สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps
โรงเรียนคลองปักหลัก
กระบวนการพัฒนา

วางแผน :  เพื่อให้การดำเนินการพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศไปแนวทางเดียวกัน  โรงเรียนคลองปักหลักได้ระดมความคิดจากคณะผู้บริหาร  ครูและบุคลากร  เพื่อทราบบริบท/ความต้องการของโรงเรียนและนักเรียน  นำข้อมูล  ที่ได้รับจากทุกฝ่ายมาวิเคราะห์สภาพปัญหา/ความต้องการที่พบ ทั้งจากอดีต  ปัจจุบันและทิศทางในอนาคต เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ ได้เป็นแนวทาง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน


การปฏิบัติ แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะได้แก่
1.ระยะต้นน้ำ คือ
 แนะนำโครงการ  ประชุมชี้แจง ระยะต้นน้ำ ร่วมกันในการดำเนินการกับครูผู้สอน บุคลากร ผู้บริหาร ณ ห้องประชุมยุทธศาสตร์ อาคาร 5 โรงเรียนคลองปักหลัก เพื่อให้เป็นในทิศทางเดียวกัน กำหนดวันจัดกิจกรรมอบรมรูปแบบการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ให้แก่ครูผู้สอน ร่วมออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สู่เป้าหมาย และสาธิตการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning

2. ระยะกลางน้ำ คือ ประชุมครู เตรียมความพร้อมสู่การปรับและพัฒนาแผนการสอน/เตรียมจัดการเรียนการสอน/พัฒนานวัตกรรม ผู้บริหาร นิเทศ ครั้งที่ 1 กำกับ ติดตาม การใช้แผนการสอนและการพัฒนานวัตกรรม เยี่ยมชมชั้นเรียนนิเทศ ตรวจนวัตกรรม หัวหน้าช่วง หัวหน้ากลุ่มสาระ นิเทศ ครั้งที่ 2 นิเทศ กำกับ ติดตาม การใช้แผนการสอนและการพัฒนานวัตกรรม ตรวจนวัตกรรม แลกเปลี่ยน เพิ่มเติม เริ่มจัดทำรูปแบบนำเสนอโปสเตอร์ขนาด A3 รวบรวมติดตามเก็บผลงาน 1. ชิ้นงานนวัตกรรมนักเรียน 2.โปสเตอร์นวัตกรรมครูเรื่องเล่าความสำเร็จ A3 และจัดทำสรุปข้อมูล และรายงานผลการดำเนินงาน

3. ระยะปลายน้ำ คือ นำเสนอ นวัตกรรมนักเรียน  โปสเตอร์เรื่องเล่าความสำเร็จ ในกิจกรรมวิชาการโรงเรียนหรือเคลือข่ายโรงเรียน ร่วมแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สู่สาธารณะ

 หลังจากได้รับทราบแนวทางการพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศ  ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ดำเนินการพัฒนานักเรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของสาระการเรียนรู้และความสามารถของนักเรียน  พยายามจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ ที่ดึงศักยภาพความสามารถความถนัด ความสนใจของนักเรียนแต่ละคน ให้มีโอกาสพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ มีการติดตามผลเป็นระยะและรายงานให้ฝ่ายบริหารทราบ 

 


ผลจากการปฏิบัติ

1. ครูสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning
2.
ครูเกิดการสืบค้นและขยายทักษะองค์ความรู้นอกเหนือจากในการจัดกิจกรรม สู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านเจคคติ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3.
ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ตามสมรรถนะการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ด้วย GPAS 5 Steps สามารถประยุกต์ใช้และนำเสนอผลงานนวัตกรรมผู้เรียนสู่สาธารณะได้