3.
กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practices
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพทางด้านดนตรีของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 จนกระทั่งถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดยเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติ ที่สามารถพัฒนาทักษะทางด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรี
เป็นสำคัญ
3.1
การออกแบบงาน/นวัตกรรม เป็นการสังเคราะห์นักทฤษฎีทางด้านการปฏิบัติ
ซึ่งสามารถสังเคราะห์เป็นทางขั้นตอนในการปฏิบัติได้ดังตารางต่อไปนี้
จากการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดนักทฤษฎีเกี่ยวกับการปฏิบัติ
พบว่าแต่ละท่านมีจุดเด่นที่แตกต่างกันโดยแบ่งเป็นนักทฤษฏีที่เกี่ยวการปฏิบัติทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย
ได้แก่ ซิมพ์ซัน
ซึ่งมีจุดเด่นทางด้านกลไกการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกายหรือการกระทำในสิ่งต่างๆที่แสดงให้เห็นเป็นขั้นเป็นตอน(Simpson’s ,1972) มีความสอดคล้องกับเดฟ
ซึ่งเน้นในด้านของการแสดงการกระทำจากสิ่งที่น้อยที่สุดไปหามากที่สุด (Dave,
1970)
ด้วยพฤติกรรมเป็นการตอบสนองทางการเคลื่อนไหวร่างกายให้เกิดความคล่องแคล้วและชำนาญ
(Harrow, 1972) จึงส่งผลทำให้นักเรียนเกิดการรับรู้ในการแสดงพฤติกรรม
สิ่งที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดความเข้าใจได้คือการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
แก้ไขทีละส่วนต่างๆที่เป็นจุดบกพร่อง (Thomas, 2004)
ในส่วนของมัวร์เน้นแนวคิดทางด้านการใช้แรงจูงใจเพื่อให้ตอบสนองกับสิ่งที่คาดหวังไว้(
Moore,1972) นักทฤษฎีปฏิบัติทั้งหมดที่กล่าวมานี้
ผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์ขั้นตอนในการปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้
ผลการสังเคราะห์ |
ซิมพ์ซัน |
เดฟ |
แฮร์โรว์ |
โทมัส |
มัวร์ |
การนำเสนอ (Presentation) |
การรับรู้(Perception) กระบวนการที่รับสิ่งต่างๆ
จากการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส รับรู้ได้โดยประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมา |
|
การตอบสนองการเคลื่อนไหว
(Reflex
Movements) การตอบสนองทางร่างกายโดยไม่ผ่านความรู้สึกนึกคิดหรือการควบคุม |
การรับรู้
(Perception) กระบวนการที่มนุษย์ใช้ประสาทสัมผัส เช่น การสัมผัส การดมกลิ่น
การมองเห็นและการได้ยิน ซึ่งร่างกายเป็นผู้ที่รับรู้ในสิ่งนั้น
ประมวลผลออกมาเป็นความรู้สึกและแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม |
การนำเสนอ
(Presentation) การนำสิ่งที่เราปฏิบัติ สิ่งที่เราต้องเป้าหมายไว้
เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายให้เกิดความเข้าใจและรับรู้ในสิ่งนั้น
|
เตรียมการ (Set up) |
การเตรียมความพร้อม
(Set) พฤติกรรมในการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนการลงมือกระทำในสิ่งนั้น |
|
การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
(Basic
Fundamental Movements) ขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเริ่มต้นพฤติกรรมก่อนการเคลื่อนไหว |
การสื่อสาร
(Communication) การแสดงออกทางพฤติกรรมในด้านการพูดหรือการแสดงออกทางร่างกาย |
การสร้างแรงจูงใจ
(Support
of the Learner’s motivation) กระตุ้นความสนใจและความพยายามในการเรียนจากสภาวะบริบทรายรอบตัว
เพื่อให้นักเรียนบรรลุผลในสิ่งนั้น |
การส่งเสริม
(Stimulate
analysis and Criticism) การส่งเสริมการปฏิบัติด้วยความเป็นเหตุเป็นผล
มีสิ่งที่แสดงที่มาที่ไปอย่างชัดเจน |
|||||
|
การแนะนำและการเลียนแบบ
(Guided
response) การแนะนำแนวทางจากสิ่งที่อยู่ภายนอก เพื่อสามารถทำกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง |
การเลียนแบบ
(Imitation) กระบวนการกระทำตาม พฤติกรรมของผู้อื่น
เพื่อให้เรียนรู้ในพฤติกรรมที่ใหม่ๆ |
ความสามารถการรับรู้
(Perceptual
Abilities) การแสดงพฤติกรรมทางด้านของต่างๆบุคคลในการรับรู้ข้อมูลด้วยประสาทสัมผัส |
การเคลื่อนไหว
(Movement) การเคลื่อนไหวหรือการทำงานที่ร่างกายแสดงออกผ่านการประสานงานระหว่างสมองและระบบกล้ามเนื้อ |
การให้คำแนะนำ
(Give
advice and counsel) การชี้แนะแก่นักเรียนหรือบุคคลต่างๆ
เพื่อช่วยในการตัดสินอย่างมีเหตุมีผล |
การปฏิบัติ (Practice) |
การลงมือกระทำ
(Mechanism) กระบวนการเคลื่อนไหวอย่างมีระบบด้วยการปฏิบัติเครื่องมือเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ |
การควบคุม
(Manipulation) กระบวนการแสดงพฤติกรรมในการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง
ด้วยการใช้มือหรืออวัยวะต่างๆ ในสิ่งที่ต้องการ |
ความสามารถทางกาย
(Physical
Abilities) ขั้นตอนเกี่ยวกับร่างกายทางด้านระบบต่างๆของร่างกายที่ทำงานร่วมกัน |
ความแข็งแกร่ง
(Strength) การแสดงถึงพลังในการออกแรงของกล้ามที่เกิดจากการกระทำ |
|
ทักษะ (Skill) |
การลงมือกระทำด้วยเชี่ยวชาญ
(Complex
overt response) การตอบสนองการทักษะ ประสบการณ์
ที่เป็นระบบระเบียบ และสามารถแสดงพฤติกรรมที่แสดงออกได้ |
การลงมือปฏิบัติ
(Precision) กระบวนการแสดงพฤติกรรมให้เห็นถึงการพัฒนาทางด้านการกระทำที่ถูกต้องและไม่เกิดความผิดพลาด
|
ทักษะการเคลื่อนไหว
(Skilled
Movements) การเคลื่อนไหวที่มีทักษะสูงซึ่งผ่านการฝึกฝนจนสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูง |
ความคล่องแคล้ว
(Dexterity) ความสามารถในการควบคุมส่วนต่างๆของร่างกายที่ทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ
|
|
การประสาน
(Coordination) กระบวนการที่กล้ามเนื้อในทุกส่วนของร่างกายทำงานร่วมกัน
เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ |
|||||
การมีทักษะ
(Operation
of Tools & Equipment)กระบวนการใช้ทักษะในการควบคุมอุปกรณ์และเครื่องมือได้อย่างถูกต้องครบถ้วน |
|||||
การปรับใช้ (Adaptation)
|
การปรับปรุงและนำไปปรับใช้
(Adaptation) กระบวนการปรับตัว การปรับเปลี่ยนในพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นทั้งทางความคิด
จิตใจและกาย เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ใหม่ |
การกระทำอย่างต่อเนื่อง(Articulation) ขั้นที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมทางด้านของทักษะที่พัฒนาขึ้น |
|
|
การตรวจสอบ
(Arrange
practice, Application, testing and evaluation) การส่งเสริมนักเรียนมีความสามารถและพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ
ให้เกิดความชำนาญและความเชี่ยวชาญ |
การพัฒนาทักษะ (Develop Skill) |
การคิดสร้างสรรค์
(Origination) กระบวนการแก้ไขปัญหาจากสิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิมเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ |
การแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ
(Naturalization) ขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงทักษะที่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
ซึ่งเกิดจากประสบการณ์การฝึกซ้อม
ทำให้แสดงออกในสิ่งนั้นออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ |
ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติ
(Non-Discursive
Communication) การสื่อสารผ่านทางด้านร่างกายโดยไม่ใช้ต้องใช้คำพูดที่แสดงออกถึงความเป็นธรรมชาติ |
การสร้างรูป(Construction) การนำองค์ประกอบในส่วนย่อยๆ
นำมาจัดองค์ประกอบร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลงานในภาพรวม |
การสร้างสรรค์
(Arrange
for student creation of knowledge) การออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยผ่านการลงมือกระทำ
ด้วยการเชื่อมโยงความรู้ในส่วนต่างๆมาปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ |
ความสุนทรียะ
(Art) กระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ใหม่หรือแนวคิดที่ใหม่
อย่างเช่นดนตรี ภาพวาด การเต้นรำ เพื่อสื่อให้เห็นถึงความไพเราะ ความงาม |
จากตารางดังกล่าวในการสังเคราะห์แนวคิดทางด้านการปฏิบัติสามารถสรุปได้ว่า
ในขั้นแรกเป็นขั้นที่นักทฤษฏีต่างให้ความหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ของนักเรียน
เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยกระบวนการใช้ประสาทสัมผัสในด้านของการฟัง
เป็นการรับรู้ข้อมูลด้วยการได้ยินเสียง การสนทนาเรื่องราว รวมทั้งการจับเครื่องดนตรี
เป็นส่วนที่สามารถนำเสนอชิ้นงานหรือสิ่งที่แสดงให้เห็น
เมื่อนักเรียนเกิดการรับรู้สิ่งที่นักเรียนต้องทำในขั้นตอนต่อไปคือการเลียนแบบพฤติกรรมเพื่อซึมซับในสิ่งนั้น
ในการปฏิบัติเครื่องดนตรีจึงจำเป็นต้องให้นักเรียนซึมซับเครื่องดนตรีชนิดนั้นเป็นการปฏิบัติตามผู้สอน
จากนั้นนักเรียนเริ่มลงมือกระทำโดยมีผู้สอนเป็นผู้ที่แนะนำ
เพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติเครื่องดนตรีได้อย่างถูกต้อง
ในทางการปฏิบัติเครื่องดนตรีนั้นเมื่อเกิดการฝึกซ้อมและฝึกฝนไปจนกระทั่งร่างกายกระทำเกินขีดความสามารถของตนเอง
จึงทำให้ส่งผลกระทบทางด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย จิตและอารมณ์ ผู้สอนจึงต้องหาทางในการแก้ไขปัญหานั้น
มีการนำสิ่งต่างๆมาปรับใช้
อย่างเช่นสื่อการสอนหรือการใช้เทคนิคต่างๆในการแก้ไขปัญหา
เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการปฏิบัติ
และผู้สอนจำเป็นต้องมีการวัดและประเมินผลนักเรียน
เพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าในทางการปฏิบัติเครื่องดนตรี มีการปรับปรุงแก้ไขหลังจากการวัดและประเมินผล
จึงเกิดสิ่งที่นักเรียนสามารถสร้างหรือออกแบบสิ่งที่นักเรียนได้ปฏิบัติมานั้นออกมาเป็นแนวทางใหม่
ผลงานใหม่หรือสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากนักเรียน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
การดำเนินงานโดยใช้ชื่อขั้นตอนตามที่สังเคราะห์ข้อมูลได้ดังต่อไปนี้
คือ ขั้นของการนำเสนอ (Presentation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่รับรู้จากการสัมผัส การได้ยิน
ซึ่งร่างกายเป็นผู้ที่รับรู้ในสิ่งนั้น
ประมวลผลออกมาเป็นความรู้สึกและแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม อีกทั้งเป็นการนำสิ่งที่เราสอนปฏิบัติ
สื่อสารให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและรับรู้ในสิ่งนั้น อันดับถัดมา
คือขั้นของการเตรียมการ (Set
up) เป็นขั้นของการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติด้วยการกระตุ้นความสนใจและแสดงออกทางพฤติกรรมในด้านการพูดหรือการแสดงออกทางร่างกายที่แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนว่านักเรียนพร้อมจะลงมือกระทำในสิ่งนั้น
ในอันดับถัดมาคือ ขั้นการปฏิบัติ (Practice)
เป็นขั้นที่นักเรียนได้ลงมือกระทำด้วยการเลียนแบบผู้สอนและลงมือกระทำได้เองจนกระทั่งเกิดความคล่องแคล้วโดยได้รับการแนะนำจากผู้สอน
ส่วนถัดมาเป็นขั้นทักษะ (Skill) ซึ่งในขั้นนี้เป็นการปฏิบัติได้ด้วยตนเองจนกระทั่งเกิดความเชี่ยวชาญในสิ่งนั้นและนำมาซึ่งประสบการณ์ที่นักเรียนได้จากการปฏิบัติ
จนกระทั่งในขั้นถัดมา คือขั้นของการปรับใช้ (Adaptation)
เป็นขั้นตอนที่แสดงให้เห็นถึงการนำความรู้จากสิ่งต่างๆหรือที่ต่างๆที่นอกเหนือจากการปฏิบัติมาปรับใช้ในการปฏิบัติ
จนกระทั่งเป็นขั้นของการพัฒนาทักษะ (Develop Skill)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมที่นักเรียนนำความรู้ที่นอกเหนือจากสิ่งที่ได้เรียนมาปรับใช้จนเกิดเป็นรูปแบบใหม่
โครงสร้างใหม่หรือแนวคิดใหม่ (Simpson’s ,1972; Dave,
1970; Harrow, 1972; Thomas, 2004; Moore,1972)
จากขั้นตอนที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นสามารถนำมาปรับใช้กับการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพทางด้านดนตรีได้ดังต่อไปนี้
1.
ขั้นการนำเสนอ (Presentation)
นักเรียนเป็นผู้ร่วมกันนำเสนอ อาทิ เรื่องที่เกี่ยวกับดนตรี
หัวข้อดนตรีที่ใช้ในงานแสดงและร่วมกันวางแผนงานก่อนการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง
2.
ขั้นของการเตรียมการ (Set
up) นักเรียนจัดเตรียมอุปกรณ์ อาทิ โน้ตเพลง
เพลงที่นักเรียนจะต้องบรรเลง
การปรับเสียงเครื่องดนตรีหรืออุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรี
3.
ขั้นการปฏิบัติ (Practice) นักเรียนลงมือปฏิบัติเครื่องดนตรี อาทิ การฝึกซ้อมตามแบบฝึกหัด
ตามบทเพลงที่ได้จัดเตรียมไว้
4.
ขั้นทักษะ (Skill)
นักเรียนฝึกซ้อมบทเพลงนั้นจนกระทั่งเกิดความชำนาญ
5.
ขั้นของการปรับใช้ (Adaptation) นักเรียนได้รับคำแนะนำจากผู้สอน รุ่นพี่
เพื่อนหรือน้องในกลุ่มเครื่องดนตรีนั้นโดยผ่านการวิพากษ์และการสื่อสารกันในกลุ่มเครื่องดนตรีนั้นๆ
6.
ขั้นของการพัฒนาทักษะ (Develop
Skill) นักเรียนนำสิ่งที่ได้จากการวิพากษ์
มาพัฒนาแก้ไขจุดบกพร่องของตนเองจนกระทั่งเกิดเป็นเอกลักษณ์ใหม่ของเพลง
หรือเรื่องราวนั้นๆ ที่ไม่เหมือนในรูปแบบแบบเดิม
4.
ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์
1.
นักเรียนเป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทวงโยธาวาทิต
2. นักเรียนเป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทวงสตริง
3.
นักเรียนได้รับประสบการณ์ทางด้านดนตรีจากการเข้าร่วมจัดกิจกรรมทั้งภายในและ
ภายนอกโรงเรียน
4.
นักเรียนเป็นผู้ที่รู้จักหน้าที่ มีวินัยและใส่ใจในความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
1.
นักเรียนเป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทวงโยธาวาทิต ร้อยละ 99
2. นักเรียนเป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทวงสตริง
ร้อยละ 99
3.
นักเรียนได้รับประสบการณ์ทางด้านดนตรีจากการเข้าร่วมจัดกิจกรรมทั้งภายในและ
ภายนอกโรงเรียน ร้อยละ 100
4.
นักเรียนเป็นผู้ที่รู้จักหน้าที่
มีวินัยและใส่ใจในความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
ร้อยละ
99
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียนมีแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมทางด้านดนตรี
2.
นักเรียนเกิดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
5.
วิธีการวัดและประเมินผล
ในส่วนการวัดและประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพทางด้านดนตรี
มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังนี้
5.1 นักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ
100
5.2 จากการให้นักเรียน 100 คน
ตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินการจัดกิจกรรม ปรากฏผลดังนี้
รายการประเมิน |
ระดับความคิดเห็น |
||||
ดีมาก |
ดี |
ปานกลาง |
พอใช้ |
ปรับปรุง |
|
1.
นักเรียนเป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทวงโยธาวาทิต |
99.00 |
1.00 |
- |
- |
- |
2.นักเรียนเป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทวงสตริง |
99.00 |
1.00 |
- |
- |
- |
3.
นักเรียนได้รับประสบการณ์ทางด้านดนตรีจากการเข้าร่วมจัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน |
100 |
- |
- |
- |
- |
4.นักเรียนเป็นผู้ที่รู้จักหน้าที่
มีวินัยและใส่ใจในความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น |
99.00 |
1.00 |
- |
- |
- |
รวมเฉลี่ย |
99.25 |
จากตารางแสดงการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทางดนตรีเห็นว่า
นักเรียนเป็นผู้ที่มีทักษะทางด้านการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทวงโยธาวาทิต อยู่ในระดับที่ดีมาก
คิดเป็นร้อยละ 99.00 นักเรียนเป็นผู้ที่มีทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทวงสตริงอยู่ในระดับดีมาก
คิดเป็นร้อยละ 99.00 นักเรียนได้รับประสบการณ์ทางด้านดนตรีจากการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอยู่ในระดับดีมาก
คิดเป็นร้อยละ 100 และนักเรียนเป็นผู้ที่รู้จักหน้าที่
มีวินัยและใส่ใจในความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นระดับดีมาก ร้อยละ 99.00
สรุปการจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพทางดนตรี ประสบผลสำเร็จร้อยละ 99.25
6. ปัจจัยหรือสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จ
6.1 ได้รับการส่งเสริม
สนับสนุนจากด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพทางด้านดนตรี
จากคณะผู้บริหารและคุณครูทุกท่าน
6.2
ได้รับการสนับสนุนในด้านการจัดกิจกรรมจากหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา อาทิ
ห้างสรรพสินค้าโลตัสรามอินทรา สถานศึกษาต่างๆ
ที่ขอความร่วมมือนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรม รวมทั้ง คณะ ดุริยางคศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ให้ความมือในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านดนตรี
7.
ชื่อบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่ได้รับการยอมรับ โดยระบุปี พ.ศ.ย้อนหลังไม่เกิน ๓
ปี
ผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน/ผลการปฏิบัติของนักเรียน
ลำดับที่ |
รายการ |
หน่วยงานที่จัด |
วัน/เดือน/ปี |
1 |
นักเรียนวงสตริงเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาการเครือข่ายที่
24 |
สำนักงานเขตลาดพร้าว |
25
กรกฎาคม 2565 |
2 |
นักเรียนวงสตริงได้เข้าร่วมกิจกรรมดนตรีในสวน |
สวนหมู่บ้านเสนานิคม |
28
สิงหาคม 2565 |
3 |
นักเรียนวงสตริงเข้าร่วมกิจกรรมดนตรี |
ห้างสรรพสินค้าโลตัส
เลียบทางด่วนรามอินทรา |
9
ตุลาคม 2565 |
