กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินการ Flow แผนภูมิ ของระบบ วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practice
ขั้นที่ 1 วางแผนงานและเตรียมการ
วางแผนงานและเตรียมการ
วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาของนักเรียนที่มีปัญหาการทิ้งขยะ พบว่า นักเรียนขาดพื้นฐานความรู้ในการคัดแยกขยะ นักเรียนหลายคนอาจจะเคยชินกับการทิ้งขยะเรี่ยราดไม่เป็นที่เป็นทาง
นักเรียนส่วนใหญ่มองข้ามถังขยะไม่ยอมทิ้งลงถัง ซุกขยะไว้บริเวณรอบๆที่ตนเองอยู่ตรงนั้น เช่น
โต๊ะหินอ่อน โต๊ะนักเรียน บนพื้น ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ที่เป็นซอกเป็นรู มีนักเรียนส่วนน้อยและคุณครูที่เห็นว่าการทิ้งขยะไม่ถูกที่ทำให้โรงเรียนไม่สะอาด
ดูไม่งามตา คุณครูทุก ๆ คน มีการอบรมสอนลูกของตนให้มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย
และมีความรักษาความสะอาดอยู่แล้ว ก็มีการจัดเวรทำความสะอาดอยู่ทุกวัน
แต่มันการกำจัดเพียงพอบรรเทาไม่ให้ขยะมันมากเกินไป ดังนี้
1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 14 มิถุนายน 2564
2. แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ โดยคณะกรรมการประกอบด้วย
ครูนักเรียนแกนนำที่อบรมโครงการโรงเรียนใหญ่รอยเท้าเล็ก ตัวแทนนักเรียนห้องละ 2 คน
และสมาชิกชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม มีกิจกรรม
ต่าง ๆ ดังนี้
3.
กิจกรรมนักเรียนสำรวจปัญหาการคัดแยกประเภทขยะ ของแต่ละห้องเรียน
4. กิจกรรมการคัดแยกประเภทขยะ (กิจกรรม 3 R (Reduce (ลดการใช้), Reuse (การใช้ซ้ำ), Recycle (การนำกลับมาใช้ใหม่) ในห้องเรียน และบริเวณรอบโรงเรียน
5.
กิจกรรมจัดทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อบำบัดน้ำเน่าเสียในโรงเรียน
6.
กิจกรรมปุ๋ยหมักชีวภาพและปรับปรุงภูมิทัศน์
7. การเพิ่มพื้นที่สีเขียว
(กิจกรรมเพิ่มเติม)
8. ร้านศูนย์เหรียญ
ศูนย์สตางค์ (กิจกรรมเพิ่มเติม
นักเรียนนำกระดาษ พลาสติก และโลหะ นำไปแลกสิ่งของ เช่น กระเป๋าสตางค์
ผ้าเช็ดหน้า สร้อยแฟชั่น)
ขั้นที่ 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกประเภทขยะ
ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกประเภทขยะ
ประชุมเพื่อสร้างฐานข้อมูลเรื่องการคัดแยกขยะให้ถูกต้อง รวบรวมความรู้
ความตระหนักให้บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครอง
ให้เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ
ขั้นที่ 3 สังเกตพฤติกรรมการทิ้งขยะ
โรงเรียนมีการสร้างนวัตกรรมและกิจกรรมที่ส่งเสริมนิสัยการคัดแยกขยะทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านโดยมีการจัดกิจกรรมคัดแยกขยะตามจุดต่างๆ มีถังขยะคัดแยกประเภท มีนักเรียนชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นแกนนำให้ความรู้เรื่อง ประเภทของขยะและการทิ้งขยะให้ถูกตามประเภทของขยะอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนและบุคลากรทุกคนเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องส่งผลให้พฤติกรรมการทิ้งขยะของนักเรียนแยกประเภทและทิ้งขยะมูลฝอยให้ลงถังขยะ ทำให้บริเวณต่างๆในโรงเรียนสะอาดขึ้นและนักเรียนนำขยะรีไซเคิลที่คัดแยกไปใช้ประโยชน์ตามลำดับ นักเรียนและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนมีพฤติกรรมด้านการจัดการขยะที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
ขั้นที่ 4 จัดทำคู่มือการทำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพ
จัดทำคู่มือการทำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพและป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการทำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้เป็นองค์ความรู้ประกอบการทำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพใช้การตามวัตถุประสงค์และเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้สนใจ
ขั้นที่ 5 การประชุมชี้แจง
วิธีการทำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพ
1. อบรมให้ความรู้และสาธิตแก่นักเรียนเกี่ยวกับการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมัก
ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
- การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพมีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์
ได้แก่ ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด เศษผัก เศษอาหารกลางวัน กากน้ำตาลและ อีเอ็ม
นำมาผสมกันด้วยอัตราส่วนผัก เศษผักเศษอาหาร 3 กิโลกรัม ต่อกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม 3:1 พักทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์นำปุ๋ยน้ำหมักมาใช้ได้
- การเตรียมสถานที่และ อุปกรณ์การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมัก เตรียมวัสดุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก เช่น ทะลายปาล์มน้ำมัน เศษหญ้า เศษใบไม้แห้ง ผัก ขุ๋ยมะพร้าว ปุ๋ยคอกนำวัสดุมาผสมกันด้วยอัตราส่วน มูลวัว 1 ส่วน เศษหญ้าแห้ง ทะลายปาล์มน้ำมัน 1 ส่วน ขุ๋ยมะพร้าว 1 ส่วน รดด้วยน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพ พลิกปุ๋ยด้วยน้ำหมักชีวภาพ สัปดาห์ละครั้งทิ้งไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็สามารถนำมาใช้ได้
ขั้นที่ 6 นำนวัตกรรมถังน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพไปใช้จริง
นำถังหยดน้ำหมักไปใช้จริงวางตามจุดต่างๆ รอบบริเวณโรงเรียนที่มีท่อระบายน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลองและเติมน้ำหมักทุกวันให้น้ำหมักหยดตลอดวัน
ขั้นที่ 7 ประเมินผลและปรับปรุงคุณภาพถังน้ำหมัก
ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการควบคุม กำกับและติดตามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง มีการแต่งตั้งคณะกรรมตรวจสอบถังน้ำหมัก ยังมีสภาพใช้การได้ดี เมื่อพบว่ามีการชำรุดหรือเสียหาย ใช้การไม่ได้ จึงนำถังน้ำหมักใบใหม่มาเปลี่ยน เพื่อให้ถังน้ำหมักมีคุณภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา
ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์ : โรงเรียนมีการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบ
มีความทันสมัยและแก้ไขปัญหาขยะในโรงเรียนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งพบว่าโรงเรียนและชุมชนมีความพึงพอใจในการจัดการขยะ ตามลำดับดังนี้
1.นักเรียนสามารถคัดแยกประเภทของขยะได้อย่างถูกวิธี
2.นักเรียนสามารถนำขยะอินทรีย์มาทำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน
3.นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาขยะและปัญหาน้ำเสียได้อย่างถูกวิธี
4.นักเรียนมีพฤติกรรมการทิ้งขยะที่ดีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
ผลสัมฤทธิ์ของงาน
:
จากการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพการใช้ถังน้ำหมักชีวภาพ
พบว่า ถังน้ำหมักชีวภาพบำบัดน้ำเน่าเสียได้ ดังนี้
1. ถังน้ำหมัก
บำบัดน้ำเน่าเสียก่อนลงสู่ลำคลองตะเข้ขบ
2. ลดปริมาณขยะอินทรีย์ จำพวกเศษอาหาร ผักและผลไม้
3. ลดกลิ่นเหม็นของน้ำ
4. ลดโอกาสการเพาะพันธุ์ของแมลงวันและยุง
ประโยชน์ที่ได้รับ: ถังน้ำหมักชีวภาพมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการคัดแยกขยะเพื่อนำขยะอินทรีย์มาใช้ในการทำน้ำหมักชีวภาพไปปรับใช้ในบ้านและเผยแพร่สู่ชุมชน
6. ปัจจัยความสำเร็จ
1. ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการขยะ
2. การมีส่วนร่วมของบุคลากร ชุมชน
และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
3. มีวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและเหมาะสม
4. มีความพร้อมของอุปกรณ์รองรับเพียงพอต่อการคัดแยกขยะแต่ละประเภท
5. ผู้ปฏิบัติงานมีความพร้อมและความตั้งใจที่นำประสบการณ์การทำงานมาพัฒนา
ปรับปรุงระบบการคัดแยกขยะ
อย่างต่อเนื่อง
7. บทเรียนที่ได้รับ
1. การดำเนินการตามแนวทางโครงการชุมชนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสถานศึกษา โดยบุคลากรมีการปรับเปลี่ยนมาให้ความสำคัญต่อการคัดแยกขยะเพิ่มมากขึ้น
2. การปฏิบัติงานที่เป็นระบบ
มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีการสนับสนุนส่งผลให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
3. การพัฒนาร่วมกัน
ความจริงจังในการปฏิบัติงาน การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
ส่งผลให้งานประสบความสำเร็จอย่าง มีคุณภาพ
4.
เมื่อความสำเร็จสู่เป้าหมาย ความภาคภูมิใจก็คือ รางวัลต่างๆ
ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น รางวัลดีเด่น โครงการ “เธอ
คือ แรงบันดาลใจ”
จากมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
รางวัลโรงเรียนดีเด่น อันดับ 1 ในโครงการโรงเรียนใหญ่รอยเท้าเล็กปีที่ 7 รางวัลดีเด่น
ประเภทนวัตกรรมสู่ความยั่งยืนในโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา
เพื่อการพัฒนาที่ยังยืน
ได้รับรางวัลจากกรุงเทพมหานคร
ด้านการจัดการขยะหรือน้ำเน่าเสีย
และสิ่งแวดล้อม และได้รับรางวัลจากการประกวดโรงเรียนปลอดขยะ (Zero
Waste School) จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3 ปีซ้อน) เป็นต้น
8. การเผยแพร่
การเผยแพร่
- รายการ ข่าว 3 มิติ ทางช่อง 3
- รายการ ข่าว 5 หน้า 1 ทางช่อง 5
- รายการ One day whit CEO ทางช่อง
ASTV
- รายการ สาระคดีเกาะติดสภา กทม. ทางทีวีช่อง 5
- รายการ Change the World ทางช่อง H plus Channel
- ร่วมเสวนา เรื่องสิ่งแวดล้อม ที่โรงแรมแม่น้ำรามาดา
พลาซ่า
- ร่วมเสวนา เรื่องสิ่งแวดล้อม
ที่โรงแรมอเล็กซานเดอร์ (โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ได้รับการยอมรับ
- การศึกษาดูงานเรื่องสิ่งแวดล้อม
ของนักศึกษาปริญญาโท จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้แทนชุมชน สำนักงานเขตบางพลัด
- การศึกษาดูงานเรื่องสิ่งแวดล้อม
ของนักเรียนและบุคลากรจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้(นราธิวาส ปัตตานี และตรัง) จำนวน 2 ครั้ง