1. กำหนดประเด็น
1.1
ผู้บริหารสถานศึกษาประชุมครูเพื่อร่วมกันกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการพัฒนา
และกำหนดหัวข้อ วิธีสอนแบบ “Active Learning”
1.2 ครูจับคู่ Model
Teacher – Buddy Teacher
1.3
มอบหมายให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ คนละ 1 แผน
โดยใช้วิธีสอนแบบ “Active Learning”
1.4 มอบหมายหัวหน้าฝ่ายวิชาการกำหนดตารางการเยี่ยมชั้นเรียน
2. นำเสนอแผนการสอน
2.1 ครูนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้และร่วมกันเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนา
2.2 ครูปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนนำไปใช้
3. เยี่ยมชั้นเรียน (Open Class)
ดำเนินกิจกรรมเยี่ยมชั้นเรียนตามตารางที่กำหนด
ครู Buddy
และครูที่มีชั่วโมงว่างตรงกันโดยร่วมกับฝ่ายบริหาร/หัวหน้าฝ่ายวิชาการเข้านิเทศการสอนตามตารางเพื่อสังเกตการสอนและบันทึกข้อมูลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4. สะท้อนคิด
ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการเยี่ยมชั้นเรียน
นำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
5. เริ่มวงรอบที่ 2
5.1 ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
แผนที่ 2 เรื่องใหม่ ซึ่งนำบทเรียน ข้อเสนอแนะจากวงรอบที่ 1 มาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5.2 ครูร่วมวิพากษ์แผนการจัดการเรียนรู้
5.3 ครูปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามข้อเสนอแนะ
6. เยี่ยมชั้นเรียน
วงรอบที่ 2 (Open Class)
6.1 ดำเนินกิจกรรมเยี่ยมชั้นเรียนตามตารางที่กำหนด
ครู Buddy
และครูที่มีชั่วโมงว่างตรงกันโดยร่วมกับฝ่ายบริหาร/หัวหน้าฝ่ายวิชาการเข้านิเทศการสอนตามตารางเพื่อสังเกตการสอนและบันทึกข้อมูลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แผนที่ 2
6.2 กิจกรรมสะท้อนคิด
วงรอบที่ 2
6.3 นำข้อเสนอแนะจากกิจกรรมสะท้อนคิดไปปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
7. Symposium
7.1 ครูนำเสนอผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ในที่ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
7.2 นำเสนอผลการจัดกิจกรรมและสรุปประเด็นที่ได้จากการจัดการเรียนรู้
(Logbook)
เอกสาร/หลักฐานการดำเนินกิจกรรม
1. แผนการจัดการเรียนรู้
2. ตารางการเยี่ยมชั้นเรียน
3. แบบบันทึกระหว่างสังเกตชั้นเรียน
4. บันทึกจากวงคุยสะท้อนคิด
5. แบบบันทึกการวิเคราะห์ตนเอง
6. แบบประเมินนิเทศการสอน
7. Logbook
8. Powerpoint
9. รายงานผลการดำเนินโครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การนิเทศการสอนด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้
ดำเนินการโดยให้ครูศึกษากระบวนการของ PLC แบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบชัดเจน มีผู้นำทีม ผู้บันทึก
ผู้วิเคราะห์ข้อมูล ร่วมกันวิเคราะห์ความต้องการและปัญหาที่เกิดกับนักเรียน จัดทำแผนการประชุม
กำหนดวันที่ เวลา และหัวข้อที่จะประชุม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นประจำทุกเดือน
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีในการสอน สมาชิกในทีมสามารถแชร์ประสบการณ์และกลยุทธ์การสอนที่ประสบความสำเร็จ
ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างครูในโรงเรียน ครูได้รับความรู้และทักษะใหม่
ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนและปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน โดยนำความรู้และทักษะที่ได้ไปปรับใช้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการและความมุ่งมั่นของครู ทำให้ผลการประเมินการสอนของครูมีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น
โดยเฉพาะในด้านการใช้สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนมีความสนใจในการเรียนรู้มากขึ้น
มีการประเมินผลและติดตามความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อปรับปรุงและพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน และพัฒนาวิชาชีพครูที่ชัดเจน ซึ่งครูได้ใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้
เทคนิค วิธีการสอน
มีการแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างครูผู้สอนในโรงเรียนและจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับศักยภาพและความสนใจของผู้เรียน
โดยประเมินจากครูที่ได้รับการนิเทศการสอนด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐
ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก