถนำขยะรีไซเคิลมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าได้ คิดเป็นร้อยละ 91.88 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
      3.7 นักเรียนสามารถอธิบายถึงประโยชน์ และผลเสียจากการคัดแยกขยะ คิดเป็นร้อยละ 94.25 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
      3.8 นักเรียนมีความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใน และภายนอกโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 95.69 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
      3.9 นักเรียนสามารถนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ คิดเป็นร้อยละ 98.90 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม 
      3.10  นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับครอบครัว และชุมชน คิดเป็นร้อยละ 99.23 ระดับคุณภาพดีเยี่ยม


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]