สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Department of Education
"โรงเรียนไทยสู่ความเป็นเลิศ" CCE (Child Centred Education)
โรงเรียนแดงเป้า (สิงสุขบูรณะ)
กระบวนการพัฒนา

1. วางแผนในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน (Plan) 1.1 ประชุมผู้บริหาร คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เกณฑ์และกรอบมาตรฐานการศึกษา และผลการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา 1.2 ครูและบุคลากรศึกษารูปแบบ วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ CCE เพื่อนำมาสร้างแผนการจัดประสบการณ์ สร้างสื่อเพื่อใช้ในการสอน และจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน โดยมีองค์ประกอบดังนี้ - การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน มีสีสันสดใส สวยงาม สะอาด บรรยากาศอบอุ่น โดยมีการจัดมุมแสดงผลงานของเด็กทุกคน มุมส่งเสริมการทำกิจกรรม เช่น มุมธรรมชาติ มุมศิลปะ มุมครู มุมเกมการศึกษา มุมวิทยาศาสตร์ และมุมหนังสือนิทาน เป็นต้น - รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดกระบวนการเรียนสามขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมผ่านวิธีการที่หลากหลาย เช่น การถามคำถามกระตุ้นความคิด การแสดงบทบาทสมมุติ การทดลอง การประกอบอาหาร การอภิปราย การสาธิต การบรรยาย และการเล่านิทาน เป็นต้น เด็กเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากการจัดกิจกรรมประจำวัน 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมทุกกิจกรรมจะเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ทั้งแบบเดี่ยวและกลุ่ม เด็กได้เลือกและทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเอง ส่วนครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน - การจัดทำและหาสื่อประกอบการสอนที่หลากหลายรูปแบบ สอดคล้องกับแผนการ จัดประสบการณ์ และเหมาะสมกับการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เช่น ใบงาน ชิ้นงานที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 1.3 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (CCE) 1.4 วิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนเพื่อเลือกใช้รูปแบบและสื่อในการจัดการเรียนการสอน และวางแผนในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน 2. ดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Do) 2.1 นิเทศการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (CCE) และประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรม โดยใน 1 ปีการศึกษา ดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 4 ครั้ง ประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรมและสะท้อนผลการสอนของครู 2.2 วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน และเด็กปฐมวัย เป็นการประเมินพัฒนาการของนักเรียน และของเด็กตามสภาพจริง ครอบคลุมสมรรถนะหลัก และพัฒนาการของเด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ครูและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ประกอบด้วย การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของเด็กขณะที่ทำกิจกรรม การสนทนา พูดคุย สัมภาษณ์เด็กเป็นรายบุคคล การรวบรวมผลงาน เก็บเป็นแฟ้มผลงาน และการประเมินการเจริญเติบโต การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง 3. สรุปผลการจัดการเรียนการสอน (Check) 3.1 สรุปผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการพัฒนาการเด็กปฐมวัย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง และนำผลการประเมินรายงานให้ผู้ปกครองทราบ นำผลการประเมินไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาเด็กต่อไป 3.2 ผลการวิจัยในชั้นเรียนของครูประจำชั้น ครูสรุปผลการพัฒนา 4. ปรับปรุงแผนการสอน (Action) 4.1 ครูสรุปผลการจัดการเรียนการสอน นำผลการจัดการเรียนการสอนและนำผลการประเมินพัฒนาการมาปรับปรุงและพัฒนาในภาคการศึกษาต่อไป


ผลจากการปฏิบัติ

1. ผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยสูงขึ้นทุกด้าน อยู่ในระดับดี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ผู้ปกครองและนักเรียน มีความพึงพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ และการส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ ด้วยกระบวนการ CCE 3. สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ สวยงาม สะอาด ปลอดภัย