ส่งเสริมการเรียนการสอนดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน
1. หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะด้านดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนักเรียนในแต่ละระดับชั้นจะกำหนดเครื่องดนตรีที่สามารถสอนปฏิบัติให้นักเรียนเล่นได้ทุกคนอย่างน้อย 1 ชนิด และกำหนดเพลงพื้นฐานที่สามารถทำการสอนภาคปฏิบัติได้
2. หน่วยงานหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและให้การสนับสนุน
ผู้บริหารสถานศึกษา ได้กำหนดความสามารถด้านดนตรีไทยไว้ในวิสัยทัศน์ของโรงเรียนรวมทั้งได้กำหนดความสามารถในการเล่นดนตรีของนักเรียนแต่ละระดับชั้น เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน
กรรมการสถานศึกษา เป็นผู้สนับสนุนและให้แนวคิดในการพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีให้กับนักเรียน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เปิดการสอนหลักสูตรโรงเรียนการดนตรีกรุงเทพมหานครในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งนักเรียนโรงเรียนวัดใต้ (ราษฎรนิรมิต) ได้รับคัดเลือกและได้เข้าเรียนในหลักสูตรนี้ ด้านระนาดทุ้ม กลองแขกและฆ้องวงใหญ่
ชุมชน มีครูภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนได้ร่วมเป็นครูสอนดนตรีไทยพื้นบ้าน (กลองยาว) ให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดใต้(ราษฎรนิรมิต)
อื่นฯ (สมาคม-มูลนิธิ) มูลนิธิโรงเรียนวัดปากบ่อ และสำนักงานเขตสวนหลวง ได้ให้การสนับสนุนนักเรียนโรงเรียนวัดใต้(ราษฎรนิรมิต) ไปแสดงผลงานทางด้านดนตรีไทย (กลองยาวพื้นบ้าน) อย่างต่อเนื่อง
3. ครูผู้สอนดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน
- ครูประจำการ สอนวิชาดนตรีไทย นายดิเรก พนมมา ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.1
- ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 2 ท่าน คือ นายกรีทากร แสงสกุล สอนวิชาดนตรีไทย และนายสวาท พึ่งแก้ว ครูสอนกลองยาวพื้นบ้าน
1. ผู้เรียนเกิดสุนทรียภาพ มีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีสมาธิ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2. นักเรียนเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมอันมรดกทางภูมิปัญญาของคนไทย
3. นักเรียนสามารถค้นพบศักยภาพตามความถนัดและความสนใจของตนเอง มีความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
4. นักเรียนระดับชั้น ป.1 - ม.3 บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถเล่นเครื่องดนตรีไทยได้ทุกคนอย่างน้อย 1 ชนิด
5. นักเรียนระดับชั้น ป.1 - ม.3 บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถบรรเลงเพลงพื้นฐานตามที่กำหนดได้
6. โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม