3.1
การออกแบบผลงานและนวัตกรรม
1.
การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะ EF ด้วยกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์
โดยใช้กระบวนการ KIDS Model
ผู้จัดทําได้คัดเลือกกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ ใช้กระบวนการขั้นตอนการทำงานตามวงจรคุณภาพ
PDCA
- วงจรคุณภาพ PDCA
2.
ออกแบบกระบวนการ “KIDS Model”
ตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) โดยการมีส่วนร่วมของ ทุกฝ่าย ดังนี้
K Knowledge base (การสร้างความรู้
ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักถึงความหมาย
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
EF
ด้วยกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์)
I I have life skills (การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนด)
D Development (การพัฒนาที่เด็กตามกระบวนการขั้นตอนที่กำหนด
พร้อมทั้ง
มีการกำกับ
ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน)
S Story Telling (การเล่าเรื่องราว
การเล่าวิธีการทดลองกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์)
Start
to do (การลงมือปฏิบัติ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง)
ขั้น P (Plan)
โดยนำ Model ขั้น K : knowledge base หมายถึง การสร้างความรู้ ความเข้าใจและสร้างการตระหนักถึงความหมาย คุณค่า
และความสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พัฒนาทักษะ EF ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้น D (Do) โดยนำ
Model ขั้น I : I have life skills
หมายถึง การลงมือปฏิบัติตามแผนประสบการณ์ การเรียนรู้ พัฒนาทักษะ EF ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้น C
(Check) โดยนำ Model
ขั้น D : Development หมายถึง การพัฒนาที่เด็กตามกระบวนการขั้นตอนที่กำหนด
พร้อมทั้งมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
ขั้น A (Act) โดยนำ Model
ขั้น S : 2S
Story Telling : การเล่าเรื่องราว
การเล่าวิธีการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์
Start to do : การลงมือปฏิบัติ
ลงมือกระทำด้วยตนเอง
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม
P = Plan (วางแผน) โดยนำ Model
ขั้น K : knowledge base หมายถึง
การสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างตระหนักถึงความหมาย คุณค่าและความสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พัฒนาทักษะ EF
ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. เข้าร่วมการการอบรมเสริมสร้างศักยภาพครูปฐมวัยเพื่อการพัฒนาทักษะทางสมอง
(Executive Function : EF) และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง
(EF) พร้อมทั้งศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
ซึ่งพบว่านักเรียนต้องได้รับการส่งเสริมทักษะทางสมอง(EF) เพื่อจะทำให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นทั้ง
4 ด้าน
2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(PLC) ระหว่างครูเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมทักษะทางสมอง (EF)
และพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน โดยทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูปฐมวัยภายในโรงเรียน
ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า การจัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาทักษะทางสมอง
(Executive Function : EF) ของเด็กได้
3. ศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์
โดยการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์
นำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การพัฒนาทักษะทางสมอง (EF) ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไปใช้กับเด็กชั้นอนุบาล ๒-3 ของโรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์ พร้อมทั้งมีการประเมินผลการทำกิจกรรม
D = Do (ลงมือปฏิบัติ) โดยนำ Model ขั้น I : I have life skills หมายถึง การลงมือปฏิบัติตามแผนประสบการณ์การเรียนรู้ พัฒนาทักษะทางสมอง
(EF) ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1) ครูบอกชื่อกิจกรรมการทดลองกับเด็ก
และร่วมกันสนทนาถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำการทดลอง
บอกวิธีการทดลองให้เด็ก ๆ ฟัง
2) เด็กและครูร่วมกันทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์
3)
ครูกระตุ้นด้วยคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทดลอง เพื่อทบทวนเรื่องราวของ
การทดลอง
เพื่อให้เด็กตรวจสอบความคิด แสดงความคิดเห็น แสดงความรู้สึก
4) เด็กบันทึกผลการทดลองด้วยการวาดภาพ
C =
Check (การติดตาม) โดยนำ Model
ขั้น D : Development หมายถึง
พัฒนาการที่เป็นลำดับขั้นตอนเผชิญความยากลำบากด้วยตัวเอง
1) เด็กและครูร่วมกันสนทนาสรุปการผลการทดลองวิทยาศาสตร์
โดยให้เด็กแสดงความคิดเห็น
ความรู้ และความรู้สึกที่มีต่อกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2)
สังเกตและจดจำบันทึกพัฒนาการของเด็กระหว่างทำกิจกรรม
3)
ประเมินพัฒนาการเด็กจากแบบบันทึกการปฏิบัติการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์
4)
มีการนิเทศ
กำกับ ติดตามการดำเนินงาน พร้อมนำข้อค้นพบมาวางแผน พัฒนาการจัดกิจกรรมให้บรรลุ
ตามวัตถุประสงค์
A = Act (การปรับปรุงแก้ไข) โดยนำ Model ขั้น S : 2S
1) Story Telling : การเล่าเรื่องราว
