สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
นวัตกรรมกระบวนการเพื่อการสร้างวินัยเชิงบวกแก่ผู้เรียน
โรงเรียนวัดสุขใจ
กระบวนการพัฒนา

 (P:ขั้นวางแผน)

1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรร่วมประชุมวางแผนการดำเนินงาน

2. ครูผู้เข้ารับการอบรมโครงการมาร์ชชิ่งความดีนำเสนอรายละเอียดให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรรับทราบ

3. จัดทำคำสั่งการดำเนินงาน

4. วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและข้อจำกัด (swot) พร้อมกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องนโยบาย วิสัยทัศน์ หรือพันธกิจของโรงเรียน

(D: ขั้นดำเนินงาน) 

ดำเนินการเพื่อการสร้างวินัยเชิงบวกแก่ผู้เรียน SUKJAI MODEL ตามกิจกรรมตามที่กำหนดตลอดปีการศึกษา

โดยยึดหลัก 4  ปลดล็อค  ปรับใช้  ปรับปรุง  ประเมินผล ในการดำเนินงาน

(C: ขั้นติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผล)

๖. ประเมินผล จากการดำเนินกิจกรรม

7. ตรวจสอบ กำกับ นิเทศติดตามทุกขั้นตอน

๘. รวบรวมสรุปผลข้อมูล  เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด

(A: ขั้นพัฒนา แก้ไข /  ปรับปรุง)

๙. นำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไข โดยตรวจสอบกิจกรรมที่ควรปรับปรุง  และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

 

 




ผลจากการปฏิบัติ

1. โรงเรียนพัฒนาระบบและกระบวนการสร้างวินัยเชิงบวกแก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาวินัยเชิงบวกอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

3. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรและสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม