วิธีดำเนินการ/ขั้นตอน
1.
เสนอกิจกรรมเพื่อขออนุมัติ
2.
แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อวางแผนพิจารณารูปแบบของกิจกรรมและจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน
3.
ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน กำหนดกิจกิจกรรมและดำเนินงานตามกิจกรรมที่วางไว้ ประกอบด้วย
4 กิจกรรม ดังนี้
3.1 กิจกรรมเกษตรอินทรีย์
3.2 กิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ
3.3 กิจกรรมขยะกู้โลก
3.4
กิจกรรมถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
4. ดำเนินงานรายด้าน ตามที่ได้วางแผนไว้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและความตระหนัก
ดังนี้
4.1
ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา โรงเรียนได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการในแผนปฏิบัติราชการประจำปี
โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เช่น
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
เครือข่ายผู้ปกครอง และชุมชน ประชุมชี้แจง นำนโยบายสู่การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติงาน
นำผลการนิเทศ กำกับ ติดตาม มาพิจารณาร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ
ต่อการดำเนินงานตามนโยบาย/แผนงาน/โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา
และหาแนวทางแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
สรุปผลการดำเนินงานที่ได้รับจากการนำผลสะท้อนกลับไปแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา
4.2 ดำเนินงานด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โรงเรียนส่งเสริมให้ครูจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
และหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกระดับชั้น
จัดให้มีการทบทวนและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกปีการศึกษา นำหลักสูตรเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
นำหลักสูตรมาทดลองใช้ และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
วิเคราะห์ตัวชี้วัดและกำหนดหน่วยการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และครบทุกระดับชั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีผลงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สร้างความตระหนักให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดอบรมประชุมชี้แจงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมครบ
ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และครบทุกระดับชั้น เช่น การจัดป้ายนิเทศ
การประชาสัมพันธ์ และจัดนิทรรศการรวมถึงให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
4.3 ดำเนินงานด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมแนะแนวให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพของตนเองเข้าใจสภาพแวดล้อมของสังคมและการเปลี่ยนแปลงต่างๆทางด้านวัตถุ
สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของชุมชน
มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการวางแผนชีวิตด้วยกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและหลากหลาย
เพื่อนำความรู้ความสามารถไปประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเองและสอดคล้องกับสภาพสังคมและชุมชน
จนทำให้ผู้เรียนสามารถใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพเพื่อให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้าและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม
จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และครบทุกระดับชั้น
ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ 1. กิจกรรมเกษตรอินทรีย์ 2. กิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ 3.
กิจกรรมขยะกู้โลก 4. กิจกรรมถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ มีการติดตามผลการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ของผู้เรียน
มีเครื่องมือและวิธีการติดตามผลที่หลากหลาย เช่น แบบประเมินความพึงพอใจ
จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม และจากการสังเกตการดำเนินการกิจกรรมของนักเรียน
พร้อมทั้งมีการรายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
4.4
ดำเนินงานด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โรงเรียนมีการจัดหาสื่อ/ช่องทาง/วัสดุอุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่บุคลากรและบุคลากรมีการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านวิธีการ/ช่องทางต่างๆ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ
และบุคลากรมีการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
การเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่บุคลากรภายในสถานศึกษาและเผยแพร่
ขยายผล ด้วยวิธีการ ที่หลากหลายโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากบุคลากรของสถานศึกษา
4.5
ดำเนินงานด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โรงเรียนมีการจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยมีการจัดให้บุคลากรของสถานศึกษาเข้าร่วมการประชุม/อบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต และปฏิบัติภารกิจหน้าที่
ส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิต
และการปฏิบัติภารกิจหน้าที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ
5.
ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้และผลการจัดการเรียนรู้
6. รวบรวมข้อมูลและสรุปผล
7. รายงานผลการดำเนินงาน
โรงเรียนมีความสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้ความสำคัญกับความเป็นไทย การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน บุคลากร และผู้เรียน มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน รวมถึงมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่นความเป็นไทย และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตนอย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตน รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆให้กับตนเองและสถานศึกษา ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้คุณธรรมนำความรู้ในการดำเนินชีวิต บุคลากรของสถานศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละระดับชั้น ผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการมีวินัยในการใช้จ่ายในการออมทรัพย์ ตามศักยภาพผู้เรียน เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตโดยไม่เบียดเบียนและสร้างความเดือดร้อน ให้ตัวเองและผู้อื่น เป็นแบบอย่างในการแบ่งปัน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับผู้อื่น และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม ผู้เรียนเป็นแบบอย่างในการมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่ามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาและชุมชน ส่งผลให้ โรงเรียนได้รับการประกาศ ให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) จากกระทรวงศึกษาธิการ และในปีการศึกษา 2567 โรงเรียนยังเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่หน่วยงานภายนอก และชุมชนโดยรอบ