สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
“เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่สนับสนุน” PONGPLOY MODEL
โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์
กระบวนการพัฒนา

1.การออกแบบนวัตกรรม

          การออกแบบนวัตกรรมด้านการส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรม โรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์                     มีกระบวนการที่ครอบคลุมและสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืน โดยกรอบแนวคิดที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทาง ด้วยหลักการและเป้าหมายมุ่งเน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ครอบคลุมทุกมิติของการใช้ชีวิต เช่น ความซื่อสัตย์ มีวินัย ความกตัญญู ความพอเพียง การอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จิตสำนึกความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและวัฒนธรรมไทย โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม ผ่านกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยในแต่ละระดับชั้น ใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้นักเรียน เรียนรู้ผ่านการลงมือทำและประสบการณ์ตรง ให้นักเรียนศึกษาความต้องการและพฤติกรรมเพื่อเข้าใจบริบทที่เหมาะสมของสถานศึกษาเน้นการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสานศึกษาเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและลงมือปฏิบัติโดยมีครูเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน ให้คำปรึกษา และร่วมลงมือปฏิบัติไปพร้อม ๆ กับนักเรียน กระบวนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้นวัตกรรม เด็กคิด เด็กนำ เด็กทำ ผู้ใหญ่สนับสนุน PONGPLOY MODEL มีดังนี้

          เด็กคิด คิดนำ เด็กทำ ผู้ใหญ่สนับสนุน

          แนวคิด "เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่สนับสนุน" เป็นหลักการที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีบทบาทสำคัญในการริเริ่มและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรม โดยมีผู้ใหญ่คอยให้การสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษา หลักการนี้ช่วยให้เด็กมีความรับผิดชอบและสามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม และการเป็นผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบสำคัญของแนวคิดมีดังนี้

          ?เด็กคิด

          เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการคิดและออกแบบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม เช่น กระบวนการทำโครงงานสำหรับนักเรียนเป็นแนวทางที่ช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาแนวคิดและทักษะการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ

          ?เด็กทำ

          สนับสนุนให้เด็กลงมือทำจริง เช่น การจัดกิจกรรมในโรงเรียน การรณรงค์เรื่องคุณธรรม หรือการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้รูปแบบโครงงาน

          ?เด็กนำ

          ส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม สร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อน ๆ และขยายผลไปสู่สังคม

          ?ผู้ใหญ่สนับสนุน

          ผู้ใหญ่มีบทบาทเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และสนับสนุนทรัพยากรเพื่อให้เด็กสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเด็กมีความมั่นใจและกล้าตัดสินใจมากขึ้น สถานศึกษามีบรรยากาศที่ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม สังคมได้รับประโยชน์จากการมีเยาวชนที่มีจิตสำนึกที่ดี

          P = Plan (การวางแผน)

          การวางแผนและการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้วยกระบวนการที่มีการกำหนดเป้าหมาย   และแนวทางในการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในตัวนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพในสังคม กระบวนการนี้รวมถึงการออกแบบกิจกรรม การบูรณาการคุณธรรมในหลักสูตร การสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมในสถานศึกษา และการประเมินผลเพื่อพัฒนาต่อไป

          O = Opportunity (ความก้าวหน้า โอกาสที่ดีสำหรับความสำเร็จ โอกาสในการเรียนรู้)

          ความก้าวหน้าในบริบทของการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียน หมายถึงการพัฒนาความเข้าใจและพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณธรรมจริยธรรมในระดับที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่ดีสำหรับความสำเร็จเกิดจากการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น การสนับสนุนจากครู ผู้ปกครอง และชุมชน รวมถึงการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่น่าสนใจและมีความหมายต่อนักเรียน โอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียนสามารถเกิดขึ้นได้จาก การบูรณาการในหลักสูตร การสอนคุณธรรม จริยธรรม โดยการสอดแทรกผ่านวิชาต่าง ๆ การจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม การสร้างแบบอย่างที่ดี โดยครูและผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ การใช้เทคโนโลยี เช่น การเรียนรู้ผ่านเกมหรือแอปพลิเคชันที่ส่งเสริมคุณธรรม

          N = Network (เครือข่ายเพื่อสร้างการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูล)

          เครือข่ายเพื่อสร้างการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน หมายถึงการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในตัวนักเรียน โดยเครือข่ายนี้ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนและชุมชน

องค์ประกอบสำคัญของเครือข่ายนี้ ได้แก่

- การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น การประชุม การอบรม การศึกษาดูงาน หรือสื่อ

ออนไลน์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางปฏิบัติที่ดี

- ความร่วมมือระหว่างองค์กร เช่น โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- การสนับสนุนจากผู้มีส่วนร่วม ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสำเร็จของเครือข่าย

          G = Growth (การพัฒนาตนเอง)

          การพัฒนาตนเองของนักเรียนในด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา หมายถึงกระบวนการที่นักเรียนเรียนรู้และฝึกฝน เพื่อสร้างคุณลักษณะทางจิตใจและพฤติกรรมที่ดีงาม เช่น ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความพอเพียง และความกตัญญูกตเวทีโดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสงบสุขการพัฒนานี้สามารถดำเนินการผ่านกิจกรรมต่างๆเช่นการจัดกิจกรรมคุณธรรมในโรงเรียน          การอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือการบูรณาการคุณธรรมในหลักสูตรการเรียนการสอน นอกจากนี้ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การช่วยเหลือผู้อื่นและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ก็เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาตนเอง     การส่งเสริมการพัฒนาตนเองด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นพื้นฐานการส่งเสริมนี้สามารถทำได้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดอบรม การบูรณาการคุณธรรมในหลักสูตรการเรียนการสอน และการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

          P = Participation (การมีส่วนร่วมและมีบทบาทในกิจกรรมต่าง ๆ)

          การมีส่วนร่วมและบทบาทของนักเรียนในกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาคุณลักษณะทางจิตใจที่ดีงาม โดยนักเรียนสามารถมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเป็นแกนนำในกิจกรรม นักเรียนสามารถเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรม เช่น การจัดโครงงานคุณธรรม การเป็นตัวแทนในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมในโรงเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม เช่น การทำงานอาสาสมัคร การปลูกต้นไม้เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือการช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้นการแสดงแบบอย่างที่ดี นักเรียนสามารถแสดงพฤติกรรมที่ดี เช่น การรักษาความสะอาด การเคารพครู และการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การแสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทางในการพัฒนากิจกรรมคุณธรรมในโรงเรียน การมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนเอง และยังส่งผลต่อการสร้างบรรยากาศที่ดีในสถานศึกษา และชุมชนโดยรวม

 

          L = Learning by doing (การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ หรือ การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง)

          เป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมผ่านกิจกรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมและการสะท้อนคิดจากประสบการณ์ที่ได้รับ เกิดเป็นวงจรการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning Cycle)

          - Concrete Experience: นักเรียนได้ลงมือทำกิจกรรม เช่น การช่วยเหลือชุมชนหรือการทำงานกลุ่ม

          - Reflective Observation: นักเรียนสะท้อนความรู้สึกและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

          - Abstract Conceptualization: นักเรียนสร้างแนวคิดใหม่เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมจากสิ่งที่ได้      เรียนรู้

          - Active Experimentation: นักเรียนทดลองนำแนวคิดไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

          การเรียนรู้โดยการลงมือทำส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง การคิดอย่างเป็นระบบมีแบบแผนการแก้ปัญหาในโรงเรียนและชุมชนหรือการทำงานร่วมกับผู้อื่นช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ ความรับผิดชอบ ความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคม การเรียนรู้โดยได้ปฏิบัติช่วยให้นักเรียนเข้าใจคุณธรรมและจริยธรรมในเชิงทฤษฎีและสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          O = Organize (การวางแผนหรือจัดระเบียบสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระบบระเบียบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ)

          การวางแผนและจัดระเบียบสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

         1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ระบุเป้าหมายที่ชัดเจน การส่งเสริมคุณธรรมในด้านความซื่อสัตย์    มีวินัย พอเพียง กตัญญูกตเวที

          2. กำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถวัดผลได้ เช่น การสร้างความตระหนักในคุณธรรมผ่านกิจกรรม

       3. วางแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนงานที่ระบุขั้นตอนการดำเนินงานอย่างละเอียด เช่น การจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ และการประเมินผล

          4. กำหนดระยะเวลาและทรัพยากรที่จำเป็น เช่น งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร

          5. การจัดระเบียบทีมงาน แบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบให้กับสมาชิกในทีม เช่น ครูแกนนำ

นักเรียน แกนนำ ผู้ดูแลกิจกรรม ผู้ประสานงาน และผู้ติดตามผล

          6. สร้างความร่วมมือและการสื่อสารที่ดีในทีม

          7. การติดตามและประเมินผล ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

    8. ประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงาน เช่น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนหรือผลกระทบต่อโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน

          9. การสะท้อนผลและปรับปรุง สะท้อนผลการดำเนินงานเพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์

          10. ปรับปรุงแผนงานเพื่อให้โครงงานในอนาคตมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          Y = Yield (ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อบุคคลและสังคม)

