2.วัตถุประสงค์
1. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและการป้องกันยาเสพติดแก่นักเรียน
ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียนและบริเวณใกล้เคียง
2. เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีจิตสำนึกและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดีได้โดยไม่พึ่งพายาเสพติด
3. เพื่อดำเนินการคัดกรองนักเรียนตามกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มบริสุทธิ์ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ และกลุ่มติด
4.
เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่าง และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
โดยการจัดกิจกรรมตามความสนใจของนักเรียน
5.
เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันด้านการป้องกันยาเสพติดและทักษะชีวิตให้กับนักเรียน
ผู้ปกครอง และชุมชน
6.
เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตลอดจนขยายเครือข่ายชมรม
TO
BE NUMBER ONE ไปยังสถานศึกษาอื่น
เป้าหมาย
1. ด้านปริมาณ
1. นักเรียนโรงเรียนวัดลาดพร้าว จำนวน ๘๐๘ คน เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
TO BE NUMBER ONE
๒.
นักเรียนมีทักษะในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
เชื่อมั่นและภาคภูมิใจในตนเอง ร้อยละ 93
2. ด้านคุณภาพ
นักเรียน
ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการป้องกันยาเสพติด
มีจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธยาเสพติด
และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตามศักยภาพของตนเอง
3. กระบวนการดำเนินงาน
โครงการ TO
BE NUMBER ONE เป็นโครงการที่สร้างโอกาสให้กับทุกคน
ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ในด้านที่ตนเองถนัด
ให้ทุกคนสามารถเป็นหนึ่งได้ตามแบบฉบับของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด
โรงเรียนวัดลาดพร้าวจึงได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนดังนี้
ดำเนินการตามพันธกิจของโรงเรียน
ข้อที่ 1
สร้างเสริมนักเรียนให้มีระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ตามแนววิถีพุทธ มีสุขภาพดี
ปลอดยาเสพติด พร้อมรองรับไทยแลนด์ 4.0 และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
ข้อที่ 5
พัฒนาการศึกษาให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและระดมทรัพยากร
พัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม
สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียนวัดลาดพร้าว
ข้อที่ 1
เพื่อให้เด็กเก่ง ดี มีความสุข
ข้อที่ 3
นักเรียนมีสุนทรียภาพ ใช้สุนทรียภาพ สร้างทักษะชีวิตให้ปลอดภัย
ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนวัดลาดพร้าว
ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1
พัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาเพื่อให้เป็นเด็ก เก่ง ดีและมีความสุข
1.1
พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีความสุข
1.4 พัฒนาสุขภาพกายและ สุขภาพจิต
1.5
พัฒนาทักษะชีวิตแก่ผู้เรียน
โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ดำเนินการโครงการ TO
BE NUMBER ONE ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (Demming Cycle หรือ PDCA) คือวงจรบริหารคุณภาพ ประกอบด้วย
1. วางแผน (Plan) จัดประชุมครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อระดมความคิดเห็นและวางแผนการดำเนินการ
2. ลงมือปฏิบัติ (Do) จัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสให้กับทุกคน
ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ในด้านที่ตนเองถนัด
ให้ทุกคนสามารถเป็นหนึ่งได้ตามแบบฉบับของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด ดังนี้
2.1 สร้างนักเรียนแกนนำ
2.2 สร้างเสริมความรู้และทักษะชีวิต
2.3 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
2.4 สร้างสัมพันธ์ชุมชน
2.5 ขยายเครือข่าย
3. ตรวจสอบ (Check)
ประเมินผลการดำเนินงาน
และผลที่เกิดจากการจัดกิจกรรม
4.
ปรับปรุง (Action)
ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
เพื่อวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย และวางแผนการปรับปรุงหรือขยายผลในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
4. วิธีประเมินผล
1.
จากการสังเกตและสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ร่วมกิจกรรม
2.
จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
5. ผลการดำเนินการ
1. ผลตามวัตถุประสงค์
1.1
นักเรียนมีความรู้และทักษะในการป้องกันยาเสพติดเพิ่มขึ้น มีทัศนคติและพฤติกรรมเชิงบวกเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติด
1.2 นักเรียนใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์
ลดปัจจัยเสี่ยงในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
1.3
ชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติดมากขึ้น
1.4
เครือข่ายการทำงานด้านการป้องกันยาเสพติดมีความเข้มแข็งและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
2. ผลต่อนักเรียนแกนนำ
2.๑ มีความรู้
ความเข้าใจปัญหายาเสพติด และมีทักษะในการป้องกันปัญหายาเสพติด
2.2 มีจิตสำนึกและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติด
2.3
มีความมั่นใจในตนเอง มีความเป็นผู้นำ มีทักษะในการทำงานและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่น
2.4 มีความคิดสร้างสรรค์และจิตสำนึกในการเสียสละต่อส่วนรวม
2.5 มีทักษะชีวิต
มีความสามารถในการแก้ปัญหา และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
3. ผลต่อนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
3.1 มีความรู้
ความเข้าใจปัญหายาเสพติด การแพร่ระบาดของยาเสพติดและทักษะในการป้องกัน
ยาเสพติด
3.2
มีทักษะชีวิต เห็นความสำคัญของการห่างไกลยาเสพติด และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.๓ สมาชิกใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
สร้างคุณค่าของกิจกรรมผ่านกระบวนการ PDCA
และมีความเสียสละ มุ่งมั่น อดทน และมีจิตอาสาต่อสังคม
4. ผลต่อโรงเรียน
4.๑ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.๒ ลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด
ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
4.๓
ลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนจากปัญหายาเสพติด และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
4.๔
โรงเรียนได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น
5. ผลต่อชุมชนและสังคม
5.๑ เพิ่มภูมิคุ้มกันด้านการป้องกันยาเสพติดและทักษะชีวิตให้กับนักเรียน
ผู้ปกครอง และชุมชน
5.๒ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการป้องกันยาเสพติด
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ลดภาระในการแก้ปัญหา ดูแลหรือช่วยเหลือของผู้ปกครอง และชุมชน
5.๓ ชุมชนเป็นสุข
เนื่องจากสมาชิกชมรมส่วนใหญ่พักอยู่ในชุมชน ทำให้สมาชิกไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
จึงไม่สร้างปัญหา และไม่สร้างภาระให้กับชุมชนและสังคม อาทิ เช่น การทะเลาะวิวาท
6.ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จ
1. มีการกำหนดแผนงาน
โครงการอยู่ในแผนปฏิบัติราชการอย่างชัดเจน
๒. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในองค์กร มีกระบวนการทำงานตามระบบ PDCA มีแนวทางดำเนินการเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
๓. ผู้บริหารให้ความสำคัญและกำกับ
ติดตามอย่างต่อเนื่อง
๔. มีทีมงานที่เข้มแข็ง ทั้งครูแกนนำ
และนักเรียนแกนนำ
๕. ได้รับความร่วมมือในการจัดกิจกรรมจากผู้เกี่ยวข้อง ชุมชนและหน่วยงานภายนอกเป็นอย่างดี
๖. นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินการในรูปแบบของชมรม
TO
BE NUMBER ONE
7. ชื่อบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่ให้การยอมรับเพื่อยืนยันเชิงประจักษ์
ปี 2564 รางวัลผลการดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER
ONE ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษา) ประเภทดีเด่น
ชนะเลิศอันดับหนึ่ง ระดับภาคกลาง ภาคตะวันออก และระดับประเทศ จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ปี 2565 รางวัลการรักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบเงิน ระดับ 1 ระดับประเทศ
ในการประกวดผลการดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา
สิริวัฒนาพรรณวดี
ปี 2566 รางวัลการรักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบเงิน ระดับ 2 ระดับประเทศ
ในการประกวดผลการดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จากจากกรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข
ปี 2567 รางวัลต้นแบบเงิน ระดับประเทศ
ในการประกวดผลการดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จากจากกรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข
ปี 2568 รางวัลการรักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบทอง ระดับ 1 ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ในการประกวดผลการดำเนินงานชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จากจากกรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข
8. การเผยแพร่/การยอมรับ
การให้บริการศึกษาดูงาน ด้านการดำเนินงานชมรม
TO BE NUMBER ONE ศูนย์เพื่อนใจ
TO BE NUMBER ONE และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ปีการศึกษา
2465 จำนวน 1 ครั้ง
ปีการศึกษา
2466 จำนวน 6 ครั้ง
ปีการศึกษา
2467 จำนวน 6 ครั้ง
การเผยแพร่ผลงาน
1.เผยแพร่ผลงานทางเพจ facebook :WLP ทูบีนัมเบอร์วัน
โรงเรียนวัดลาดพร้าว
2.
แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน TO BE NUMBER ONE กับเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ด้วยการถ่ายทอดประสบการณ์ทำงาน การจัดบูธนิทรรศการ
และบรรยายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินงาน TO BE NUMBER ONE ให้เพื่อนเครือข่าย ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งในการดำเนินงาน TO BE NUMBER ONE ในกรุงเทพมหานครอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ปีการศึกษา
2465 จำนวน 1 ครั้ง
ปีการศึกษา
2466 จำนวน 12 ครั้ง
ปีการศึกษา
2467 จำนวน 13 ครั้ง