สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตเด็กปฐมวัย (Active Learning to Executives function: AL to EF)
โรงเรียนวิชากร
กระบวนการพัฒนา

กระบวนการทำงาน

          1. วิเคราะห์วางแผนออกแบบโมเดลการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตเด็กปฐมวัย (Active Learning to Executives function: AL to EF) และจัดทำโมเดลต้นแบบเพื่อใช้ในการวางแผนออกแบบด้านอื่นๆ ต่อไปดังนี้

          การจัดการเรียนรู้ AL to EF เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง พัฒนาทักษะการคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกันเป็นทีม การเรียนอย่างมีความสุข และเปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการชีวิตทั้ง 3 ทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย วิธีการเรียนรู้ 4 วิธีการ บนแนวทางการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Centered Education : CCE) ดังนี้

1. วิธีการสอนแบบทดลอง (Experimental Method to Executives Function: EEF)

                             2. การสอนแบบโครงการ  (Project Approach to Executive  Functions : PEF)

                   3. การจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร (Cooking experience to Executive Functions : CEF)
                            
4.
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ (Creative Art Activity for Learning : CAL)

2. ออกแบบ วางแผน และจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตเด็กปฐมวัย (Active Learning to Executives function: AL to EF) ที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน

          3. นำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตเด็กปฐมวัย (Active Learning to Executives function: AL to EF) ไปใช้จริงในห้องเรียนทุกห้องเรียนทุกระดับชั้น


ผลจากการปฏิบัติ

ผลจากการปฏิบัติ

          หลังจากนำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนด้วยการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการชีวิตเด็กปฐมวัย (Active Learning to Executives function: AL to EF)  ไปใช้จริงในห้องเรียนทุกห้องเรียนทุกระดับชั้น ผลที่ได้จากการฏิบัติมีดังนี้

 

1. ทักษะพื้นฐาน

1. Working Memory = จำเพื่อใช้งาน

2. Inhibitory Control = ยั้งคิด ไตร่ตรอง

3. Shift/Cognitive Flexibility = ยืดหยุ่นความคิด

?เด็กจดจำข้อมูลที่มีความหมายและสามารถจัดการกับข้อมูลเหล่านั้น

?เด็กรู้จักคิดเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม

? เด็กประมวลผลใช้งานต่อ

?เด็กหยุด คิดไตร่ตรองก่อนทำหรือพูด

?เด็กชั่งใจพินิจพิจารณา

?เด็กชะลอความอยาก “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน”

? เด็กปรับเปลี่ยนความคิดเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยน

? เด็กคิดนอกกรอบ

? เด็กเห็นวิธีและโอกาสใหม่ ๆ

2. ทักษะกำกับตนเอง

4. Focus/Attention = จดจ่อใส่ใจ

5. Emotional Control = ควบคุมอารมณ์

6. Self-Monitoring = ติดตามประเมินผล

? เด็กมีมุ่งมั่น จดจ่อ

? เด็กมีสมาธิต่อเนื่อง

? เด็กจดจ่ออย่างตื่นตัว

?เด็กจัดการอารมณ์ให้เหมาะสม

?เด็กมีมั่นคงทางอารมณ์

?เด็กไม่ใช้อารมณ์แก้ปัญหา

?เด็กแสดงออกอย่างเหมาะสม

? เด็กทบทวนสิ่งที่ทำไป

? เด็กสะท้อนผลจากการกระทำของตนเองได้

? เด็กสามารถแก้ไขผลงานและปรับปรุงให้ดีขึ้น

3. ทักษะปฏิบัติ

7. Initiating = ริเริ่ม ลงมือทำ

8. Planning and Organizing = วางแผน/จัดระบบดำเนินการ

9. Goal-directed Persistence = มุ่งเป้าหมาย

? เด็กมีความคิดริเริ่ม

? เด็กตัดสินใจลงมือทำด้วยตนเอง

? เด็กไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

? เด็กตั้งเป้าหมาย/วางแผนในการทำงาน

? เด็กจัดลำดับความสำคัญของงาน

? เด็กสามารถจัดระบบ/ดำเนินการงาน

? เด็กสามารถบริหารเวลา/บริหารทรัพยากร

? เด็กสามารถประมวลผล

? เด็กมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำงาน

? เด็กเกาะติดเป้าหมายในการทำงาน

? เด็กพากเพียรอุตสาหะในการทำงาน

? เด็กฝ่าฟันอุปสรรคในการทำงาน

 

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]