1. สภาพปัญหา
โรงเรียนวัดพลมานีย์ มีพื้นที่ 5 ไร่ 1
งาน พื้นที่ด้านทิศใต้ติดกับวัดพลมานีย์
ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกติดกับถนนประชาพัฒนา
ด้านทิศเหนือไหล่ทางของถนนมีพื้นที่สำหรับสัญจรค่อนข้างจำกัด
ลักษณะทางกายภาพเดิมเป็นที่ลุ่มในฤดูฝนมักมีน้ำท่วมขัง
เมื่อระยะเวลาผ่านไปทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นที่บริเวณรอบๆ
อาคารเกิดเป็นจุดเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตราย และมีปัญหาต่อสุขภาพเสี่ยงต่อการเกิดไข้เลือดออก
ประกอบกับชุมชนใกล้โรงเรียนมีการระบาดของยาเสพติด
โรงเรียนจึงหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
จึงหาวิธีการและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้สถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี
2. วัตถุประสงค์ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1. เพื่อให้ผู้เรียน
และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี
2. เพื่อให้ผู้เรียน
และบุคลากรรู้จักวิธีการป้องกันตนเอง และสามารถดูแลช่วยเหลือผู้อื่น
ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ และส่งเสริมสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้อื่นได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนและบุคลากรมีสุขภาพอนามัยที่ดี
4. เพื่อให้โรงเรียนปลอดภัยจากสารเสพติด
และความเสี่ยงต่างๆ ในสภาพสังคมที่มีความเสี่ยง
3. เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
คณะครูบุคลากรโรงเรียนวัดพลมานีย์ จำนวน 78 คน และผู้เรียนโรงเรียน
วัดพลมานีย์ จำนวน 1,201 คน
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
1) คณะครู บุคลากร
และผู้เรียนในโรงเรียนวัดพลมานีย์มีระเบียบวินัยเกิดความปลอดภัยทั้งชีวิต
และทรัพย์สิน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
2) โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมปลอดภัย
ปลอดจากสารเสพติด มีสุขภาพอนามัยที่ดี
4. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพัฒนา Flow Chart (แผนภูมิ)
ของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
การพัฒนารูปแบบสถานศึกษาปลอดภัย และสุขภาพอนามัยดี ได้ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ
ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง คณะครู บุคลากร นักเรียนโรงเรียนวัดพลมานีย์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สถานีดับเพลิงลาดกระบัง , กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน , บริษัท ซี พี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (ศูนย์กระจายสินค้า ลาดกระบัง)
, สถานีตำรวจนครบาลจรเข้น้อย , ศูนย์บริการสาธารณสุข
46 กันตารัติอุทิศ)
โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น ๖ ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่
1 ประชุมคณะกรรมการร่วมคิด ศึกษาบริบท
สภาพปัญหาของโรงเรียน วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนา เพื่อวางแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของโรงเรียนและสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้เรียนให้สอดคล้องกับนโยบายด้านความปลอดภัยของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
ขั้นที่ 2 พิจารณาทางเลือกในการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่เหมาะสม
สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ผู้อำนวยการสถานศึกษาประกาศนโยบายโรงเรียนปลอดภัยให้ครู
บุคลากร และผู้เรียนได้ทราบ โดยประเด็นสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี
จะครอบคลุมในเรื่องของสภาพแวดล้อมของโรงเรียน การส่งเสริมสุขภาพอนามัยของผู้เรียน
การป้องกันปัญหายาเสพติด
ขั้นที่ 3 รับอาสาสมัครกิจกรรมรักษ์ความปลอดภัยจากผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
5-6 เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตลอดปีการศึกษา
อบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยจากหน่วยงานภายนอก
ได้แก่ การอพยพหนีไฟ การตรวจสอบถังดับเพลิง อาสาจราจร การให้ความรู้เกี่ยวกับยาและสารเสพติด
การอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัย การตรวจสุขภาพผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ปลอดภัย
ไม่มีจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัย และปลอดสารเสพติด
ขั้นที่ 5 ประเมินผล โดยใช้กระบวนการ ตรวจสอบ ทบทวน ติดตามการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นที่ 6 ขยายผลและเผยแพร่ผลงาน
5. ผลการดำเนินการ
1. ผู้เรียน จำนวนร้อยละ 100 มีความปลอดภัยจากสารเสพติด และความเสี่ยงต่างๆ
ในสภาพสังคมที่มีความเสี่ยง มีสุขภาพอนามัยที่ดี
2. ครูและบุคลากร จำนวนร้อยละ 100 มีความรู้ความสามารถและทักษะในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน
3.
ครู บุคลากร และผู้เรียน จำนวนร้อยละ 98.00 มีส่วนร่วมและได้รับความรู้ ในการดูแลตนเองให้ปลอดภัย
และรู้จักวิธีการป้องกันตนเอง และสามารถดูแลช่วยเหลือผู้อื่น
ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ และรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้อื่นได้
4. สถานศึกษาให้บริการทางการศึกษาแก่ผู้เรียนโดยเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดี
5.
สถานศึกษาได้รับการยอมรับ และได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ
ในการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาความปลอดภัยในโรงเรียน
6. ปัจจัยความสำเร็จ
ความสำเร็จของการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีความปลอดภัย
เกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. สถานศึกษามีการกำหนดเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน คณะกรรมการทำงานมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
โดยความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2. คณะกรรมการทำงาน มีการทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยประสานความร่วมมือในการวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3.
สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาเอื้อต่อความสำเร็จ
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ
และ/หรือรางวัลที่ได้รับ
1. รางวัลสถานศึกษาปลอดภัย
ระดับดีเด่น จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน ในปี พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562
2. โรงเรียนผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
ระดับทอง
3.
เป็นแหล่งศึกษาดูงานของสถานศึกษาอื่น ๆ ได้แก่
โรงเรียนสุเหร่าใหม่ โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์ โรงเรียนวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์
โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์ โรงเรียนวัดบึงบัว โรงเรียนวัดปากบึง โรงเรียนแสงหิรัญ โรงเรียนสังฆราชา โรงเรียนลำต้นไทร โรงเรียนวัดเทพลีลา และโรงเรียนจากหน่วยงานเอกชน
4.
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง
และชุมชน ให้การยอมรับ มีความศรัทธาและโดยให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียน
5. ป้ายนิเทศประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน
6.
วารสาร “พลมานีย์สาร” ของโรงเรียน
7.
Facebook : “ แฟนเพจโรงเรียนวัดพลมานีย์ ” และ YouTube