4 |
นักเรียนวงโยธาวาทิตเข้าร่วมกิจกรรมวันคริสต์มาส |
ห้างสรรพสินค้าโลตัส
เลียบทางด่วนรามอินทรา |
25
ธันวาคม 2565 |
5 |
นักเรียนวงสตริงเข้าร่วมกิจกรรมวันคริสต์มาส |
ห้างสรรพสินค้า
เดอะแจ๊ส รามอินทรา |
25
ธันวาคม 2565 |
6 |
นักเรียนวงสตริงเข้าร่วมการแข่งขันทักษะทางวิชาการเครือข่ายที่
24 |
สำนักงานเขตลาดพร้าว |
31
มกราคม 2566 |
7 |
นักเรียนวงสตริงเข้าร่วมบรรเลงดนตรีในงาน
OPEN
HOUSE |
โรงเรียนสรุศักดิ์มนตรี |
3
กุมภาพันธ์ 2566 |
8 |
นักเรียนวงโยธาวาทิตและวงสตริงได้เข้าร่วมบันทึกรายโทรทัศน์
“โรงเรียนดีมีทุกที่” |
ช่อง
9 MCOT
HD |
24
กันยายน 2566 |
9 |
นักเรียนวงโยธาวาทิตเข้าร่วมกิจกรรมวันคริสต์มาส |
ห้างสรรพสินค้าโลตัส
เลียบทางด่วนรามอินทรา |
25
ธันวาคม 2566 |
10 |
นักเรียนวงสตริงได้รับรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาในการแข่งขันทักษะทางวิชาการเครือข่ายที่
24 |
สำนักงานเขตลาดพร้าว |
27กุมภาพันธ์
2567 |
11 |
นักเรียนวงโยธาวาทิตได้เข้าร่วมกิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 10 |
วัดลาดพร้าว |
28
กรกฎาคม 2567 |
12 |
นักเรียนโยธาวาทิตเข้าร่วมกิจกรรมงานกีฬาสี |
โรงเรียนอนุบาลบางเมือง
จังหวัดสมุทรปราการ |
20
ธันวาคม 2567 |
13 |
นักเรียนวงสตริงได้เข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมสินค้ากระตุ้นเศรษฐกิจ
ที่ ศูนย์การค้าไอที สแควร์ หลักสี่ |
สำนักงานเขตบางเขน |
23
ธันวาคม 2567 |
14 |
นักเรียนวงโยธาวาทิตเข้าร่วมกิจกรรมวันคริสต์มาส |
ห้างสรรพสินค้าโลตัส
เลียบทางด่วนรามอินทรา |
25
ธันวาคม 2567 |
15 |
นักเรียนวงสตริงเข้าร่วมกิจกรรมวันปีใหม่ |
โรงเรียนอนุบาลบางเมือง
จังหวัดสมุทรปราการ |
31
ธันวาคม 2567 |
16 |
นักเรียนวงสตริงได้รับรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาในการแข่งขันทักษะทางวิชาการเครือข่ายที่
24 |
สำนักงานเขตลาดพร้าว |
30
มกราคม 2568 |
17 |
นักเรียนวงสตริงได้รับการคัดเลือกรอบออดิชั่น
ในงานมหกรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร |
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร |
17
กุมภาพันธ์ 2568 |
18 |
นักเรียนวงโยธาวาทิตและนักเรียนวงสตริงได้เข้าร่วมบันทึกรายการโทรทัศน์
“Journey
of Dreams” |
โรงเรียนวัดลาดพร้าว |
5
เมษายน 2568 |
8.
การเผยแพร่แบบอย่างที่ดีของสถานศึกษา
8.1 นักเรียนได้รับการชื่นชมจากสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
คณะผู้บริหารเขตลาดพร้าว คณะผู้บริหารโรงเรียนวัดลาดพร้าว
คณะครูดนตรีกรุงเทพมหานครและคณะครูโรงเรียนวัดลาดพร้าว
8.2
ได้มีการเผยแพร่ผลงานของนักเรียน ดังต่อไปนี้
-
นักเรียนได้รับการเชิญชวนจากหน่วยงานภายนอก อาทิ โรงเรียนอนุบาลบางเมือง
จังหวัดสมุทรปราการ ห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขารามอินทรา รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ
ที่ขอความร่วมมือ
-
นักเรียนได้เข้าร่วมบันทึกรายการโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT รายการหนึ่งในพระราชดำริ
“โรงเรียนดีมีทุกที่” ในชื่อตอน ความฝันอันสูงสุด https://youtu.be/mHuOv-LW5C8?si=Fa35iUE8qVh5uNIJ
-
นักเรียนได้เข้าร่วมบันทึกรายการโทรทัศน์ ช่อง 9 MCOT รายการ Journey
of Dreams ชื่อ ตอนเสียงดนตรีที่เริ่มจากโรงเรียน https://youtu.be/ypYSdaG1qi4?si=dHZ3mpc89fiRxkur