          การดำเนินงานการส่งเสริม และพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาที่ต้องการให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์กับนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ระดับบุคคลที่ดีขึ้น โดยมุ่งหวังให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความกตัญญูกตเวที รักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาทักษะชีวิตให้นักเรียนเรียนรู้การตัดสินใจที่ถูกต้อง การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและความมั่นคงทางจิตใจ ในระดับสังคม      การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง มุ่งให้นักเรียนมีคุณธรรมสามารถเป็นผู้นำที่ดี สร้างความร่วมมือในโรงเรียน ในชุมชนได้ ช่วยลดปัญหาสังคม การปลูกฝังคุณธรรมช่วยลดปัญหาด้านความรุนแรง การโกง และการละเมิดสิทธิ์ ดังนั้นการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อให้สังคมมีสมาชิกที่มีคุณธรรมจะมีความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าในระยะยาว โดยผลลัพธ์จากการดำเนินงานด้านคุณธรรมจริยธรรม ที่มีผลกับนักเรียน ดังนี้

          1. ด้านพฤติกรรมและคุณลักษณะส่วนบุคคล

                    - นักเรียนมีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีความกตัญญูกตเวที รักษ์สิ่งแวดล้อม และมีจิตสาธารณะมากขึ้น

                    - ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การโกงหรือการใช้ความรุนแรง โรงเรียนสะอาดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

                    - นักเรียนสามารถตัดสินใจอย่างมีจริยธรรมและมีเหตุผลในชีวิตประจำวัน

          2. ด้านการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ

                    - นักเรียนมีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น

                    - การเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักคุณธรรมผ่านกิจกรรมที่มีความหมาย

                    - นักเรียนสามารถนำหลักคุณธรรมไปปรับใช้ในวิชาการและชีวิตจริง

          3. ด้านความสัมพันธ์และสังคม

                    - นักเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเพื่อน ครู และชุมชน

                    - การทำกิจกรรมร่วมกันช่วยสร้างความสามัคคีและความร่วมมือในโรงเรียน

                    - โรงเรียนสามารถเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาคุณธรรมที่ส่งผลต่อชุมชนโดยรอบ

          4. ด้านความยั่งยืนและการขยายผล

                    - โรงเรียนสามารถพัฒนาเป็น "โรงเรียนคุณธรรม" ที่มีแนวทางชัดเจนและต่อเนื่อง

                    - นักเรียนที่ได้รับการปลูกฝังคุณธรรมสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง

                    - การดำเนินกิจกรรมสามารถขยายผลไปสู่ระดับครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

          2. ขั้นตอนการดำเนินงาน

          ขั้นตอนการดำเนินงานโดยใช้นวัตกรรม เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่สนับสนุน PONGPLOY MODEL ของโรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์ โดยการวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถมีบทบาทในการพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

          ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน

          เป็นการวางแผนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม โดยให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีบทบาทในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ ขั้นตอนการดำเนินงาน และการตัดสินใจต่าง ๆ ร่วมกันของผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการวิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ต้องการพัฒนา กำหนดเป้าหมาย วิเคราะห์ความต้องการและความเหมาะสมของนักเรียนตามบริบทของสถานศึกษา และชุมชน กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับแต่ละประเด็น โดยกำหนดในแผนพัฒนา การศึกษา กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบสร้างกลไกการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จโดยกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

 

วิสัยทัศน์

          “นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดีของสังคม มีองค์ความรู้ ก้าวทันเทคโนโลยี มีความเป็นไทย

รู้เท่าทันสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม

เป้าประสงค์

          ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเป็นรากฐานที่สำคัญในการดำเนินชีวิต

พันธกิจ

          1. พัฒนาผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน ให้มีคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน ปฏิบัติหน้าที่

และดำรงตนตามวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม

          2. พัฒนาเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์

          1. สร้างความเข็มแข็งในกระบวนการบริหารจัดการด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

          2. สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม      

ขั้นตอนที่ ๒ การลงมือปฏิบัติ

          1. การสร้างการรับรู้และการยอมรับ ให้ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมแก่ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การประชุม การอบรมให้ความรู้ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทาง 

          2. การสร้างแกนนำและเครือข่าย คัดเลือกครูและนักเรียนแกนนำที่มีความสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี  สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

          3. การกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษา วิเคราะห์และเลือกคุณธรรมที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา กำหนดเป้าหมายและแนวทางในการส่งเสริมคุณธรรมที่ชัดเจน โดยทุกฝ่ายมีข้อสรุปร่วมกันที่ต้อง    การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมความรับผิดชอบ ความพอเพียง ความซื่อสัตย์ ความกตัญญูกตเวที การสร้างจิตสำนึก ความเป็นไทยการไหว้อย่างถูกต้อง และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีการศึกษา 2565 มีการดำเนินงานด้านส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยการไหว้อย่างถูกต้อง และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

คุณธรรมเป้าหมาย

พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก

ผู้บริหาร

ครู/บุคลากร

นักเรียน

ความซื่อสัตย์

- ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามมาตฐานวิชาชีพ

- ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย

- ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น

- ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามมาตฐานวิชาชีพ

- ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย

- ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น

- ตั้งใจเรียน

- มีความรับผิดชอบ

- ทำการบ้านด้วยตนเอง

ความมีวินัย

- แต่งกายถูกระเบียบ

- ตรงต่อเวลา, อุทิศเวลาให้ราชการ

- ส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

- ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

- แต่งกายถูกระเบียบ

- เข้าสอนตรงเวลา, ส่งงานตรงเวลา

- เอาใจใส่การสอน

- ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

- แต่งกายถูกระเบียบ

- ตรงต่อเวลา

- รับผิดชอบในหน้าที่

- วางของส่วนตัวให้เป็นระเบียบ

- ทิ้งขยะให้ลงถัง

ความพอเพียง

- ประหยัดน้ำประหยัดไฟ

- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

- มีบัญชีรับ-จ่าย ไม่มีหนี้สินรุงรัง

- ประหยัดน้ำประหยัดไฟ

- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

- มีบัญชีรับ-จ่าย ไม่มีหนี้สินรุงรัง

- ตักอาหารให้พอดี รับประทานให้หมด

- ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ

- ใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่า

- ใช้เงินเท่าที่จำเป็น ซื้อของที่มีประโยชน์

 ตารางคุณธรรมอัตลักษณ์ ปีการศึกษา 2566

 

          4. การออกแบบกิจกรรมและการบูรณาการ วางแผนกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมโรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์  ได้ดำเนินการในรูปแบบโครงการ และกิจกรรม ดังนี้ โครงการจิตอาสาโดยมีกิจกรรมการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะโครงการโรงเรียนคุณธรรมบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมด้านการรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 และการเพิ่มเติมวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษากำหนดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 - 6 และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงในรูปแบบโครงงานประจำสายชั้น มีรายละเอียดดังนี้

โครงการมารยาทงามตามแบบไทยการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยการไหว้อย่างถูกต้อง สวยงาม ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของมารยาทที่ดีที่ อีกทั้งยังเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียนผ่องพลอยอนุสรณ์เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์จึงได้ดำเนินงานโครงการไหว้งามตามแบบไทยทุกปีการศึกษา  

โครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน โดยมีกิจกรรมการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนรักษ์สิ่งแวดล้อม

บูรณาการคุณธรรมจริยธรรมด้านการรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

วิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาในหลักสูตรสถานศึกษากำหนดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

 

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงาน

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด และนำข้อค้นพบมาประชุมระดม

ความคิดเพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

 

ขั้นตอนที่ 4 การนำผลจากการตรวจสอบ ไปปรับปรุงและพัฒนา

          นำข้อเสนอแนะจากที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาวางแผนเพื่อพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป

 

3. วิธีประเมินผล

          4.1 ประเมินจากแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6

          4.2 ประเมินจากการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

          4.3 ประเมินจากปริมาณขยะในโรงเรียน

          4.4 ประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการใช้นวัตกรรม เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่สนับสนุน PONGPLOY MODEL


ผลจากการปฏิบัติ

ด้านผู้เรียน

1.  ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด

2.     ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์พลังงาน

3.     ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและได้เรียนรู้กระบวนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม

4.     ผู้เรียนกล้าพูด กล้าแสดงออกและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ด้านครูผู้สอน

          1. ครูและบุคลากรเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จของโรงเรียนร่วมกัน มีความรู้สึกตระหนัก              ถึงความสำคัญของตนเองในการเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของโรงเรียนและผลสำเร็จของนักเรียน

          2. ครูและบุคลากรได้รับความศรัทธา ความเคารพนับถือ ความไว้วางใจจากนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

          3. ครูและบุคลากรมีภูมิรู้ ภูมิธรรมและภูมิฐาน มีความสามารถในการครองตน ครองงาน และครองคน ช่วยให้          มีความเชื่อมั่น และมั่นใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น

สถานศึกษา

            1. โรงเรียนเกิดนวัตกรรม/องค์ความรู้ของการบริหารงานทั่วไปงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่มีคุณภาพ ซึ่งได้จากการดำเนินงานตามนวัตกรรมมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับนักเรียน

          2. โรงเรียนได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรต่าง ๆ

         3. โรงเรียนได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรมจริยธรรม กิริยามารยาท        ของนักเรียนที่สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน ส่งผลให้ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนเพิ่มมากขึ้น

4.  เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชน ผู้ปกครองและโรงเรียน

ด้านชุมชน

1. เกิดความภาคภูมิใจในบุตรหลานของตนที่เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรมจริยธรรม กิริยามารยาทที่สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน

2. เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชน ผู้ปกครองและโรงเรียน

 


เอกสารเพิ่มเติม :[ดาวน์โหลดเอกสาร]