1. ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2-3
จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
2. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี พุทธศักราช
2560 มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ การจัดเวลาเรียน สาระการเรียนรู้
การประเมินพัฒนาการ วิเคราะห์มาตรฐานการศึกษาปฐมวัยและ ตัวบ่งชี้
3. ศึกษาเอกสาร แนวคิด เกี่ยวกับวิธีการ
และขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ รูปแบบ (Active
Learning GPAS 5 Steps)
4. ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับวิธี
และขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางภาษาไทย
พยัญชนะไทย สำหรับเด็กปฐมวัย
5. ดำเนินการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบ (Active
Learning GPAS 5 Steps)และจัดทำเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาไทย
พยัญชนะไทยสำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรม วงล้อมหัศจรรย์ พยัญชนะไทยน่ารู้ จำนวน 2
ชุดกิจกรรม โดยมีรูปแบบการเล่น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 สื่อวงล้อเกมการศึกษา
พยัญชนะไทย รูปแบบที่ 2 เกมการศึกษาผ่านโปรเกรม Word wall
วงล้อพยัญชนะไทย
6. นำนวัตกรรม วงล้อมหัศจรรย์ พยัญชนะไทยน่ารู้
ไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานด้านภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย
7.
จัดทำแบบสังเกตพฤติกรรมและแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย
จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้รูปแบบ
(Active
Learning GPAS 5 Steps) โดยใช้เกมการศึกษา วงล้อมหัศจรรย์พยัญชนะไทยน่ารู้เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางภาษาไทย
สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่าเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2-3 มีทักษะพื้นฐานทางภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น
ดังนี้
1.
เด็กปฐมวัยมีทักษะการจดจำตัวอักษรพยัญชนะไทยและการบอกชื่อตัวอักษรพยัญชนะไทยได้อย่างชัดเจน
2.
จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านเกมการศึกษาวงล้อพยัญชนะไทยเด็กปฐมวัยเกิดความสนุกสนานและกระตือรือร้นในการเรียนรู้ผ่านการเล่นเกมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
3.
เด็กมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่จากการใช้เกมการศึกษา
วงล้อพยัญชนะไทย
4.
เด็กมีความกล้าแสดงออกจากการนำเสนอตัวอักษรพยัญชนะไทยหน้าชั้นเรียนและหน้าเสาธงทุก วันศุกร์ ณ โรงเรียนวัดตลิ่งชัน