กระบวนการหรือขั้นตอนการดําเนินงาน
๓.๑ การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
ระยะเวลาที่ใช้
23 พฤษภาคม ๒๕๖5 – 10 มิถุนายน ๒๕๖5
ชุดนิยามศัพท์เฉพาะ
แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนจัดทําขึ้นจากคู่มือครูทําให้ทราบว่าจะสอนเนื้อหาใด อย่างไร ใช้สื่อการเรียนอย่างไร มีการประเมินอย่างไร
การพัฒนาแผน หมายถึง การปรับปรุงแผนและพัฒนาวิธีจัดการเรียนรู้ตามที่ครูผู้สอนจะทําการสอดแทรกเนื้อหาที่ตรงตามหน่วยการเรียนรู้ที่ทําการเรียนการสอน
การจัดประสบการณ์แบบโครงการ หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่เปิดโอกาสให้เด็กศึกษาค้นคว้าเรียนรู้จากการกระทำตามความสนใจของตนเอง เป็นการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีโอกาสศึกษาเรื่องที่สนใจอย่างลุ่มลึก มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีการวางแผนร่วมกัน ฝึกสังเกต ค้นคว้า ทดลอง ปฏิบัติจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การจัดประสบการณ์แบบโครงการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้นโครงการ ระยะพัฒนาโครงการ และระยะสรุปผลโครงการ ทุกระยะของโครงการดำเนินกิจกรรม 5 ลักษณะ ได้แก่ การอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้นความรู้ และการจัดแสดง
พัฒนาการด้านร่างกาย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหวสุขภาพอนามัยที่ดีรวมถึงการใช้มือกับตาที่ประสานสัมพันธ์กันในการทํากิจกรรมต่างๆ
พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ หมายถึง ความสามารถในการแสดงอารมณ์และความรู้สึก โดยที่เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์และแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ เพื่อเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆตลอดจนการรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
พัฒนาการด้านสังคม หมายถึง ความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ปรับตัวในการ
เล่นและอยู่ร่วมกับผู้อื่น สามารถทําหน้าที่ตามบทบาทของตน ทํางานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบรู้กาลเทศะ สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจําวัน เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับเด็กอื่น รู้จักรวมมือในการเล่นกับกลุ่มเพื่อน ปฏิบัติตามข้อตกลงในการเล่น รู้จักรอคอยตามลําดับก่อนหลัง
พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถทางสมองที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว และความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อม ด้วยการรับรู้ สังเกต จดจําวิเคราะห์ รู้คิด รู้เหตุผล และแก้ปัญหา ทําให้สามารถปรับตัวและเพิ่มทักษะใหม่ ซึ่งแสดงออกด้วยการใช้ภาษา สื่อความหมายและการกระทํา เด็กวัยนี้สามารถโตตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุและสิ่งของที่อยู่รอบตัวได้ สามารถจําสิ่งต่างๆ ที่ได้กระทําซ้ำากันบ่อยๆ ได้ดี เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นแต่ยังอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่แก้ปัญหาการลองผิดลองถูกจากการับรู้มากกว่าการใช้เหตุผล ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวพัฒนาอย่างรวดเร็วตามอายุที่เพิ่มขึ้นในส่วนของพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้ เป็นระยะพัฒนาภาษาอย่างรวดเร็ว โดยมีโอกาสใช้ภาษาจากการทํากิจกรรมต่างๆ ในรูปของการสนทนา ตอบคําถามเล่าเรื่องนิทานและทํากิจกรรมต่าง ๆ
ขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบบโครงการสําหรับเด็กปฐมวัย มีนักการศึกษาได้กล่าวไว้ ดังนี้
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เป็นระยะที่ครูสร้างสถานการณ์ด้วยการเดินสํารวจ สิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว ร้องเพลง สนทนา ซักถาม เร้าความสนใจ เพื่อโยงไปหาการกําหนดหัวข้อเรื่อง โครงการ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องโครงการด้วยการวาดภาพ พูดสนทนา เป็นต้น
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ เป็นระยะที่นําหัวข้อโครงการมากําหนดในลักษณะแผนภูมิ ใยแมงมุม เพื่อเตรียมบันทึกคําถามจากเด็กโดยครูกระตุ้นเด็กด้วยคําถามให้เกิดความสนใจอยากรู้ เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง โครงการเพื่อนํามากําหนดปัญหา ศึกษาและตั้งสมมติฐานเบื้องต้น และ ทําการทดสอบและตรวจสอบสมมติฐานเบื้องต้น หากในกรณีการตรวจสอบไม่เป็นไปตามสมมติฐานเด็กแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในโรงเรียน และชุมชนซึ่งเด็กจะได้ปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม และบุคคลต่าง ๆ จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งมวลในการศึกษาอย่างละเอียด เพื่อนําข้อมูลมาตั้งสมมติฐานใหม่ และดําเนินการทดสอบ ตรวจสอบสมมติฐานใหม่ เพื่อสรุปคําตอบของปัญหาที่เด็กกําหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ เป็นระยะที่เด็กรวบรวมผลงานที่สร้างขึ้นระหว่างการศึกษา โครงการโดยอาศัยแผนภูมิใยแมงมุมและภาพถ่ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้นโครงการและวางแผนนําเสนอ ผลงานให้ผู้อื่นได้ชื่นชมในรูปแบบการจัดแสดงผลงานและสรุปโครงการ โดยการวาดภาพที่ ประทับใจพร้อมกับเสนอแนะข้อปรับปรุงแนวทางแก้ไขในโครงการต่อไป
บทบาทครู
๑. ครูต้องมีหลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญโดยให้เด็กปฏิบัติจริงให้
สามารถคิดเป็น ทําเป็น และแก้ปัญหาเป็น
2. ในการจัดกิจกรรม ครูต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้า ในด้านการศึกษาแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็ก ความรู้
เนื้อหาในเรื่องที่เด็กจะศึกษารวมทั้งบริบทต่างๆที่จะเอื้อครูในการจัดกิจกรรมในเรื่องที่เด็กอยากเรียนรู้
3. ในการจัดการเรียนรู้ ครูต้องเตรียมกิจกรรมที่หลากหลาย การจัดกิจกรรมไม่ควรวางกฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผน ควรสร้างบรรยากาศเป็นไปอย่างธรรมชาติมากที่สุดสร้างความอบอุ่นใจหลีกเลี่ยงในการใช้คําสั่งโดยไม่จําเป็น
4. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรใช้วิธีการบูรณาการ ให้เด็กได้ลงมือศึกษา ค้นคว้าแสวงหาความรู้
ด้วยตนเอง
5. สังเกตความก้าวหน้าบันทึกข้อมูลการเรียนรู้ของเด็กอย่างต่อเนื่อง
6. ขณะจัดกิจกรรมครูส่งเสริมให้เด็กแสดงความสนใจในเรื่องที่อยากรู้อยากเห็น ใช้คําถามกระตุ้นให้เด็กแสดงความคิดเห็นให้โอกาสเด็กในการดําเนินการศึกษาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆภายใต้การดูแลช่วยเหลือแนะนำาของครู
7. สร้างบรรยากาศให้สนุก สนานทุกกิจกรรม ให้เด็กเรียนอย่างมีความสุข เด็กสามารถบอกเหตุผลของการเรียนรู้และสิ่งที่ได้รับที่สําคัญเด็กจะรู้สึกว่าสนุกและได้ความรู้ จากการศึกษาในแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งนี้
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและเด็กจึงเป็นสิ่งสําคัญ
8. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง
บทบาทเด็ก
1.ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเสนอหัวข้อเรื่องที่สนใจที่จะเรียนรู้และทบทวนความรู้ ร่วมกันวางแผนกับ
ครูในการออกไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
2. ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ค้นคว้าหาคําตอบด้วยตนเอง ทั้งจากแหล่งเรียนรู้ที่ครู
จัดเตรียมไว้ให้ และหาคําตอบจากแหล่งเรียนรู้ที่บ้าน
3. รวบรวมคําตอบที่ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ นํามาพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนกับครูและ
เพื่อนๆ
4. คิดกิจกรรมที่ตนสนใจตามหัวข้อเรื่องที่ศึกษาเรียนรู้จากนั้นลงมือปฏิบัติ
5. รวบรวมความคิดรวบยอดที่ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดยการบันทึกเป็นภาพวาดออกมาจากความรู้ที่ได้เรียนรู้ และนํามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน
- เด็กที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ(Project Approach) มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ร้อยละ ๘๐
- หลังการจัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการ ทั้ง ๔ ด้านพบว่าการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ(Project Approach) มีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สูงกว่าก่อนการทดลอง ร้อยละ ๘๐
- ด้านร่างกาย
จากการประเมินพบว่า เด็กมีพัฒนาการ ในระดับ ดีมาก จํานวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100
- ด้านอารมณ์ จิตใจ
จากการประเมินพบว่า เด็กมีพัฒนาการ ในระดับ ดีมาก จํานวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ88.46
ในระดับ ดี จํานวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 11.53
- ด้านสังคม
จากการประเมินพบว่า เด็กมีพัฒนาการ ในระดับ ดีมาก จํานวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 88.46
ในระดับ ดี จํานวน 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 11.53
- ด้านสติปัญญา
จากการประเมินพบว่า เด็กมีพัฒนาการ ในระดับ ดีมาก จํานวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 84.61
ในระดับ ดี จํานวน 4 คน คิดเป็น ร้อยละ 15.38
สรุปผล
๑. การส่งเสริมพัฒนาการ ทั้ง ๔ ด้าน ของเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ
โครงการ(Project Approach) เด็กมีการเปลี่ยนแปลงความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหวสุขภาพอนามัยที่ดีรวมถึง
ความสามารถ ในการใช้มือกับตาที่ประสานสัมพันธ์กันในการทํากิจกรรมต่างๆ
๒. ความสามารถในการแสดงอารมณ์และความรู้สึก โดยที่เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีและแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ เพื่อเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดจนการรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
๓. ความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ปรับตัวในการเล่นและอยู่ร่วมกับผู้อื่นสามารถทําหน้าที่ตามบทบาทของตน ทํางานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ รู้จักกาลเทศะ สามารถช่วยเหลือตนเองใน
ชีวิตประจําวัน เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับเด็กอื่น รู้จักการให้ความร่วมมือในการเล่นกับกลุ่มเพื่อน ปฏิบัติตามข้อตกลงในการเล่น รู้จักรอคอยตามลําดับก่อนหลัง
๔. เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการ ทั้ง ๔ ด้านที่เพิ่มมากขึ้น เกิดขึ้นจากการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อม ด้วยการรับรู้ สังเกต จดจํา วิเคราะห์ รู้คิด รู้เหตุผล และแก้ปัญหา ทําให้สามารถปรับตัวและเพิ่มทักษะใหม่ ซึ่งแสดงออกด้วยการใช้ภาษา สื่อความหมายและการกระทํา เด็กวัยนี้สามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุและสิ่งของที่อยู่รอบตัวได้ สามารถจําสิ่งต่างๆ ที่ได้กระทําซ้ำกันบ่อยๆ ได้ดี เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นแต่ยังอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่แก้ปัญหาการลองผิดลองถูกจากการรับรู้มากกว่าการใช้เหตุผลความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวพัฒนาอย่างรวดเร็วตามอายุที่เพิ่มขึ้นในส่วนของพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้ เป็นระยะพัฒนาภาษาอย่างรวดเร็ว โดยมีโอกาสใช้ภาษาจากการทํากิจกรรมต่างๆ ในรูปของการสนทนา ตอบคําถาม เล่าเรื่องนิทานและทํากิจกรรมต่างๆ