การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา
(ไทย-จีน) ของโรงเรียนวัดราชผาติการารม โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-C-A
ในการดำเนินงาน และใช้ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement
Theory) ตามเทคนิค 5 ใจ (ให้ใจ ได้ใจ ประสานใจ ให้กำลังใจ
และดูแลรักษาใจ) ด้วยการมุ่งเน้นผลผลิต (Output)
ที่ตัวนักเรียนเป็นสำคัญ ทำให้การดำเนินการบริหารจัดการศึกษาบรรลุตามเป้าหมายมีรายละเอียดของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา
(ไทย-จีน) ดังนี้
1. ผู้บริหาร
ครูไทย และครูจีนร่วมกันวางแผนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนหลักสูตรสองภาษา
(ไทย-จีน) โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงาน กำหนดโครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียนหลักสูตรโรงเรียนสองภาษา
(ไทย-จีน)
2. ครูไทยและครูจีนร่วมกันจัดทำหลักสูตรโรงเรียนสองภาษา
(ไทย-จีน) โดยยึดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
3. ครูไทย
และครูจีนร่วมกันพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ร่วมกันจัดทำแผนการสอน
และร่วมกันนิเทศการสอนแล้วนำผลการนิเทศการสอนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมกันพัฒนา
4. ส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาจีน
ผ่านการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง โดยนักเรียนเสนอคำศัพท์และตัวอย่างคำศัพท์และประโยครวมถึงบทสนทนาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
5. พัฒนาข้าราชการครูไทยให้มีความรู้ทางทักษะภาษาจีนโดยครูได้รับการอบรมจากสถาบันขงจื่อ
โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และครูผู้สอนเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม
ณ เมืองเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน
6. โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษาจีน
ผ่านกิจกรรรมชมรม กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม
กิจกรรมการแข่งขันทักษะทางภาษาจีน และกิจกรรมวันตรุษจีน เป็นต้น
7. ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาจีน
เช่น การแข่งขันทักษะทางภาษาจีน สถาบันนานมี
นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันโครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมเมืองพี่ เมืองน้อง กรุงเทพมหานคร
การเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางภาษาจีนของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
รวมถึงกิจกรรมต่างๆ
8. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครูไทยและครูจีน
เช่น กิจกรรมสร้างขวัญและกำลังใจ กิจกรรมสัมมนา กิจกรรมBuddy เป็นต้น
1. 1. ปีการศึกษา 2562 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดราชผาติการาม
ที่มีคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ทั้ง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2. 2. เด็กหญิงกีรติภรณ์
กิมบัวตัน ตัวแทนนักเรียนกรุงเทพมหานคร ได้รับรางวัลการเข้าร่วมการแข่งขันการกล่าวสุนทรพจน์ภาษาจีน
เหรียญเงิน โครงการการแข่งขันทักษะวิชาการและการจัดมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น
ระดับประเทศครั้งที่ 11 ณ จังหวัดร้อยเอ็ด
3. เด็กหญิงปวีณา
โคหนองบึง นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเด็กหญิงทิพย์มงคล มงคลไทย
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนกับเมืองพี่เมืองน้องของกรุงเทพมหานคร
ประจำปี 2563 ณ เมืองต้าเหลียน สาธารณรัฐประชาชนจีน
4 4. ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่
๑ การแข่งขันร้องเพลงภาษาจีน (ระดับชั้น ป.4-6) จากการแข่งขันทักษะทางภาษาจีน
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
5. 5. ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่
๒ การแข่งขันพูดนำเสนอภาษาจีน (ระดับชั้น ป.4-6) จากการแข่งขันทักษะทางภาษาจีน
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
6 6. ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่
๓ การแข่งขันแสดงละครภาษาจีน (ระดับชั้น ป.4-6) จากการแข่งขันทักษะทางภาษาจีน
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร