ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปีการศึกษา 2563
หลักการ/แนวคิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงการรู้จักพึ่งตนเอง ความพอประมาณ พอมีพอกิน พอมีพอใช้ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผนตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ควรจะเป็น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การวางรากฐานการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับทุกคนในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ ซึ่งสำนัก โดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดกลยุทธ์การปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึก ในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งนโยบายในการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 (พ.ศ.2552 – 2561) ซึ่งมุ่งเน้นการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น จากหลักการดังกล่าว ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำ “โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ด้วยโรงเรียนวัดทองศาลางามเป็นโรงเรียนเกษตรปลอดสารพิษของเขตภาษีเจริญ เป้าหมายส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนรักความพอพียง มีวิถีชีวิตในแบบไทย ดูแลสิ่งแวดล้อม
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้มีแหล่งการเรียนรู้ในจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานในการจัดการเรียนการสอน
3. เพื่อส่งเสริมให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
4. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. เพื่อให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. เป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ
3.1.1 นักเรียน ร้อยละ 80 ของครูและนักเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้และใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.2 เชิงคุณภาพ
โรงเรียนวัดทองศาลางามสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ระยะเวลา
1 กรกฎาคม 2563 – 9 เมษายน 2564
5. สถานที่ดำเนินการ โรงเรียนวัดทองศาลางาม
ตัวชี้วัด
1. การดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ประโยชน์และการยอมรับสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผลงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่เป็นที่ยอมรับ
4. ระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงาน
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลการดำเนินกิจกรรม โครงการเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ชุมชนและสังคม
มีการดำเนินงานเพื่อให้ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ชุมชน
และสังคมมีความรู้ความเข้าใจตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
บูรณาการในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ก่อให้เกิดความตระหนักและฝังรากลึกภายในตนเองอย่างยั้งยืน
7. แนวทางการดำเนินกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
1. กำหนดนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษาและบูรณาการในแผนปฏิบัติราชการประจำปี
2. โรงเรียนวัดทองศาลางามจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินงานตามโครงการ
3. การวางแผนการปรับปรุงและพัฒนาโครงการทุกปี
4. การวางแผนการนิเทศติดตามและการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
ขั้นดำเนินการ
1. สร้างความรู้ความเข้าใจ
การพัฒนาศักยภาพ ครูและนักเรียนเพื่อพัฒนาสถานศึกษาพอเพียง
2. ดำเนินการตามนโยบายและแผนพัฒนาประจำปี
ที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
3. จัดให้มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการบูรณาการในทุกกลุ่มสาระและทุกระดับชั้น
4. มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล
การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน
5. มีการศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการบูรณาการเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระทุกระดับชั้นอย่างมีคุณภาพ
7. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระโดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
8. จัดหา/ผลิต/ใช้/เผยแพร่
แหล่งการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้
เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอน
9. ใช้แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน
ที่ส่งเสริมการเป็นอยู่อย่างพอเพียงของผู้เรียน
10. จัดทำ/ใช้เครื่องมือ
วัดและประเมินผลที่หลากหลาย
และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นตรวจสอบประเมินผล
1. นิเทศ
ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
ขั้นสรุปและรายงาน
1. นำผลการติดตามมาพัฒนา ปรับปรุง นโยบาย/แผนงาน/โครงการ
นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมามาขับเคลื่อนในสถานศึกษา
2. รายงานผลการประเมินและนำมาปรับปรุงพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. จัดแสดง/เผยแพร่/ประกวด/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลงานของนักเรียนที่เกิดจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
8. การบรรลุตัวชี้วัด
1. โรงเรียนวัดทองศาลางามดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตาม
แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. การดำเนินกิจกรรมสถานศึกษาพอเพียงได้รับการยอมรับเป็นแบบอย่างของสถานศึกษา
พอเพียงตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผลงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเผยแพร่เป็นที่ยอมรับ
4. มีระยะเวลาในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องทุกปี
5. ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
9. ปัญหาและอุปสรรค
1. การจัดการเรียนรู้/ลงมือปฏิบัติ อาจขาดความต่อเนื่อง และการสื่อสารทางการเรียน
ออนไลน์บางครั้งไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด
ของไวรัสโคโร่น่า 2019
2. ครู บุคลากรเข้าใจคลาดเคลื่อนในการถอดบทเรียนตามธรรมชาติวิชาของตนเองไม่
สามารถถอดบทเรียน ได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
10. ข้อเสนอแนะ
1. การดำเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เป็นฐานการเรียนรู้ให้เหมาะกับผู้เรียนเพื่อสามารถถอดบทเรียนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ตรงตามเป้าหมายตรงตามศักยภาพของผู้เรียน
2. จัดกิจกรรมกระตุ้นความตระหนักในการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง
3. ควรมีการพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปใช้ในการถอดบทเรียนและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน
1. โรงเรียนวัดทองศาลางามดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตาม
แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. การดำเนินกิจกรรมสถานศึกษาพอเพียงได้รับการยอมรับเป็นแบบอย่างของสถานศึกษา
พอเพียงตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ผลงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเผยแพร่เป็นที่ยอมรับ
4. มีระยะเวลาในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องทุกปี
5.
ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน