๑) สร้างความตระหนัก เชื่อมั่น และศรัทธา
สร้างความตระหนัก เชื่อมั่น และความศรัทธาให้เกิดในกลุ่ม ๔ กลุ่ม คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน การบริหารสถานศึกษา และการร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อเกิดความรักและมีความคิดที่เป็นหนึ่งเดียว โดยการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและยอมรับได้
๒) สร้างแรงบันดาลใจในการมีส่วนร่วม
สร้างแรงบันดาลใจให้บุคคลทั้ง ๔ กลุ่ม เกิดความมานะ เชื่อมั่น และให้ความร่วมมือในการเสนอแนวคิด และยินดีให้ความร่วมมือทั้งแรงกายและกำลังทรัพย์ ในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดในการบริหารสถานศึกษา
๓) สร้างจุดเด่น
สร้างโรงเรียนให้มีจุดเด่น มีความเป็นเอกลักษณ์ คือ ไหว้งามตามแบบไทย และอัตลักษณ์ คือ โรงเรียนวิถีพุทธ โดยใช้หลักธรรมของบุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา
๔) เน้นผู้นำ
ผู้บริหารมีภาวะเป็นได้ทั้งผู้นำ ผู้ตามและผู้ให้บริการ พร้อมบริหารแบบวิถีพุทธและวิถีธรรม
๕) ให้ความสำคัญผู้มีส่วนร่วม
ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนศีล ๕ เป็นต้น
๖) ยุทธวิธีการบริหาร
โดยยึดหลักแนวทางการบริหารแบบ PDCA และปรับเปลี่ยนวิธีการในการบริหารจัดการตามสถานการณ์