1
ขั้นเตรียมการ
-
ประชุมผู้เกี่ยวข้อง
-
มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
2 ขั้นดำเนินงาน
4.3 ขั้นติดตามผล/รายงาน
- ประเมินผลการดำเนินงาน
- รายงานผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน เด็กได้ทำกิจกรรมที่สนุกสนานโดยครูออกแบบกิจกรรมปลายเปิดให้สอดคล้องกับ
หัวข้อที่กำลังเรียนรู้การจัดบทเรียนให้มีกิจกรรมการเล่น
ทําให้เด็กสนุกสนานและอยากเรียนมากขึ้น ครูจะแทรกบทเรียนไว้ในการเล่นการทํากิจกรรม
เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนด้วยการกระทํา ด้วยการแสดง ด้วยการเล่น
ภายใต้การควบคุมของครู
เป็นการนําเอาความซุกซนของเด็กมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนการเรียนรู้ผ่านการเล่น
(Play-Based
Learning) และเป็นการฝึกฝนและพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็ก ๆ
ด้วย
ผลสัมฤทธิ์ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่
1 ถึง ชั้นอนุบาล 3 ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง
EF
และองค์ประกอบ 9 ด้าน ร้อยละ 80
ประโยชน์ที่ได้รับ เด็กสามารถนำประสบการณ์หรือสิ่งที่เคยเรียนรู้มาปรับใช้ในการเรียน
การทำงาน หรือกิจกรรมใหม่ได้รู้จักยับยั้งและควบคุมตนเองเพื่อไม่ให้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม
แม้ว่าจะถูกชักชวนหรือมีสิ่งกระตุ้นมาล่อ มีความยืดหยุ่นทางความคิด
สามารถปรับเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อเงื่อนไขหรือสถานการณ์เปลี่ยนไป
ไม่ยึดติดกับแนวคิดใด ๆ อย่างตายตัว มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดนอกกรอบได้ มีความจำดี
มีสมาธิ สามารถทำสิ่งต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ สามารถแสดงออกในครอบครัว
ในห้องเรียน ในหมู่เพื่อนฝูง และในสังคมได้อย่างเหมาะสม
ทำให้สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักประเมินตนเอง เกิดความภาคภูมิใจในสิ่งดี
ๆ ที่ทำ รวมทั้งสามารถนำจุดบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น สามารถอดทนรอได้
มีความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
วางแผนการเรียนการทำงานอย่างมีระบบ ลงมือทำจนสำเร็จตามเป้าหมายและเวลาที่กำหนดได้