การเล่าวิธีการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2) Start to do : การลงมือปฏิบัติ
ลงมือกระทำด้วยตนเอง
วิเคราะห์ปัญหา/อุปสรรควิธีการแก้ไข้ โดยใช้กระบวนการ
PLC นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ร่วมกับครูผู้เกี่ยวข้อง
เพื่อที่จะได้นำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนานักเรียนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
การประเมินผลเพื่อติดตามความคืบหน้า เช่น การสังเกตพฤติกรรมของเด็ก
เพื่อนำมาปรับปรุงและต่อยอดให้เกิดความยั่งยืน
3.3 ประสิทธิภาพของการดําเนินงาน
1. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางสมอง
(EF) ด้วยกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการ
KIDS Model เป็นกิจกรรมที่เด็กและครูได้มีการลงมือปฏิบัติ
ปรากฏชัดเจน โดยมีวิธีการหรือองค์ความรู้ที่หลากหลายมาใช้ในการจัดกิจกรรม
ส่งผลต่อเป้าหมายและการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
เด็กทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมครบทุกคน และได้รับการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive
Function : EF) ดังนี้
กลุ่มทักษะพื้นฐาน
1. ความจําเพื่อใช้งาน
(Working Memory เด็ก ๆ สามารถจดจําขั้นตอน
วิธีการทดลองวิทยาศาสตร์ และสามารถตอบคําถามการทดลองวิทยาศาสตร์ได้
2. การยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) เด็ก ๆ จะต้องรอคอย และคิดก่อนลงมือปฏิบัติอยู่เสมอ
3. การยืดหยุ่นความคิด
(Shift/Cognitive Flexibility) เมื่อเด็กพบปัญหาในการทดลอง
เด็ก ๆ จะร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่างๆที่หลากหลาย
กลุ่มทักษะกำกับตนเอง
4.
การจดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention) เด็ก ๆ ทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ
5.
การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control) เด็ก ๆ สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้เมื่อทำการทดลอง แล้วผลการทดลองออกมาไม่เหมือนคนอื่น ๆ
6.
การติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring) เด็ก ๆ ร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น
ดูผลที่เกิดขึ้นจากการแก้ไขปัญหา และได้เล่าเรื่องราวที่ตนเองได้ลงมือปฏิบัติได้
กลุ่มทักษะการปฏิบัติ
7.
การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) มีความคิดริเริ่ม คิดนอกกรอบได้
ตัดสินใจลงมือทำด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้ใครเตือน เด็ก ๆ ได้เลือกทำการทดลองด้วยวิธีการหรือขั้นตอนที่เด็ก
ๆ เข้าใจ
8. การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) เด็ก ๆ ได้วางแผนในการทดลองร่วมกัน และตั้งเป้าหมายร่วมกันในการทดลองกิจกรรมให้สำเร็จ
9.
การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) เด็ก
ๆ มีความพยายามทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่น
อดทนต่อความยากลําบากได้
3.4
การใช้ทรัพยากร
การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางสมอง
(EF) ด้วยกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการ
KIDS Model เพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive
Function : EF) ของเด็กปฐมวัย
ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย โดยได้นํางบประมาณมาจัดซื้อวัสดุ
- อุปกรณ์ในการทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการจัดกิจกรรม
และยังมีคงเหลือเพื่อนําไปพัฒนาเด็กในด้านอื่นๆ ต่อไป
4.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
1. เด็กระดับชั้นอนุบาล ๒-3 เกิดทักษะทางสมอง
(Executive Function : EF)
2. เด็กชั้นอนุบาล ๒-3 มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ผ่านกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์
3. เด็กชั้นอนุบาล ๒-3 เกิดความรู้สึกที่ดี
และมีความสุขในการเรียน
4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน
เด็กชั้นอนุบาล ๒-3 ร้อยละ 90 ได้รับการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive Function : EF) เกิดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์
และเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจากการลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง บันทึกผลจาก สิ่งที่ตนเองปฏิบัติได้
เกิดทักษะทักษะทางสมอง (Executive
Function : EF) เกิดความรู้สึกที่ดี และมีความสุขในการเรียน
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
1) เด็กได้รับการส่งเสริมทักษะทางสมอง
(Executive Function : EF) ด้วยกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจริงมีความหลากหลายและท้าทายความสารถ นําไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ
2) เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร ทักษะการวัด
ทักษะการลงความเห็น เป็นต้น
3)
เด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านอย่างเหมาะสมกับวัย
เกิดความรู้สึกที่ดี และมีความสุข ต่อการเรียน
4.4 วิธีประเมินผล
ประเมินจากผลการประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา
5. ปัจจัยความสําเร็จ
1. ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสําคัญ
ส่งเสริมให้กําลังใจ ให้การสนับสนุนการพัฒนาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ปฐมวัย
2. คณะครูระดับชั้นปฐมวัยที่มีส่วนร่วม
มุ่งมั่น ตั้งใจ ในการพัฒนาเด็ก
3.
