1.
ขั้นเตรียมการ
(P)
1.1 ศึกษาสภาพความพร้อมของครูและนักเรียน
1.2
ประชุมปรึกษาหาแนวทางในการดำเนินการ
1.3 จัดทำแผนงาน
1.4 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
1.5 กำหนดแนวทางการดำเนินงาน
2.
ขั้นดำเนินการ
(D)
2.1
ประชุมคณะทํางานกลุ่มบริหาร
วิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในทั้ง 4 สาระการ
เรียนรู้
คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และภาษาอังกฤษ เพื่อกําหนดทิศทาง และวางแผนการดําเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
6
2.2
ทั้ง 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่นักเรียนทำการทดสอบวิเคราะห์
สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่
นักเรียนได้คะแนนน้อยย้อนหลัง 3 ปี
2.3
ครูผู้สอนแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ โดยสอดแทรกแนวข้อสอบ O-NET
ในกระบวนการจัดการเรียนรู้และการสอบ
2.4 ครูผู้สอนสอนเพิ่มเติมเนื้อหาในคาบเรียนตามกิจกรรม “ติวเข้ม เติมเต็มความรู้
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ O-NET” โดยจะทำสอนเพิ่มในช่วงเช้าในทุกวันก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ
เวลา 7.30-8.30 น. และในชั่วโมงเรียนชมรม
2.5 นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม “ติวเข้ม
เติมเต็มความรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ O-NET” ตามตารางเรียนที่กำหนด
3.
ขั้นนิเทศ
ติดตามผล (C)
3.1
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ทำการทดสอบ Pre
O-NET ใน 4 วิชาหลัก ดังนี้ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และภาษาอังกฤษ
3.2
กลุ่มบริหารวิชาการนิเทศติดตาม
4.
ขั้นปรับปรุงและรายงานผล (A)
4.1 สรุปและประเมินการดำเนินงาน
4.2
จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน นำเสนอต่อฝ่ายบริหาร
4.3 นำผลการดำเนินงานมาปรับปรุง แก้ไข เพื่อพัฒนาในการดำเนินงานครั้งต่อไป
จากการดำเนินงานของโรงเรียนวัดกกด้านการจัดกิจกรรม“ติวเข้ม เติมเต็มความรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ O-NET”
ให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตลอดปีการศึกษา
2567 ส่งผลให้นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิชาภาษาไทย
พบว่าคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนมีคะแนนการพัฒนาขึ้นและสูงกว่าระดับประเทศติดต่อกันเป็นเวลา
3 ปี กล่าวคือ ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปีการศึกษา 2565-2567
มีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนอยู่ที่ 45.58 คะแนน 41.62 คะแนน และ 45.16 คะแนน
ตามลำดับ ซึ่งมีคะแนนสูงกว่าคะแนนระดับประเทศอยู่ที่ 39.34 คะแนน 40.75 คะแนน และ
42.87คะแนน ตามลำดับ และในวิชาภาษาไทย ในปีการศึกษา 2565-2567
มีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนอยู่ที่ 59.40 คะแนน 59.10 คะแนน และ 63.92 คะแนน
ตามลำดับ ซึ่งมีคะแนนสูงกว่าคะแนนระดับประเทศอยู่ที่ 53.89 คะแนน 57.30 คะแนน และ 54.20
คะแนน ตามลำดับ