ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะที่
๑ การเตรียมการและการสร้างความเข้าใจ (P)
๑.
การสำรวจและวิเคราะห์บริบทของชุมชน
- ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เช่น ประชากร
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา
ท้องถิ่น
ทรัพยากรที่มีอยู่
- วิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในชุมชน เช่น ผู้ปกครอง
ผู้นำชุมชน องค์กรต่างๆ ปราชญ์ชาวบ้าน
๒. การสร้างความเข้าใจและชี้แจงวัตถุประสงค์
-
จัดประชุมหรือเวทีเสวนาเพื่อชี้แจงความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับบุคลากรในสถานศึกษา
คณะกรรมการสถานศึกษา และสมาชิกในชุมชน
- สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของแต่ละฝ่ายในการดำเนินงาน
๓.
การจัดตั้งคณะทำงานหรือกลไกการมีส่วนร่วม
- แต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการที่มีตัวแทนจากสถานศึกษา ชุมชน ผู้ปกครอง
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและประสานงาน
- กำหนดโครงสร้าง บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะทำงานอย่างชัดเจน
ระยะที่
๒ การวางแผนและการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน (P)
๔. การรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของชุมชน
-
จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบเพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการจัดการศึกษา
เช่น การประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์ การทำแบบสำรวจ เวทีประชาคม
-
รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากความคิดเห็นของชุมชน
๕. การพัฒนายุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ
-
นำข้อมูลและความต้องการของชุมชนมาประกอบการพิจารณาในการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด กิจกรรม งบประมาณ
และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในแต่ละกิจกรรม
๖. การกำหนดรูปแบบและระดับการมีส่วนร่วม
- พิจารณารูปแบบการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนและสถานศึกษา
เช่น การให้ข้อมูล การปรึกษาหารือ การร่วมตัดสินใจ การร่วมดำเนินการ
การร่วมประเมินผล
-
กำหนดระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน
ระยะที่
๓ การดำเนินงานและการปฏิบัติจริง (D)
๗. การดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ
- การดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ
ตามที่ได้วางแผนไว้ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมตามบทบาทและหน้าที่ที่กำหนด
- มีการประสานงานและสื่อสารอย่างต่อเนื่องระหว่างสถานศึกษาและชุมชน
๘. การใช้ทรัพยากรในชุมชน
- บูรณาการทรัพยากรต่างๆ ในชุมชน เช่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานที่ บุคลากร
เข้ากับการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมของสถานศึกษา
- สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ
ในชุมชนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา
๙. การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน
-
จัดกิจกรรมอบรมหรือพัฒนาศักยภาพให้กับสมาชิกในชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่จำเป็นในการมีส่วนร่วมทางการศึกษา
-
ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
ระยะที่
๔ การติดตาม ประเมินผล และปรับปรุง (C)
๑๐. การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
-
กำหนดตัวชี้วัดและวิธีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาโดยชุมชนมีส่วนร่วม
- ดำเนินการติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
โดยมีตัวแทนจากชุมชนร่วมในการประเมิน
๑๑. การนำผลการประเมินมาปรับปรุง
(A)
- วิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อระบุจุดแข็ง
จุดอ่อน และข้อเสนอแนะในการพัฒนา
-
นำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนปฏิบัติการและวิธีการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนมากยิ่งขึ้น
๑๒. การรายงานผลและสร้างการเรียนรู้
(A)
-
รายงานผลการดำเนินงานและผลการประเมินให้บุคลากรในสถานศึกษา
ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ
- ถอดบทเรียนและสร้างองค์ความรู้จากการดำเนินงานเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป
จากการดำเนินงานของโรงเรียนวัดกกด้าน
“ชุมชนร่วมใจ พัฒนาศึกษา” มีผลการดำนินงานตามวัตถุประสงค์ของมีดังนี้ คือ
๑)
มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างสถานศึกษากับชุมชน โรงเรียนมีการสื่อสารอย่างชัดเจน
หลายช่องทางในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เช่น
หนังสือถึงผู้ปกครองการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายโซเชียลมีเดีย เพจเฟสบุ๊ค โทรศัพท์ และแอปพลิเคชั่นต่างๆ
ซึ่งปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยี
การสื่อสารถึงผู้ปกครองและชุมชนจึงเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างรวดเร็ว
๒)
ชุมชนสามารถสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน โดยมีส่วนร่วมและสนับสนุนหลากหลาย
เช่น เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองซึ่งจะมีประชุมร่วมใจกันทำกิจกรรมของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน
๓)
ชุมชนร่วมกันระดมทรัพยากรและความร่วมมือในการพัฒนาสถานศึกษา เช่น
การสนับสนุนการเลี้ยงไก่ไข่ในสถานศึกษา การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน
ตลอดจนการเข้าร่วมกิจกรรมวันเด็ก วันสำคัญทางศาสนา และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
อย่างสม่ำเสมอ
๔)
สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน
มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งให้ความสำคัญกับสถานศึกษา
ร่วมพัฒนาในเรื่องการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้สวยงาม สะอาด ปลอดภัย
การติดไฟฟ้าโซล่าเซลด้านหน้าโรงเรียนเพื่อความสว่างและปลอดภัย
การให้ความร่วมมือตามกฎของโรงเรียน เช่น การไม่สูบบุหรี่ในสถานศึกษา เป็นต้น
๕)
ชุมชนมีความเข้มแข็งร่วมใจพัฒนาสถานศึกษาให้ความร่วมมือ เช่น การมาประชุมผู้ปกครอง
การร่วมกิจกรรมวันสำคัญของโรงเรียน การร่วมคิดร่วมทำ
ร่วมเสนอความคิดเห็นในการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น วันเด็ก วันสำคัญทางศาสนา งานวัด ฯลฯ
จากการสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
“ชุมชนร่วมใจ พัฒนาศึกษา”
ส่งผลให้โรงเรียนสามารถดำเนินกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อม
พัฒนาผู้เรียนได้อย่างรอบด้าน และผู้เรียนมีความภาคภูมิใจที่ได้อยู่โรงเรียนวัดกก
และอยู่ในชุมชนวัดกก เนื่องจากท่านเจ้าอาวาสวัดกก ดูแลโรงเรียน
ให้ทุนการศึกษากับนักเรียนโรงเรียนวัดกกเป็นประจำทุกปี
รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
อีกทั้งบริษัทห้าตะขาบ ห้างร้านต่างๆ รอบๆ
โรงเรียนให้การสนับสนุนงบประมาณจัดทำโครงการเลี้ยงไก่ไข่ในสถานศึกษาทำให้ผู้เรียนได้มีแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาโดยไม่ต้องเดินทางไปศึกษาไกล
และการสนับสนุนชุดการแสดงวงโยธวาทิตของนักเรียนโรงเรียนวัดกก
ทำให้วงโยธวาทิตโรงเรียนวัดกกมีชุดการแสดงที่สวยงาม
สามารถสวมใส่แสดงกิจกรรมวงดนตรีได้เป็นอย่างดี นอกจากชุมชนจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างรอบด้านดังที่กล่าวมาแล้ว
คณะผู้บริหาร คณะครูบุคลากร
นักเรียนโรงเรียนวัดกกยังมีส่วนร่วมกับชุมชนและวัดกกอย่างสม่ำเสมอ เช่น
ร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา โรงเรียนนำนำนักเรียนร่วมเวียนเทียนรอบพระอุโบสถวัดกก
มีพระอาจารย์วัดกกเป็นผู้นำเวียนเทียน การเทศนาโวหารให้นักเรียนได้เข้าใจธรรมะเพื่อนำไปปฏิบัติธรรมส่งผลให้ตนเองดำเนินชีวิตถูกต้องตามหลักธรรมนองครองธรรม
โรงเรียนนำนักเรียนไปแสดงวงโยธวาทิตดนตรีสากลไปแสดงในชุมชนตามโอกาสต่างๆ
โรงเรียนนำนักเรียนนาฏศิลป์ไปแสดงรำตามกิจกรรมที่ชุมชนร้องขอ เช่น
การแสดงที่ห้างเดอะไบท์ การแสดงของเขตที่สวนเซ็นทรัลพระรามสอง
รวมทั้งงานวัดกกทุกงาน ผู้บริหาร คณะครู บุคลากร นักเรียนจะเข้าร่วมสม่ำเสมอ
จากการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนต่างๆ ส่งผลให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่เรียบร้อย
ตั้งใจเรียน และสามารถเป็นเยาวชนที่ดีต่อไปในอนาคตได้