เด็กระดับชั้นอนุบาล ๒-3 ที่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม
4. ผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนรู้
5. โรงเรียนให้ความพร้อมของอุปกรณ์
เทคโนโลยีสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
1. การจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางสมอง (EF) ด้วยกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการ KIDS Model ทำให้ได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะทางสมอง (EF) ที่ส่งผลกับเด็กโดยตรง โดยเฉพาะในระดับปฐมวัย
หากไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมก็จะนําไปสู่เยาวชนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
2.
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive
Function : EF) ช่วยทำให้สมองส่วนหน้า ควบคุมอารมณ์ มีสมาธิ การจดจ่อ
มีการยับยั้งชั่งใจได้ดีขึ้น ต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ ส่วนด้วยกัน และที่สำคัญ คือการได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองที่จะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะทางสมองที่ดี
เริ่มจากปฐมวัยเป็น ขั้นแรก
ส่งผลต่อการเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต
3.
กิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และมีความหลากหลาย ทำให้เด็กเกิดการสนใจในการเรียนรู้
ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และ
สติปัญญา และพัฒนาทักษะทางสมองเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป
4.
การปฏิบัติงานที่เป็นระบบ มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน มีการวางแผนสู่เป้าหมาย
ได้รับการสนับสนุน ที่ดี มีสื่อเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้
ส่งผลให้งานประสบผลสำเร็จได้ดี และมีคุณภาพ
ข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะและข้อควรระวังใน การนําผลงานไปประยุกต์ใช้
1.
ในการเลือกกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรคำนึกถึงความยากง่ายและความปลอดภัย เป็นสำคัญและต้องคำนึงถึงช่วงวัย
ช่วงระยะเวลาความสนใจของเด็ก และต้องมีเทคนิคในการจัดกิจกรรม การทดลอง
กระตุ้นให้เด็ก ๆ ตั้งใจและเข้าใจเนื้อหาที่เราต้องการสื่อสารมากยิ่งขึ้น
7. การเผยแพร่ผลงาน/การได้รับการยอมรับหรือรางวัลที่ได้รับ
- การเผยแพร่ผลงาน
- เผยแพร่ใน Group LINE ผู้ปกครองชั้นอนุบาล ๒-3
โดยการสร้างอัลบั้มภาพและชี้แจงกิจกรรมให้ผู้ปกครองทราบ
-
Facebook
โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
รางวัลที่ได้รับ
1. ได้รับรางวัลพระราชทาน"
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" จากผู้แทนพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
เมื่อวันที่ 2๑ - ๒๓ กรกฎาคม 256๖
2.
รางวัลเหรียญเงินหญิงเดี่ยว กลุ่ม B
รางวัลเหรียญทองแดง ชายเดี่ยว
กลุ่ม A และ กลุ่ม B ได้เหรียญทองแดง
จากการแข่งขันหมากล้อม อนุบาล โกะเกมส์ ครั้งที่ 4
3. รางวัลชนะเลิศ
ประเภทชายเดี่ยว กลุ่มB การแข่งขันหมากล้อมอนุบาลโกะเกมส์ ครั้งที่ 5
วันที่ 21กุมภาพันธ์ 2567
4.
รางวัลรองชนะเลิศ ประเภทบุคคลชาย
และประเภทบุคคลหญิง การแข่งขันหมากล้อมอนุบาลโกะเกมส์ ครั้งที่6 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568
โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร
5. รางวัลชนะเลิศอันดับ
1 การแข่งขันปะติดสร้างสรรค์สู่จินตนาการเล่าเรื่อง
จากการแข่งขันนิทรรศการเครือข่ายที่ 18 ปีการศึกษา 2566
8.
การขยายผล ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้ผลงาน นวัตกรรม
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการถอดบทเรียน
- ส่งต่อความรู้ในการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive
Function : EF) ให้ครูในสายชั้นอนุบาล ได้นำไปใช้
และเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะทางสมอง (Executive
Function : EF) โดยกิจกรรมประจำวันอื่น
ๆ ที่ใช้ในสถานศึกษา และต่างสถานศึกษา สามารถนำมาจัดเป็นกิจกรรมประจำวัน
หรือตามหน่วยการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
2. การเรียนรู้เพื่อต่อยอด
และขยายผล
- ควรมีการศึกษาความสามารถที่เสริมสร้างทักษะทางสมอง
(Executive Function : EF) ของเด็กปฐมวัย จากกิจกรรมอื่น ๆ เช่น นิทาน
ศิลปะ เป็นต้น
- จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสถานศึกษา พบว่า
กิจกรรมหลัก ทั้ง 6 กิจกรรม ที่จัดให้เด็กปฐมวัย สามารถนำหลักการและความรู้ด้านการเสริมสร้างทักษะทางสมอง
(Executive Function : EF) มาบูรณาการเชื่อมโยงกันได้